
กรณีซีเซียม-137 ที่หายไปจากโรงงานไฟฟ้าพลังงานไอน้ำ จ.ปราจีนบุรี จนกระทั่งพบว่าถูกโรงงานหลอมเหล็กหลอมไปแล้วตามที่เสนอข่าวไปนั้น
วันที่ 21 มีนาคม 2666 ดร.สนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat ระบุข้อความว่า ความจริงที่ต้องยอมรับเพื่อนำไปสู่การจัดการสำหรับ Cs137 ที่ถูกหลอมไปแล้ว
- มหาดไทยประกาศ ขอสละสัญชาติไทย 75 ราย แห่ไปขอถือสัญชาติสิงคโปร์
- ปลื้ม 4 มหาวิทยาลัยไทยติด TOP 100 ของโลกด้านความยั่งยืน
- บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 1 มิ.ย.นี้ ใครมีสิทธิรับวงเงินค่าซื้อสินค้า 900 บาท
1.ข้อมูลกรมโรงงานแท่ง Cs137 ถูกหลอมกับเศษเหล็กแล้วที่โรงงานหลอมเหล็กใน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี แล้วได้นำฝุ่นแดง 12.4 ตันในโรงงานไปสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ จ.ระยอง ตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค. 66
2.กระบวนการหลอมเหล็กในเตาหลอม จะนำเศษเหล็ก (ซึ่งกรณีนี้มีแท่ง Cs137 มารวมด้วย) มาอัดกันเป็นก้อนแล้วเทเข้าสู่เตาหลอมที่มีอุณหภูมิสูงถึง 1200 องศา ขณะที่เพิ่มความร้อนจะมีฝุ่นเหล็กละเอียดออกมาลอยพ่น Hood ขึ้นไปสู่ถุงกรองฝุ่นหรือ Baghouse filter
ซึ่งจะกรองฝุ่นละเอียดไว้ได้ถึง 90% อีก 10% จะลอยออกไปที่ปลายปล่องสู่บรรยากาศ ขณะที่ก้นเตาหลอมจะมีตะกรันเหล็กหรือ Slag ที่เผาไหม้ไม่หมดกองอยู่ด้วย
3.ดังนั้น ที่ปลายปล่องมีฝุ่นละเอียดกับ Cs137 ระบายออกไปสู่บรรยากาศรอบ ๆ โรงงานหลอมเหล็กซึ่งอาจไปไกลมากกว่า 5 กม. ส่วนฝุ่นแดงกับ Cs137 ในถุงกรองหรือ Baghouse filter จะถูกบรรจุในถุงขนาดใหญ่นำไปรีไซเคิลยังโรงงาน… จ.ระยอง เพื่อสกัดธาตุสังกะสีออกมา
ซึ่งการสกัดต้องใช้การถลุงที่ใช้ความร้อนสูงจึงอาจมี Cs137 ปนเปื้อนออกมาที่ปลายปล่องสู่บรรยากาศรอบ ๆ โรงงานนั้นใน จ.ระยองด้วย ส่วนตะกรันเหล็กหรือ Slagทราบว่าโรงงานหลอมเอาไปฝังกลบไว้รอบ ๆ โรงงาน ดังนั้น จึงอาจมีสาร Cs137 ปนเปื้อนในดิน น้ำผิวดินและน้ำใต้ดินได้

4.สิ่งจะเกิดขึ้นในอนาคตหากสาร Cs137 ปะปนในสิ่งแวดล้อมทั้งอากาศ ดิน น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน และอาจเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศวิทยาเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ทั้งการหายใจและทางอาหาร เช่น Cs137 ลงในน้ำเข้าสู่ตัวปลาและมนุษย์จับปลามากิน เป็นต้น
หรือหายใจเอาฝุ่นของ Cs137 เข้าไปจะสะสมอยู่ในร่างกาย ซึ่งสาร Cs137 จะปล่อยรังสีแกมม่าและเบต้าออกมา การสลายตัวครึ่งชีวิตใช้เวลาถึง 30 ปี รังสีที่แผ่ออกมาจากฝุ่น Cs137 จะทำให้เซลล์ในร่างกายเกิด Mutation หรือกลายเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ บางส่วนของรังสีจะไปกระตุ้นโครโมโซมในยีนให้เปลี่ยนรูปสุดท้ายประมาณ 5-10 ปีก็อาจกลายเป็นมะเร็งได้
5.ผลกระทบต่อสุขภาพในปัจจุบันอาจไม่ค่อยเห็น แต่ระยะยาวหากรับสารนี้เข้าไป ไม่ว่าทางการหายใจหรือการกินมีผลกระทบแน่ ดังนั้นภาครัฐต้องเฝ้าระวังสุขภาพของพนักงานและประชาชน รวมทั้งในสิ่งแวดล้อมและในอาหารสัตว์น้ำ พืช ผัก ผลไม้ที่ปลูกใกล้เคียงโรงงานอย่างน้อย 1-2 ปี ให้แน่ใจว่าไม่มีสาร Cs137 ตกค้างในห่วงโซ่อาหารแล้วจึงค่อยวางมือ
ขณะเดียวกันต้องบอกความจริงเกี่ยวกับผลของการตรวจวัดรังสีและผลกระทบต่อสุขภาพให้ประชาชนทราบ รวมทั้งเฝ้าระวังสุขภาวะประชาชนกลุ่มเสี่ยงในรัศมี 5 กิโลเมตรอย่างน้อย 5 ปีด้วย
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก “Sonthi Kotchawat”