ยัอนคำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญ กฎต้องห้าม “รับเงินสีเทา” เขย่า พลังประชารัฐ

กรณีเงินบริจาคพรรคพลังประชารัฐ 3 ล้านบาท จาก “ผับศูนย์เหรียญ” ย่านยานนาวา ที่มีคนจีน 100 กว่าคน เข้าไปมั่วสุมยาเสพติด ซึ่งมีเจ้าของเป็นชายชาวจีน ชื่อว่า “ชัยณัฐร์ กรณ์ชายานันท์” โดยเขามิได้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แม้ว่าต่อมาจะได้รับสัญชาติไทยจากการแต่งงานกับคนไทย

แต่ก็กลายเป็นปัญหาที่ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ถึงกับควันออกหู พลันที่ “สมศักดิ์ เทพสุทิน” รมว.ยุติธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ ออกมายอมรับเองว่า เจ้าของผับดังกล่าวเคยบริจาคเงินให้พรรคพลังประชารัฐ 3,000,000 บาท

นั่นเพราะ อาจเข้าข่ายพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มาตรา 74 (1) ระบุว่า ห้ามมิให้พรรคการเมืองหรือสมาชิกรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ อื่นใดจากบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย

โยงกับมาตรา 92 (3) ของ พ.ร.ป.พรรคการเมือง 2560 ที่กำหนดว่า เมื่อ กกต.มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคการเมืองใดกระทําการฝ่าฝืนมาตรา 74 ให้ยื่นยุบพรรคการเมืองนั้น

แม้ว่าเรื่องการรับเงินชาวต่างชาติที่ไม่มีสัญชาติไทย จะเริ่มเบาบางไป แต่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็ได้ตั้งลูกรับเรื่องสอบไว้แล้ว โดยมีนักร้องคนดัง “ศรีสุวรรณ จรรยา” เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เข้ายื่นหนังสือถึง กกต. ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) รับเงินบริจาค 3 ล้านบาทจากนักธุรกิจชาวจีน ว่าเป็นการกระทำที่เข้าข่ายขัดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 44 มาตรา 72 และมาตรา 74 หรือไม่

หากเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว ก็ขอให้ กกต.พิจารณายื่นศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรค พปชร. ตามมาตรา 92 (3) ของรัฐธรรมนูญ 2560

เพราะ “ศรีสุวรรณ” สงสัยว่า แม้นักธุรกิจคนดังกล่าวแปลงสัญชาติเป็นไทย และมีบัตรประจำตัวประชาชนไทยแล้ว แต่สละสัญชาติจีนไปแล้วหรือไม่ หรือว่ามีการถือ 2 สัญชาติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎหมายพรรคการเมือง

อีกหนึ่งปัญหาคือ เงินที่พรรคพลังประชารัฐรับบริจาคมาเข้าข่าย “เงินสีเทา” หรือไม่ เนื่องจาก พ.ร.ป.พรรคการเมือง 2560 มาตรา 72 กำหนดชัดเจนว่า ห้ามพรรคการเมืองรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด “โดยรู้” หรือ “ควรจะรู้” ว่าได้มาไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า มีแหล่งที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ถ้าฝ่าฝืนมาตรา 72 โทษก็ไม่ต่างกันคือ ให้ กกต.ยื่นยุบพรรคการเมืองที่ทำผิด

แสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. สรุปเรื่องว่า มี 3 ประเด็น คือ 1.ผู้บริจาคมีสิทธิ์บริจาคหรือไม่ โดยดูจากตัวเลขตามบัตรประจำตัวประชาชน พบว่าเป็นผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งก็ถือว่าเป็นผู้ที่สามารถบริจาคเงินให้กับพรรคการเมืองได้

2.จำนวนเงินที่บริจาคพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

และ 3.พรรคผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองรู้หรือควรจะรู้ว่าแหล่งที่มาของเงินชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ตรงนี้อยู่ในชั้นสำนักงาน กำลังดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ เมื่อตรวจสอบแล้วก็จะมีการทำเรื่องเสนอมายังนายทะเบียนพรรคการเมือง

ตาม พ.ร.ป. ​ว่าด้วยพรรคการเมือง ได้กำหนดเรื่องการบริจาคเงินให้กับพรรคการเมืองไว้ โดยต้องไม่เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 74 จำนวนเงินที่บริจาคต้องไม่เกิน 10 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 2 เกณฑ์ กกต.จะตรวจสอบตามมาตรฐาน โดยเมื่อทุกพรรคการเมืองได้รับบริจาค ก็จะตรวจสอบเบื้องต้นว่าผู้บริจาคเป็นผู้ที่สามารถบริจาคเงินให้กับพรรคได้หรือไม่ และเงินที่บริจาคอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ก่อนที่พรรคจะติดประกาศรายละเอียดการรับบริจาคไว้ที่ทำการของพรรค และส่งให้สำนักงาน กกต. ประกาศให้สาธารณชนทราบต่อไป

“เมื่อมีกรณีเป็นที่สงสัยของประชาชนสำนักงาน กกต.ก็จะดำเนินการตรวจสอบให้ความเป็นธรรม ทั้งกับพรรคและตัวผู้บริจาคเอง ซึ่งขณะนี้เรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการ”

ศาลรัฐธรรมนูญวางหลัก ม.72

เรื่องการยุบพรรคการเมืองที่กระทำฝ่าฝืนกฎหมายพรรคการเมืองมาตรา 72 เคยมีแล้วในกรณีการยุบพรรคอนาคตใหม่ แม้ครั้งนั้น เป็นการยุบพรรคจากเหตุ “เงินกู้” 191 ล้านบาท ที่ “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” ให้พรรคอนาคตใหม่ ไม่เกี่ยวกันตรง ๆ แต่ก็อาจกล่าวได้ว่า “เป็นคนละเรื่องเดียวกัน”

เพราะศาลได้ตีความมาตรา 72 เรื่องการรับ “เงินสีเทา” ไว้อย่างชัดแจ้ง ว่า เงินแบบไหนรับได้-ไม่ได้

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณียุบพรรคอนาคตใหม่ ตีความบทบัญญัติมาตรา 72 มีข้อห้ามสองกรณี

กรณีที่หนึ่ง พรรคการเมือง และผู้ดารงตาแหน่งในพรรคการเมืองกระทาการฝ่าฝืนรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ช่อบด้วยกฎหมาย อันเป็นทั้งการได้มาและวิธีการได้มาซึ่งเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือโดยไม่เปิดเผย

กรณีที่สอง พรรคการเมืองและ ผู้ดำรงตาแหน่งในพรรคการเมืองกระทาการฝ่าฝืนรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดโดยมีเหตุ อันควรสงสัยว่ามีแหล่งที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการได้มาซึ่งเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ที่มีแหล่งที่มาจากการกระทาความผิดตามกฎหมายหรือเป็นเงินสกปรก การฟอกเงิน การค้าของเถื่อน การค้ามนุษย์ หรือการทุจริตประพฤติมิชอบ

ซึ่งการได้มาทั้งสองกรณีดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นจานวนเท่าใดก็ตาม ย่อมถือว่าเป็นการกระทาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 72 จึงได้กาหนดข้อห้ามดังกล่าวไว้เพื่ออป้องกันมิให้ พรรคการเมืองไปเกี่ยวข้องกับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดเหล่านั้นอันจะทาให้พรรคการเมือง กลายเป็นผู้มีส่วนร่วมหรือสนับสนุนหรือช่วยเหลือในการกระทำความผิดไปด้วยและมีผลกระทบต่อ ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อระบบพรรคการเมืองของประเทศไทย

อันเป็นมาตรการที่สำคัญ เพื่อเสริมสร้างระบบพรรคการเมืองของประเทศไทยให้เป็นสถาบันที่มีความโปร่งใสและเป็นท่ชี่น่าเชื่อถือ ของประชาชน และสอดคล้องกับมาตรา 77 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ที่กำหนดมาตรการและวิธีการที่จำเป็นให้พรรคการเมืองปฏิบัติเพื่อให้การรับบริจาคของพรรคการเมือง เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย เปิดเผย และตรวจสอบได้

“เงินสีเทา” เป็นประเด็นหนึ่งที่พรรคพลังประชารัฐอาจต้องขวัญผวาในอนาคต

หากเข้าเงื่อนไข ก็มีสิทธิถูกยุบพรรค