
เปิดวิธีเช็กสิทธิ เลือกตั้ง 2566 https://boraservices.bora.dopa.go.th/election/enqelection/ เช็กหน่วยเลือกตั้งและลำดับบัญชีรายชื่อ ต้องไปเลือกตั้งที่หน่วยไหน ลำดับบัญชีอยู่ที่เท่าไร
อย่างที่ทราบกันว่า วันนี้ (14 พ.ค. 2566) เป็นวันลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งที่มีประชาชน ทั้งคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ ตื่นตัวกันเป็นอย่างมาก และถูกจับตามองว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ อาจจะเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์การเมืองได้
- พายุลูกใหม่จ่อเข้าไทย ชี้ความรุนแรงเท่า “เตี้ยนหมู่” ระวังน้ำท่วมใหญ่
- ราคายางใกล้แตะ 50 บาท/กก. กระทบโรงงานน้ำยางข้นต้นทุนพุ่ง-จ่อปิดตัว
- เตือน 10 จังหวัด เตรียมพร้อมยกของขึ้นที่สูง รับมือสถานการณ์น้ำ
อย่างไรก็ดี สำหรับประชาชนบางคน อาจยังสงสัยว่า ถ้าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จะตรวจสอบได้อย่างไรว่า ต้องไปเลือกตั้งที่ไหน หน่วยไหน สถานที่ใด และลำดับบัญชีรายชื่อของเราอยู่ลำดับที่เท่าไร
สำหรับการตรวจสอบการใช้สิทธิเลือกตั้ง 2566 สามารถทำได้โดยการเข้าไปที่เว็บไซต์ https://boraservices.bora.dopa.go.th/election/enqelection/ และทำการกรอกเลขที่บัตรประชาชน
เมื่อกด “ตรวจสอบ” ระบบจะแสดงรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง สถานที่เลือกตั้ง และลำดับที่บัญชีรายชื่อ ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการต้องเดินไปตรวจสอบลำดับที่ในบัญชีรายชื่อ ก่อนเข้าคูหา
ทั้งนี้ หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จะถูกตัดสิทธิดังนี้
- ไม่มีสิทธิร่วมลงชื่อ ยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา
- ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
รวมถึง จะถูกถือเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ ดังนี้
- ตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองและข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา
- ตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น
- นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายกฯ อบจ.)
- เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น
- ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น
- ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น
- ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น
- คณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ทุกตำแหน่ง ที่ผ่านการลงคะแนนเลือกตั้ง
โดยการจํากัดสิทธิดังกล่าว กําหนดเวลาครั้งละ 2 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง ครั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และหากในการเลือกตั้งครั้งต่อไปไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งอีก ให้เริ่มนับเวลาการจํากัดสิทธิ 2 ปีใหม่
หากไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ทั้งวันเลือกตั้งล่วงหน้า (7 พ.ค. 2566) และวันเลือกตั้งจริง (14 พ.ค. 2566) แล้วมีเหตุผลอันสมควรดังต่อไปนี้
- ผู้มีธุรกิจจําเป็นเร่งด่วนต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
- ผู้ป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
- ผู้พิการหรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
- ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
- ผู้มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
- ผู้ประสบเหตุสุดวิสัย เช่น อุทกภัย วาตภัย ฯลฯ
สามารถแจ้งเหตุที่ไม่สามารถใช้สิทธิได้ ในวันที่ 7-13 พฤษภาคม 2566 และ 15-21 พฤษภาคม 2566 ซึ่งเป็นช่วง 7 วัน ก่อนและหลังวันลงคะแนนเลือกตั้งเป็นการทั่วไป (14 พ.ค. 2566) ทางเว็บไซต์ https://boraservices.bora.dopa.go.th/election/abscausess/
- BITE SIZE : คู่มือเลือกตั้ง 2566 เรื่องควรรู้ ก่อนเข้าคูหาไปเลือกอนาคต
- เลือกตั้ง 2566 : เช็กข้อควรรู้และการเตรียมตัวก่อนเข้าคูหา 14 พ.ค.นี้
- ข้อห้ามก่อนวันเลือกตั้ง-วันเลือกตั้ง 2566 มีอะไรบ้าง ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก
- กกต.แนะ เลี่ยงใส่เสื้อมีสัญลักษณ์พรรคการเมือง – หมายเลข ไปเลือกตั้ง
- ไม่ไปเลือกตั้ง ส.ส. 66 ถูกตัดสิทธิอะไร ไม่สามารถดำรงตำแหน่งอะไรบ้าง