สายการบิน “ไทยสมายล์” ดำเนินธุรกิจภายใต้บริษัท ไทยสมายล์ แอร์เวย์ส จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2556 มีทุนจดทะเบียนจำนวน 1,800 ล้านบาท
จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด มีผลการดำเนินงาน “ขาดทุน” ต่อเนื่องนับตั้งแต่เปิดดำเนินการ โดยตั้งแต่ปี 2556-2564 มีตัวเลขขาดทุนรวม 15,915 ล้านบาท
โดยปี 2556 มีรายได้หลัก 0 บาท ขาดทุนสุทธิ 3.1 ล้านบาท ปี 2557 มีรายได้รวม 3,068.6 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 577.4 ล้านบาท ปี 2558 มีรายได้รวม 4,762.2 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 1,852.7 ล้านบาท ปี 2559 มีรายได้รวม 7,531.5 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 2,081 ล้านบาท ปี 2560 มีรายได้รวม 10,182.1 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 1,626.7 ล้านบาท
ปี 2561 มีรายได้รวม 11,063 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 2,602.3 ล้านบาท ปี 2562 มีรายได้รวม 14,573.6 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 112.5 ล้านบาท และมีส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบอยู่ทั้งสิ้น 6,881.2 ล้านบาท ปี 2563 ซึ่งเป็นปีแรกที่ประสบวิกฤตโควิด มีรายได้รวม 5,451 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 3,266.9 ล้านบาท และมีส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบอยู่ทั้งสิ้น 10,170.1 ล้านบาท
ล่าสุดปี 2564 ซึ่งเป็นปีที่ 2 ที่อยู่กับวิกฤตโควิด มีรายได้รวม 3,762.9 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 3,792.1 ล้านบาท และมีส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบอยู่ทั้งสิ้น 13,962.2 ล้านบาท
ทั้งนี้ ข้อมูลจากงบการเงินประจำปี 2564 ระบุว่า สายการบิน “ไทยสมายล์” มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินทั้งสิ้น 20 ลำ ขณะที่ข้อมูลจากฝ่ายสื่อสารองค์กรของสายการบินไทยสมายล์ระบุว่า ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 มีพนักงานอยู่ทั้งสิ้น 815 คน
ปัจจุบันสายการบินไทยสมายล์ทำการบินอยู่ทั้งหมดรวม 23 เส้นทาง (อ้างอิงจากตารางการบินฤดูหนาววันที่ 21 กุมภาพันธ์-25 มีนาคม 2566) แบ่งเป็น เส้นทางบินในประเทศจำนวน 10 เส้นทาง และเส้นทางบินระหว่างประเทศจำนวน 13 เส้นทาง
โดยเส้นทางบินในประเทศ 10 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-เชียงราย, กรุงเทพฯ-ขอนแก่น, กรุงเทพฯ-อุดรธานี, กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี, กรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี, กรุงเทพฯ-ภูเก็ต, กรุงเทพฯ-กระบี่, กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ (สงขลา) และกรุงเทพฯ-นราธิวาส
ส่วนเส้นทางบินระหว่างประเทศ 13 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-ย่างกุ้ง (เมียนมา), กรุงเทพฯ-เสียมเรียบ (กัมพูชา), กรุงเทพฯ-พนมเปญ (กัมพูชา), กรุงเทพฯ-เวียงจันทน์ (สปป.ลาว), กรุงเทพฯ-หลวงพระบาง (สปป.ลาว), กรุงเทพฯ-โอจิมินห์ (เวียดนาม), กรุงเทพฯ-ฮานอย (เวียดนาม), กรุงเทพฯ-ปีนัง (มาเลเซีย), กรุงเทพฯ-เกาสง (ไต้หวัน), กรุงเทพฯ-คยา (อินเดีย), กรุงเทพฯ-อาห์เมดาบัด (อินเดีย), กรุงเทพฯ-ชัยปุระ (อินเดีย) และกรุงเทพฯ-กาฐมาณฑุ (เนปาล)
- การบินไทยรับคนจำนวนมาก งานครัวการบิน-บริการภาคพื้น กว่า 500 อัตรา
- การบินไทยฟื้นบินจีน 5 เส้นทาง เริ่ม 1 มี.ค.นี้
- ซีอีโอใหม่ “การบินไทย” เรียกคืนความเชื่อมั่น “ผู้ถือหุ้น-ลูกค้า”
- การบินไทยฟื้นแล้ว เตรียมแปลงหนี้เป็นทุน คาดกลับเข้าเทรด SET ปลายปี’67