ล็อกเงินลงทุนข้ามรัฐบาล ผ่าแผนหาเสียง “ประยุทธ์-ภูมิใจไทย”

เงินลงทุน

52 โครงการ วงเงินรวม 144,623 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2567-2576 ของ 4 กรมหลักของกระทรวงคมนาคม ที่มีรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง ชื่อ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” แห่งพรรคภูมิใจไทย ผูกพันข้ามรัฐบาล 10 ปี

ในเม็ดเงินลงทุนกว่าแสนล้าน เป็นวงเงินที่ขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 24,336 ล้านบาท เป็นโครงการ มูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านบาท ก่อหนี้ผูกพันรัฐบาลใหม่-ปี 2569

วางระบบโลจิสติกส์ 8.2 หมื่นล้าน

แกะดูไส้ในแผนงาน-โครงการ 4 กรม 52 โครงการ ประกอบด้วย กรมทางหลวง (ทล.) จำนวน 45 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2567-2569 วงเงินรวม 89,263 ล้านบาท

เป็นการขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 จำนวน 18,019 ล้านบาท แบ่งออกเป็น แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ 41 โครงการ วงเงินรวม 81,577 ล้านบาท

ถนนทุกสายมุ่งตอกเสาเข็ม-สกัดแลนด์ไลด์ ทุบเสาไฟเก่าแก่ ประกอบด้วย ภาคอีสาน ได้แก่ ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 2169 สายยโสธร-อ.กุดชุม เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 1,120 ล้านบาท ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 225 สายนครสวรรค์-ชัยภูมิ ตอน บ.เขาทอง-บ.ท่าโป่ง เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 1,100 ล้านบาท

ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 222 สาย อ.พังโคน-บึงกาฬ ตอน อ.วานรนิวาส-อ.คำตากล้า เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 1,200 ล้านบาท ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 2039 สาย อ.น้ำพอง-อ.กระนวน เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 1,500 ล้านบาท

ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 231 สายวงแหวนรอบเมืองอุบลราชธานีด้านตะวันออก รวมสะพานข้ามแม่น้ำมูล เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 1,550 ล้านบาท ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 2134 สาย อ.ตระการพืชผล-ต.ดอนใหญ่ เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 1,100 ล้านบาท

ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 202 สายชัยภูมิ-บัวใหญ่ ตอนโพนทอง-แก้งสนามนาง เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 1,100 ล้านบาท ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 24 สาย อ.ขุขันธ์-อ.เดชอุดม ตอนหัวช้าง-แยกการช่าง-นากระแซง บริหารจัดการลำดับชั้นทางหลวง วงเงิน 1,200 ล้านบาท

ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 2 สาย อ.พล-อ.บ้านไผ่ บริหารจัดการลำดับชั้นทางหลวง วงเงิน 2,200 ล้านบาท ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 2246 สายบ่อตะครอง-ตะโก ตอนโคกสำราญ-ตะโก เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 1,970 ล้านบาท

ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 24 สาย อ.ปราสาท-อ.สังขละ บริหารจัดการลำดับชั้นทางหลวง วงเงิน 2,830 ล้านบาท ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 2073 สายนางรอง-ชุมพวง ตอนหนองโดนน้อย-ชุมพวง เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 1,100 ล้านบาท

ภาคเหนือ-เหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ได้แก่ ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1020 สายเชียงราย-อ.เชียงของ ตอน บ.หัวดอย-บ.ใหม่ดอยลาน เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 1,100 ล้านบาท

ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 118 สายเชียงใหม่-เชียงราย ตอน อ.เวียงป่าเป้า-บ.สันมะแฟน เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 2,100 ล้านบาท ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1021 สาย อ.ดอกคำใต้-อ.เทิง ตอน บ.เวียงเทิง-บ.ทุ่ง เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 1,100 ล้านบาท

ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 103 สาย อ.ร้องกวาง-อ.งาว ตอน บ.วังดิน-บ.แม่ตีหลวง เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 1,800 ล้านบาท ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 101 สาย น่าน-ท่าวังผา ตอน บ.ดอนแก่ง-อ.ปัว เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 1,100 ล้านบาท

ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 21 สาย อ.หล่มเก่า-เลย ตอน ต.ร่องจิก-ต.สานตม เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 2,000 ล้านบาท ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 117 สายนครสวรรค์-พิจิตร ตอน อ.โพธิ์ประทับช้าง-อ.วชิรบารมี บูรณะและเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง วงเงิน 1,720 ล้านบาท

ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 117 สายนครสวรรค์-พิจิตร ตอนนครสวรรค์-คลองพลังด้านใต้ บูรณะและเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง วงเงิน 1,500 ล้านบาท

เพิ่มช่องจราจร-ขยายสะพาน

ภาคกลาง-กทม.-ปริมณฑล และภาคตะวันออก-ตะวันตก ได้แก่ ก่อสร้างทางแนวใหม่ สายทางเลี่ยงเมืองอ่างทอง ทางแนวใหม่ วงเงิน 5,080 ล้านบาท

ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 333 สาย อ.บ้านไร่-อ.หนองฉาง ตอน ต.เมืองการุ้ง-ต.หนองสรวง เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 1,250 ล้านบาท

ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 311 สายแยกศาลหลักเมือง-แยกไกรสรราชสีห์ สะพานข้ามแม่น้ำ วงเงิน 1,100 ล้านบาท ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 340 สาย บ.สาลี-สุพรรณบุรี บูรณะและเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง วงเงิน 1,380 ล้านบาท

ทางหลวงหมายเลข 333 สายสระกระโจม-บ้านไร่ เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 2,550 ล้านบาท ก่อสร้างส่วนต่อขยายทางยกระดับบนถนนทางหลวงหมายเลข 338 (ถนนบรมราชชนนี) ช่วงพุทธมณฑล สาย 3-พุทธมณฑลสาย 4 ทางยกระดับ วงเงิน 4,490 ล้านบาท

ก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ช่วงบางบัวทอง-ลาดหลุมแก้ว (งบประมาณทั้งสิ้น 4,300 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินกู้ 2,077 ล้านบาท และเงินงบประมาณ 2,222 ล้านบาท) ปรับปรุงเป็นทางหลวงพิเศษ วงเงิน 2,222 ล้านบาท

ก่อสร้างทางแนวใหม่ สายแยกทางหลวงหมายเลข 9 (บ.บางเตย)-บรรจบทางหลวงหมายเลข 3214 (บ.พร้าว) ทางแนวใหม่ วงเงิน 6,450 ล้านบาท

ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 331 สาย บ.เกาะโพธิ์-บ.เนินหิน บริหารจัดการลำดับชั้นทางหลวง วงเงิน 2,500 ล้านบาท (ชลบุรี) ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 344 สาย แยกหนองเสือช้าง-บ.เขาซก บริหารจัดการลำดับชั้นทางหลวง วงเงิน 2,300 ล้านบาท

ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 361 สายทางเลี่ยงเมืองชลบุรี ตอนจุดตัดถนนบ้านสวน หนองข้างคอก-จุดตัดทางหลวงหมายเลข 3 ก่อสร้างทางขนานปรับปรุงทางแยกต่างระดับ วงเงิน 1,100 ล้านบาท

ก่อสร้างปรับปรุงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง บนทางหลวงหมายเลข 34 ปรับปรุงซ่อมแซมสะพานเดิมที่ชำรุดและยกระดับให้สูงขึ้น ตอม่อเดิมเรือชนชำรุด วงเงิน 1,900 ล้านบาท

ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 34 สายบางโฉลง-แยกหนองไม้แดง ตอนบางโฉลง-บางวัว เพิ่มช่องจราจร ขยายสะพาน ปรับปรุงทางลอด วงเงิน 4,280 ล้านบาท

ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 34 สายบางโฉลง-แยกหนองไม้แดง ตอนแยกคลองอ้อม-แยกหนองไม้แดง เพิ่มช่องจราจรและขยายสะพาน 1,300 ล้านบาท

ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3 สายระยอง-บ้านเพ เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 4,100 ล้านบาท ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4 สายนครปฐม-ราชบุรี ตอน บ.สระกระเทียม-บ.หนองโพ เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 2,525 ล้านบาท

ก่อสร้างทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 4 ตัดทางหลวงหมายเลข 3238 (แยกเจ็ดเสมียน) ทางแยกต่างระดับ วงเงิน 1,120 ล้านบาท ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 12 สายตาก-แม่สอด ตอนแม่ละเมา-ตาก ปรับปรุงผิว AC เป็นผิวคอนกรีต วงเงิน 1,560 ล้านบาท

ภาคใต้ ได้แก่ ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4046 สายตรัง-ควนกุน ตอนตรัง-บ.โคกโตน เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 1,180 ล้านบาท ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4056 สายนราธิวาส-อ.สุไหงโก-ลก ตอน บ.บุโป๊ะแบง-บ.โคกตา เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 1,280 ล้านบาท ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 42 สายคลองแงะ-จุดผ่านแดนถาวร สุไหงโก-ลก ตอน บ.ควนหมาก อ.โคกโพธิ์ เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 1,520 ล้านบาท

เชื่อมทางหลวงปลุกอีอีซี

แผนบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 4 โครงการ วงเงินรวม 7,685 ล้านบาท ได้แก่ 1.ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 304 สายฉะเชิงเทรา-ต.เขาหินซ้อน ตอน บ.ท่าทองหลาง-อ.พนมสารคาม เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 2,500 ล้านบาท

2.ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3648 สายทางเลี่ยงเมืองแกลง เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 3,000 ล้านบาท 3.ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3200 สายฉะเชิงเทรา-อ.บางน้ำเปรี้ยว เพิ่มช่องจราจร วงเงิน 1,350 ล้านบาท

4.ก่อสร้างทางแนวใหม่เชื่อมทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7-สนามบินอู่ตะเภา (งบประมาณทั้งสิ้น 3,960 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินกู้ 3,124 ล้านบาท เงินงบประมาณ 835 ล้านบาท) ทางแนวใหม่ วงเงิน 835 ล้านบาท

ความพร้อมของโครงการ ออกแบบแล้วเสร็จ 20 โครงการ อยู่ระหว่างออกแบบ 25 โครงการ ซึ่งมีแผนแล้วเสร็จก่อนเริ่มปีงบประมาณ 2567 อยู่ระหว่างจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 4 โครงการ ไม่ต้องดำเนินการ 41 โครงการ ทำอีไอเอแล้วเสร็จ 5 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการ 6 โครงการ ไม่ต้องดำเนินการ 34 โครงการ

ขยายสนามบินระนอง-ยืดรันเวย์ชุมพร

กรมทางหลวงชนบท (ทช.) จำนวน 3 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2567-2569 วงเงินรวม 4,710 ล้านบาท ขอตั้งงบประมาณปี’67 จำนวน 942 ล้านบาท ได้แก่

1.ถนนสาย สป.1006 แยก ทล.3-เคหะบางพลี อ.บางบ่อ บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ขยายและปรับปรุงถนนเดิม วงเงิน 1,470 ล้านบาท 2.ถนนสาย จ ผังเมืองรวมเมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร ก่อสร้างถนนใหม่ วงเงิน 1,800 ล้านบาท

3.ถนนสายส่วนต่อขยายถนนเฉลิมพระเกียรติ จ.นครศรีธรรมราช ก่อสร้างถนนเส้นใหม่ วงเงิน 1,440 ล้านบาท อยู่ระหว่างจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน

กรมท่าอากาศยาน (ทย.) จำนวน 2 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2567-2570 วงเงิน 3,100 ล้านบาท ขอตั้งงบประมาณปี’67 จำนวน 620 ล้านบาท ได้แก่

1.ก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ ท่าอากาศยานระนอง ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง วงเงิน 1,600 ล้านบาท อยู่ระหว่างอีไอเอ อีเอชไอเอ

เป็นท่าอากาศยานนานาชาติ รองรับผู้โดยสารที่มากกว่าปัจจุบันทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 1,000 คนต่อชั่วโมง หรือ 2.8 ล้านคน

2.ก่อสร้างต่อเติมความยาวทางวิ่ง พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน และองค์ประกอบอื่น ๆ ท่าอากาศยานชุมพร ต.ชุมโค อ.ปะทิว จ.ชุมพร วงเงิน 1,500 ล้านบาท อยู่ระหว่างอีไอเอ อีเอชไอเอ

เดิมความยาวทางวิ่งเพียง 2,100 เมตร ไม่เพียงพอรองรับอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ ให้มีความยาว 2,990 เมตร และรองรับผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต

งบประมาณปี’67 ไม่ทันใช้ 1 ตุลาฯ

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จำนวน 2 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2567-2576 วงเงิน 47,550 ล้านบาท ได้แก่ 1.รายการเงินสนับสนุนค่าก่อสร้างงานโยธาตามสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี วงเงินรวม 22,500 ล้านบาท 2.รายการสนับสนุนค่าก่อสร้างงานโยธาตามสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง วงเงินรวม 25,050 ล้านบาท

สำนักงบประมาณพิจารณาและจัดทำรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 30 มกราคม-7 มีนาคม 2566 เพื่อเสนอ ครม.เห็นชอบ ในวันอังคารที่ 14 มีนาคม 2566

ตรงกับไทม์ไลน์เลือกตั้งที่คาดว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะยุบสภาหลังจากวันที่ 15 มีนาคม 2566 สำนักงบประมาณจะจัดทำปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ต่อรัฐบาลชุดใหม่ต่อไป

จากปฏิทินงบประมาณเดิม กระบวนการจัดทำงบประมาณหลังวันที่ 15 มีนาคม 2566 จนถึงนำขึ้นทูลเกล้าฯถวาย วันที่ 5 กันยายน 2566 ต้องใช้เวลา 5 เดือน 21 วัน


ไม่ทันใช้งบประมาณใหม่ ปี 2567-วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ต้องใช้งบประมาณเก่า ปี 2566 ไปพลางก่อน