
ช่วยกันคิด กรมควบคุมมลพิษ กรมป่าไม้
“air4thai.pcd.go.th” ระบบรายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานสถานการณ์ฝุ่นควันพิษ PM 2.5 ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2564 คุณภาพอากาศเกือบทุกพื้นที่อยู่ในเกณฑ์ดี (26-50 ไมโครกรัม/ลบ.ม.) จนถึงปานกลาง (51-100 ไมโครกรัม/ลบ.ม.)
- สถิติหวย ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวด 1 ตุลาคม ย้อนหลัง 10 ปี
- กรมอุตุฯ เปิดชื่อพายุลูกใหม่ โซนร้อน “โคอินุ” (KOINU) พายุลูกที่ 14
- กรมอุตุฯ จับตาพายุหมุนเขตร้อน มีหย่อมความกดอากาศก่อตัวใหม่อีก 1 ลูก
อย่างไรก็ตาม บางพื้นที่คุณภาพอากาศเริ่มมีผลต่อสุขภาพ (100-200 ไมโครกรัม/ลบ.ม.) อาทิ อ.เมือง จ.พิษณุโลก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี อ.เมือง จ.นครปฐม อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี อ.เมือง จ.สมุทรสาคร อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
ขณะที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) หลายพื้นที่คุณภาพอากาศเริ่มส่งผลต่อสุขภาพเช่นเดียวกัน อาทิ ถ.กรุงเกษม เขตป้อมปราบฯ แยกท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ พุทธมณฑลสาย 1
เขตตลิ่งชัน ถ.ริมคลองทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา ถ.เพชรเกษม เขตภาษีเจริญ ถ.มาเจริญ เพชรเกษม 81 เขตหนองแขม ถ.เอกชัย เขตบางบอน เขตคลองสามวา ฯลฯ
เพื่อรับมือกับสถานการณ์หมอกควันพิษที่นับวันมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ตั้งแต่ปลายปีนี้จนถึงต้นปี 2565 กรมควบคุมมลพิษได้ยกระดับความเข้มข้นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันพิษทั้งภายในประเทศ และปัญหาหมอกควันพิษข้ามแดน โดยประสานงานและความร่วมมือประเทศเพื่อนบ้านยกระดับการพยากรณ์คุณภาพอากาศ เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาหมอกควันพิษในภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขณะเดียวกันส่วนราชการที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานทั้งในส่วนกลาง ต่างจังหวัดได้เพิ่มความเข้มข้นในการตรวจสอบติดตามสถานการณ์ การบังคับใช้กฎหมาย และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ภาคประชาชน เกษตรกร ภาคธุรกิจและอุตสาหรรมตระหนัก และให้ความสำคัญในการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว
อย่างเช่น กรมการขนส่งทางบกเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบรถทุกประเภทที่ดำเนินการทางทะเบียนและภาษี ณ กรมการขนส่งทางบก และสำนักงานขนส่งทั่วประเทศ ไม่ให้รถที่ควันดำเกินกำหนดใช้งานบนท้องถนน
การจัดส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจจับรถควันดำอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม. รวมทั้งถนนสายหลัก สายรองที่เข้าสู่ กทม. การตั้งจุดตรวจรถโดยสาร ควบคู่กับบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่ฝ่าฝืน
กรมป่าไม้ โดย นายชีวะภาพ ชีวะธรรม รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ ได้ออกประกาศกรมป่าไม้ เรื่อง กำหนดมาตรการขอความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมไฟป่า เมื่อ 24 พฤศจิกายน 2564 เพื่อป้องกันการเกิดไฟป่าในช่วงหน้าแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ
ซึ่งสาเหตุประการหนึ่งมาจากการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่การเกษตร เก็บของป่าและล่าสุดเกิดไฟลุกลามทำความเสียหายต่อทรัพยากรป่าไม้ และส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ทำให้ภาครัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการระดมเจ้าหน้าที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ ฯลฯ จำนวนมาก
ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายดังกล่าว และให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟฟ้า กรมป่าไม้จึงได้กำหนดมาตรการป้องกันไฟป่า ดังนี้
1.เมื่อมีความจำเป็นต้องเผาวัชพืชในที่ดินทำกิน ขอความร่วมมือให้ผู้ครอบครองที่ดินจัดทำแนวกันไฟ และควบคุมไม่ให้ไฟลุกลามไปยังพื้นที่อื่น ๆ โดยให้ประสานงานกับหน่วยงานป้องกันและพัฒนาป่าไม้ท้องที่ หรือศูนย์ส่งเสริมการควบคุมไฟป่าท้องที่ หรือหน่วยงานภาคสนามของกรมป่าไม้ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อจัดกำลังเจ้าหน้าที่คอยควบคุมในการดำเนินการต่อไป
2.ขอความร่วมมือราษฎร หากพบเห็นผู้กระทำผิดจุดไฟเผาป่า หรือเมื่อพบเห็นไฟไหม้ป่าให้ช่วยดับไฟโดยเร็ว หากเป็นกรณีไฟไหม้รุนแรงให้รีบแจ้งและประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดับไฟ หรือ
โทรศัพท์สายด่วนพิทักษ์ป่า กรมป่าไม้ โทร.1362 เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้เข้าดับไฟ และจับกุมผู้กระทำผิด
กรณีการจุดไฟเผาป่า หรือปล่อยให้ไฟลุกลามเข้าไปในพื้นที่ป่าไม้ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2584 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือพื้นที่ป่าไม้ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ถือเป็นความผิดทางกฎหมาย ดังนี้
1.ความผิดตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต้องระวางโทษตามมาตรา 72 ตรี จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับในกรณีบุคคลเผาป่าเป็นเนื้อที่เกิน 25 ไร่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาทถึง 100,000 บาท
2.ความผิดตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต้องระวางโทษตามมาตรา 31 จำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท
3.ความผิดตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 97 ผู้ใดกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการทำลายหรือทำให้สูญหาย หรือเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นของรัฐ หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่รัฐ ตามมูลค่าทั้งหมดของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย สูญหาย หรือเสียหายไปนั้น