
วันนี้ 3 สิงหาคม 2566 นายมงคล จุลทัศน์ ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม 2566-2 สิงหาคม 2566 คาดว่าจะมีการใช้จ่ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากกว่า 469 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption) ผ่านการใช้จ่ายของประชาชนและนักท่องเที่ยว ประมาณ 444 ล้านบาท และการใช้จ่ายภาครัฐ (Government Expenditure) ผ่านการใช้จ่ายงบประมาณในการจัดงาน ประมาณ 25 ล้านบาท มีรายละเอียดดังนี้
1. จำนวนประชาชน/นักท่องเที่ยว ที่เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา คาดว่ามีจำนวนไม่น้อยกว่า 370,000 คน โดยเพิ่มขึ้นจากงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2565 ประมาณ 250,000 คน
- ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ตรวจผลรางวัล งวด 16 พ.ย. 2566
- กรมอุตุฯเตือนลมหนาวกำลังแรง อุณหภูมิลด 5-7 องศา กทม.เย็นสุด 20 องศา
- สถิติหวย ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวด 16 พ.ย. ย้อนหลัง 10 ปี
มีปัจจัยสนับสนุนได้แก่ 1) แนวโน้มของจำนวนนักท่องเที่ยว คาดว่าเพิ่มขึ้น หลังจากกำหนดให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เป็นโรคประจำถิ่น จากสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2565 หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) คลี่คลาย มีจำนวนนักท่องเที่ยวในจังหวัดประมาณ 3,087,783 คน เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 มีจำนวนนักท่องเที่ยว 257,790 คน
สำหรับปีนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีแรก (มกราคม-พฤษภาคม 2566) จำนวน 1,891,671 คน เฉลี่ยมีนักท่องเที่ยวประมาณ 370,000 คนต่อเดือน คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวรวมทั้งปี จะมีจำนวนมากกว่า 4,000,000 คน
2) ความสะดวกในการเดินทาง จังหวัดอุบลราชธานี มีจำนวนผู้ให้บริการ 5 สายการบิน จำนวน 35 เที่ยวบินต่อวัน รวมทั้งช่องทางการเดินทางอื่น ๆ เช่น รถไฟ รถทัวร์ รถโดยสารประจำทาง และรถบริการ อื่น ๆ เช่น รถแท็กซี่ รถจักรยานยนต์รับจ้าง เป็นต้น
3) การประกาศวันหยุดเพิ่มเติม ส่งผลให้ประชาชน/นักท่องเที่ยวมีการวางแผนการเดินทาง ท่องเที่ยวได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น โดยนักท่องเที่ยวสามารถเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมกับตนเองได้

2. การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว คาดว่าจะมีการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวประมาณ 444.0 ล้านบาท โดยประมาณการค่าใช้จ่ายของผู้ที่มาเที่ยวชมงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ประจำปี พ.ศ. 2566 ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม-2 สิงหาคม 2566 ประมาณ 444,000,000 บาท คิดเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ย ประมาณ 1,200 บาท/คน (ที่มา : วิเคราะห์จากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติจังหวัดอุบลราชธานีปี 2565)
แบ่งเป็น 1) ค่าใช้จ่ายที่คาดว่านักท่องเที่ยวจะใช้จ่ายเฉลี่ย 1,200 บาทต่อคนต่อวัน ประกอบด้วย-ค่าใช้จ่ายพาหนะในการเดินทาง จำนวน 424.8 บาท คิดเป็นร้อยละ 35.4-ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 393.6 บาท คิดเป็นร้อยละ 32.8-ค่าซื้อสินค้าของฝากของที่ระลึก จำนวน 333.6 บาท คิดเป็นร้อยละ 27.8-ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จำนวน 48.0 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.0 เช่น ค่าทำบุญ ค่าที่จอดรถ เป็นต้น 2) นักท่องเที่ยวผู้มาเที่ยวชมงานคาดว่าจะพักค้าง เฉลี่ยคืนละ 660 บาท/คน/วัน และพักค้างเฉลี่ย 1.7 คืน
3. มูลค่าการจำหน่ายสินค้า (ค่าอาหารและเครื่องดื่ม, ค่าซื้อของฝากที่ระลึก) จากการสุ่มสำรวจ ร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าในบริเวณการจัดงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ของสำนักงาน สถิติจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี พ.ศ. 2562 พบว่า ร้านค้ามีรายได้เฉลี่ยจากการจำหน่ายสินค้า รวมทั้งสิ้น (247.3+209.6×210,742) 96,288,019 บาท
และในปี พ.ศ. 2565 เพิ่มขึ้นเป็น (274.4+323.7×257,790 คน) 154,184,199 บาท สำหรับปี พ.ศ. 2566 คาดว่าร้านค้าจะมีรายได้เฉลี่ยจากการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้นประมาณ (393.6+333.6×370,000 คน) 269,064,000 บาท
4. งบประมาณในการจัดงาน ประมาณ 25,625,400 ล้านบาท ประกอบด้วย
- งบประมาณจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 7,325,400 บาท
- งบฯการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จำนวน 1,000,0000 บาท
- งบฯอื่น ๆ เช่น งบฯองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเงินบริจาค ประมาณ 2,000,000 บาท
- เงินบริจาคทำเทียนพรรษา จำนวน 53 ต้น ต้นละ 200,000 บาท รวม 10,600,000 บาท
- งบฯโครงการ/งบฯอุดหนุนเทศบาลนครอุบลราชธานี จำนวน 4,200,000 บาท
- งบฯโครงการองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี (อบจ.) จำนวน 500,000 บาท
สำหรับผลการประกวดต้นเทียนพรรษา ประจำปี 2566
- รางวัลชนะเลิศ ต้นเทียนแกะสลักขนาดใหญ่ “วัดทุ่งศรีเมือง”
- ที่ : 2 วัดเมืองเดช อำเภอเดชอุดม
- ที่ : 3 วัดผาสุการาม อำเภอวารินชำราบ
- ชมเชย : วัดพระธาตุหนองบัว, วัดไชยมงคล

2. รางวัลชนะเลิศ ต้นเทียนแกะสลักขนาดกลาง “วัดเลียบ”
- ที่ : 2 วัดอูบมุง ตำบลเทพวงศา
- ที่ : 3 วัดสุทัศน์ อำเภอเมือง
- ชมเชย : วัดปทุมมาลัย, วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ

3. รางวัลชนะเลิศต้นเทียนแกะสลักขนาดเล็ก “อำเภอโขงเจียม”
- ที่ : 2 อำเภอนาตาล
- ที่ : 3 อำเภอน้ำยืน
- ชมเชย : อำเภอน้ำขุ่น, อำเภอสำโรง
4. รางวัลชนะเลิศ ต้นเทียนติดพิมพ์ขนาดใหญ่ “วัดแจ้ง”
- ที่ : 2 วัดศรีประดู่ อำเภอเมือง
- ที่ : 3 วัดบูรพาราม อำเภอเมือง
- ชมเชย : วัดพลแพน

5. รางวัลชนะเลิศ ต้นเทียนติดพิมพ์ขนาดกลาง “วัดมหาวนาราม”
- ที่ : 2 อำเภอตระการพืชผล
- ที่ : 3 อำเภอเขื่องใน
- ชมเชย : อำเภอม่วงสามสิบ, วัดสุปัฏนาราม

6. รางวัลชนะเลิศ ต้นเทียนติดพิมพ์ขนาดเล็ก “อำเภอโพธิ์ไทร”
- ที่ : 2 อำเภอนาจะหลวย
- ที่ : 3 วัดใต้ท่า
- ชมเชย : วัดสารพัดนึก, อำเภอเหล่าเสือโก้ก

7. รางวัลชนะเลิศ ต้นเทียนโบราณขนาดใหญ่ “อำเภอสว่างวีระวงศ์”
- ที่ : 2 วัดภูเขาแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร
- ที่ : 3 วัดหลวง อำเภอพิบูลมังสาหาร
- ชมเชย : อำเภอบุณฑริก, อำเภอทุ่งศรีอุดม

8. รางวัลชนะเลิศ ต้นเทียนโบราณขนาดเล็ก “อำเภอกุดข้าวปุ้น”
- ที่ : 2 อำเภอสิรินธร
- ที่ : 3 วัดเวตวันวิทยาราม ชุมชนป่าก่อ-บ้านหนองแสงใต้
- ชมเชย : วัดโพธิ์ตาก, อำเภอตาลสุม
