IMF เตือนเฟดขึ้นดอกเบี้ย ทำเศรษฐกิจเอเชียฟื้นช้า

REUTERS/Aly Song//File Photo

ไอเอ็มเอฟ หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจเอเชีย เตือนเฟดขึ้นดอกเบี้ยกระทบฟื้นตัว-เงินทุนไหลออก

วันที่ 26 มกราคม 2565 รอยเตอร์รายงานว่า ชางยอง รี (Changyong Rhee) ผู้อำนวยการแผนกเอเชียแปซิฟิกขององค์กรการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยว่า จากกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มชัดเจนถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันพรุ่งนี้ (27 ม.ค) ทั้งเฟดยังมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 3 ครั้งในปีนี้ จะส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจในเอเชียฟื้นตัวช้าลง ทั้งสร้างแรงกดดันต่อผู้กำหนดนโยบายเงินทุนของแต่ละชาติในการพยายามป้องกันควมเสี่ยงเงินทุนไหลออก (Capital flight)

“เราไม่ได้คาดว่า การที่เฟดปรับนโยบายการเงินสู่ภาวะปกติจะส่งผลกระทบร้ายแรงแรงหรือมีผลครั้งใหญ่ต่อการไหลออกของเงินทุนจากตลาดเอเชีย แต่เราคาดว่าจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชียเป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากการผลกระทบการใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินของเฟดอาจจะกระทบให้อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นและตามด้วยการยกระดับมาตรการทางการเงินทั่วโลก”

REUTERS/Andrew Kelly/File Photo

นักลงทุนกำลังจับตาท่าทีของเฟดที่เตรียมจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันพุธนี้ ตามเวลาท้องถิ่นกรุงวอชิงตันดี.ซี. หรือตรงกับวันพฤหัสบดีตามเวลาไทย ซึ่งถือเป็นการประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้เดือนมีนาคม ทั้งมีแนวโน้มประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 รอบภายในปีนี้

ขณะเดียวกัน ไอเอ็มเอฟ ได้เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) ประจำปีนี้ โดยลดการคาดการณ์เติบโตของเศรษฐกิจเอเชียในปี 2022 ว่ามีแนวโน้มชะลอตัวตัวลงสู่ระดับ 5.9% จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 6.3%

Photo by Stefani Reynolds / AFP

ขณะที่ไอเอ็มเอฟคาดการณ์การเติบโตของจีนในปี 2022 ที่ 4.8% ซึ่งสะท้อนถึงผลกระทบของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ย่ำแย่และผลกระทบต่อการบริโภคจากการควบคุม COVID-19 ที่เข้มงวด “จีนยังคงเป็นโรงงานของโลก อุปสงค์ภายในประเทศที่อ่อนแอลงจะลดอุปสงค์ภายนอกของประเทศเพื่อนบ้านโดยทั่วไป” รี กล่าว

เอเชียอาจเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อกลายเป็นความเสี่ยงในปีนี้ ตรงกันข้ามกับปีที่แล้วที่ความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและราคาอาหารแบบเงียบ ๆ ทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ

“ในปี 2022 เนื่องจากการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งและราคาอาหารฟื้นตัว ผลกระทบอย่างต่อเนื่องของต้นทุนการขนส่งที่สูงอาจสามารถยุติภาวะเงินเฟ้อที่ไม่รุนแรงในเอเชียในปีนี้ได้” รีกล่าว