ล็อกดาวน์คุมโควิดเบ็ดเสร็จ ปิดกิจการอะไรบ้าง ?

THAILAND-HEALTH-VIRUS
FILE PHOTO : Jack TAYLOR / AFP

การระบาดของโควิด-19 ขึ้นสู่ระลอก 4 ซึ่ง ศบค.คาดการณ์ว่าต้นสัปดาห์หน้า ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่จะเพิ่มขึ้นเป็น 1 หมื่นรายต่อวัน มีแนวโน้มสูงว่ารัฐบาลจะประกาศล็อกดาวน์อีกครั้ง 

“ประชาชาติธุรกิจ” ทบทวนมาตรการล็อกดาวน์ผ่านการประกาศแต่ละฉบับในรอบ 18 เดือน ว่ามีการปิดกิจการประเภทใดบ้าง ?

การระบาดระลอก 1

วันที่ 2 เมษายน 2563

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประกาศเคอร์ฟิวทั่วประเทศ ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานตั้งแต่เวลา 22.00 – 04.00 น. มีผลบังคับใช้ (3 เม.ย. 63) เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19

ในวันเดียวกัน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 2) หรือประกาสเคอร์ฟิว ห้ามประชาชนออกนอกเคหสถาน ลงนามโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้มีการออกประกาศผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจไปแล้ว

เพื่อให้มีมาตรการต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงได้โดยเร็ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 22.00 น. ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่มีความจำเป็นหรือเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ การธนาคาร การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ผลผลิตการเกษตร ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ หนังสือพิมพ์ การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง การขนส่งพัสดุภัณฑ์ การขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้าหรือส่งออก การขนย้ายประชาชนไปสู่ที่เอกเทศเพื่อกักกันตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ

การเข้าออกเวรทำงานผลัดกลางคืน ตามปกติ หรือการเดินทางมาจากหรือไปยังท่าอากาศยาน โดยมีเอกสารรับรองความจำเป็นหรือเอกสารเกี่ยวกับสินค้าหรือการเดินทาง และมีมาตรการป้องกันโรคตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 1) หรือเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งต่าง ๆ ของทางราชการ หรือมีเหตุจำเป็นอื่น ๆ โดยได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

ผู้ใดฝ่าฝืนข้อนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

ข้อ 2 ในกรณีที่มีการประกาศหรือสั่ง ห้าม เตือนหรือแนะนำในลักษณะเดียวกับข้อ 1 วรรคหนึ่ง สำหรับจังหวัด พื้นที่หรือสถานที่ใดโดยกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่เข้มงวดหรือเคร่งครัด กว่าข้อกำหนดนี้ ให้ปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้นต่อไปด้วย

ข้อ 3 ในกรณีที่ไม่อาจเคลื่อนย้ายบุคคลใดซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทางเพื่อออกไป นอกราชอาณาจักรได้ ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร จัดที่เอกเทศเพื่อควบคุมหรือกักกันบุคคลดังกล่าวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคตามเงื่อนไขและ ระยะเวลาที่กำหนด

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

วันที่ 9 เมษายน 2563

กรุงเทพมหานคร ประกาศสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ประกอบด้วย ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ร้านอาหารหรือเครื่องดื่มที่อยู่ในคูหา รถเข็นและแผงลอยจาหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้เปิดได้ตั้งแต่เวลา 04.01 น. ถึงเวลา 22.00 รวมถึงให้ปิดร้านค้าหรือสถานประกอบการขายสุรา

วันที่ 12 เมษายน 2563

ศูนย์อานวยการบริหารสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) ได้รับรายงานว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ ในฐานะผู้กากับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัด ได้พิจารณาออกคาสั่งปิดร้านค้าและสถานประกอบการจาหน่ายสุราเป็นการชั่วคราว

การระบาดระลอก 2

วันที่ 1 มกราคม 2564

พลตํารวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามประกาศ สั่งปิด 25 สถานที่ เป็นการชั่วคราว ประกอบด้วย

  1. สถานบริการ ผับ บาร์ สถานบันเทิงและสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการ
  2. สวนน้า สวนสนุก
  3. สนามเด็กเล่น เครื่องเล่นสาหรับเด็กในตลาด ตลาดน้า และตลาดนัด
  4. โต๊ะสนุกเกอร์ บิลเลียด
  5. สถานที่เล่นตู้เกม
  6. ร้านเกม และร้านอินเทอร์เน็ต
  7. สนามชนไก่ และสนามซ้อมชนไก่
  8. สถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานดูแลผู้สูงอายุ
  9. สนามมวย
  10. โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้ (ยิม)
  11. สนามม้า
  12. สถานประกอบกิจการอาบน้า
  13. สถานประกอบกิจการอาบอบนวด
  14. สนามแข่งขันทุกประเภท
  15. สถานที่ให้บริการห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยงทานองเดียวกัน
  16. สนามชนโค สนามกัดปลา
  17. สนามพระเครื่อง ศูนย์พระเครื่อง
  18. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน
  19. สถานเสริมความงาม สถานที่สักหรือเจาะผิวหนังหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
  20. สถานที่ออกกาลังกายฟิตเนส
  21. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา และสถานประกอบการนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า
  22. สนามฝึกซ้อมมวย โรงยิม หรือค่ายมวย
  23. สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง สเก็ต หรือโรลเลอร์เบลด
  24. สถาบันลีลาศ หรือสอนลีลาศ
  25. อาคารสถานที่ของโรงเรียน สถาบันกวดวิชา และสถาบันการศึกษาทุกประเภท ห้ามใช้เพื่อจัดการเรียนการสอน การสอนการฝึกอบรม หรือการทากิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจานวนมาก

เริ่มตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง ยกเว้น การปิดอาคารสถานที่ของโรงเรียน สถาบันกวดวิชา และสถาบันการศึกษาทุกประเภท ให้มีผลถึงวันที่ 17 มกราคม 2564

วันที่ 4 มกราคม 2564

กรุงเทพมหานคร (กทม.) ออกประกาศสั่งปิดสถานที่เพิ่ม ดังนี้

1. ขยายเวลาปิดอาคารสถานที่ของโรงเรียน สถาบันกวดวิชา และสถานศึกษาทุกประเภท ตามประกาศ กทม. จะใช้ได้ในกิจกรรมให้ความช่วยเหลือสงเคราะห์ อุปถัมภ์ หรืออุปการะแก่บุคคล และกิจกรรมของราชการเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจาก กทม. แล้วเท่านั้น

2.ร้านอาหาร หรือเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ รถเข็น หาบเร่แผงลอย ภัตตาคาร ศูนน์อาหาร โรงอาหาร (เว้นร้านอาหารในสนามบิน)ให้บริการรับประทานที่ร้านได้ระหว่างเวลา 06.00-21.00 น. หลังเวลา 21.00 น.รับเฉพาะสั่งกลับบ้าน (Take Away) เท่านั้น

3.สถานที่ให้บริการรักษาสัตว์ สปา อาบน้า ตัดขน รับเลี้ยง/ฝากสัตว์เลี้ยง ช่างตัดขนต้องสวมใส่หน้ากาก Face Shield ถุงมือ และเสื้อคลุมแขนยาวทุกครั้งที่ทางาน และควบคุมผู้ใช้บริการไม่ให้แออัด

4.การประชุม สัมมนา ที่มีผู้ร่วมงานเกิน 200 คน หรือการจัดกิจการขนาดใหญ่ ที่ทาให้เกิดการชุมนุม 300 คน ต้องยื่นแผนจัดงานและมาตรการควบคุมโรคติดต่อด้วย รวมถึงสถานที่จัดงานเลี้ยง

การระบาดระลอก 3

วันที่ 16 เมษายน 2564

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ในฐานะโฆษก ศบค. ได้แถลงสรุปหลังการประชุม ศบค. ชุดใหญ่ ระบุว่า ไม่มีการประกาศเคอร์ฟิวและล็อกดาว แต่ได้เพิ่ม 9 (ร่าง) ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 20) ยกระดับควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ดังนี้

  1. ห้ามจัดกิจกรรมหรือที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค
  2. ปิดสถานบริการ หรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคทั่วราชอาณาจักร
  3. กาหนดพื้นที่สถานการณ์ เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ จาแนกตามเขตพื้นที่
  • พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) : รวม 18 จังหวัด
  • พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) : รวม 59 จังหวัด
  1. กาหนดมาตรการควบคุมพื้นที่ที่จาเป็นอย่างเร่งด่วน

พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง)

  • ก. การจาหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้าน ได้ไม่เกินเวลา 21.00 น.
  • ข. ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน
  • ค. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมิวนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้เปิดดาเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้นๆ จนถึงเวลา 21.00 น.
  • ง. ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เกต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน เปิดได้ไม่เกินเวลา 23.00 น.
  • จ. สนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกาลังกาย เปิดได้ไม่เกิน เวลา 21.00 น.

พื้นที่ควบคุม (สีส้ม)

  • ก. การจาหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ในร้านได้ ไม่เกินเวลา 23.00 น.
  • ข. การจาหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ค. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมิวนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน
  1. งดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทาง
  2. งดจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ งานเลี้ยง งานรื่นเริง
  3. ขอความร่วมมือ Work From Home
  4. ให้ ศปค.สธ. และ ศบค.มท. เร่งจัดหาสถานที่รองรับผู้ติดเชื้อโดยด่วน
  5. ปรับเปลี่ยนระดับพื้นที่สถานการณ์ตามความเหมาะสม

ทั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2564 เป็นต้นไป

วันที่ 27 มิถุนายน 2564

เว็บไซต์ราชกิจจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25) ซึ่งลงนาม โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีสาระสาคัญคือมาตรการกึ่งล็อกดาวน์กรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร รวมถึงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา) ดังนี้

  1. ปิดแคมป์ก่อสร้าง 30 วัน เพื่อเข้าควบคุมและชะลอการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
  2. การจาหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มในร้านอาหารทั้งหมด ให้เปิดดาเนินการเฉพาะการนากลับไปบริโภคที่อื่นเท่านั้น
  3. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้าคอมมิวนิตี้มอลล์ ให้เปิดดาเนินการได้ถึงเวลา 21.00 น. โดยให้งดการให้บริการเพิ่มเติมในพื้นที่โรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ สวนน้า พื้นที่นั่งรับประทานในศูนย์อาหาร และเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคคลในพื้นที่พักคอย เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหมุนเวียนอากาศ
  4. โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุมหรือสถานที่จัดนิทรรศการ ให้เปิดดาเนินการได้ตามเวลาปกติ โดยให้งดกิจกรรมจัดการประชุม การสัมมนา และการจัดเลี้ยง
  5. ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจานวนรวมกันมากกว่ายี่สิบคน เว้นแต่กรณีได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

มีผลตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป