
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดบริหารอีอีซี) ที่มีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน ที่กระทรวงอุตสาหกรรม ว่าที่ประชุมรับทราบผลการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ประกอบด้วย อู่ตะเภา สุวรรณภูมิ ดอนเมือง แบบไร้รอยต่อ ของกระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ภายใต้วงเงินศึกษา 100 ล้านบาท โดยสรุปวงเงินลงทุนใหม่จำนวน 280,000 ล้านบาท เพิ่มจากคาดการณ์เดิมของบอร์ดอีอีซีจำนวน 158,000 ล้านบาท
โดยกรอบวงเงินลงทุนใหม่นี้กำหนดรูปแบบให้เอกชนลงทุนทั้งหมด ประกอบด้วย การลงทุนก่อสร้างและให้บริการรถไฟความเร็วสูงประมาณ 200,000 ล้านบาท และรัฐลงทุนพัฒนาสถานีมักกะสัน และพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูงอื่นอีกประมาณ 80,000 ล้านบาท กำหนดราคาค่าโดยสาร 500 บาทต่อเที่ยว สำหรับเส้นทางด่วนพิเศษดอนเมือง-อู่ตะเภา และ 300 บาทต่อเที่ยวสำหรับเส้นทางด่วนพิเศษสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา นอกจากนี้ยังมีรถธรรมดาจอด 10 สถานีระหว่างทาง ขณะที่ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในเขตนอกเมือง และ 160 กิโลเมตรที่ผ่านกรุงเทพชั้นใน โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงนี้จะสามารถประกาศเชิญชวนนักลงทุนได้ภายในปลายปี 2560
- กรมอุตุฯ เปิดชื่อพายุลูกใหม่ โซนร้อน “โคอินุ” (KOINU) พายุลูกที่ 14
- น่าสลดเงินหมดแล้ว ยังไม่ตาย จัดการอย่างไร เงินเก็บหลังเกษียณหมดก่อน
- กรมอุตุฯ เผยเส้นทางพายุโซนร้อน “โคอินุ”- เตือนฝนตกหนัก 3-7 ต.ค.
ที่มา : มติชนออนไลน์