
BCPG ถกเวทีประชุมแบตเตอรี่อีวีอาเซียนจับตาแนวโน้มตลาดสองล้ออีวีอินโดนีเซียพุ่ง ชี้ไทยต้องมองรอบด้านโอกาสลงทุนโรงงานแบตเตอรี่หลังรัฐบาลอินโดฯเบรกส่งออกนิกเกิลคุ้มหรือไม่คุ้ม
ดร.รุจิโรจน์ ลีลารุจิ ผู้อำนวยการและผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมพลังงาน ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ในโอกาสร่วมประชุม Asian Battery&Electric Vehicle Technology Conference ครั้งที่ 1 ที่อินโดนีเซีย
- พายุลูกใหม่จ่อเข้าไทย ชี้ความรุนแรงเท่า “เตี้ยนหมู่” ระวังน้ำท่วมใหญ่
- กรมอุตุฯเตือน “พายุดีเปรสชั่น” เข้าไทย รับมือฝนตกหนัก-ท่วมฉับพลัน
- นายกฯตั้งบอร์ดใหญ่คุมแจกเงิน 10,000 บาท ห้าง-โมเดิร์นเทรดรับอานิสงส์
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า บริษัทเห็นโอกาสการพัฒนาอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) จึงได้เข้าร่วมงานนี้ เพื่อศึกษาโอกาสการสร้างความร่วมมือเรื่องนี้ รวมถึงอัพเดตข้อมูล รูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมนี้
“ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่และรถอีวี บีซีพีจีถือว่ายังใหม่ในอุตสาหกรรมแบตฯ บริษัทหลายแห่งทั่วอาเซียนได้เริ่มลงมือและพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ก่อนเราไปมากแล้ว และหากช้ากว่านี้ ผมกลัวเราจะตกขบวน เราถึงต้องเรียนรู้ให้มาก”
ทั้งนี้ อินโดนีเซียประเทศเจ้าภาพนับเป็นประเทศที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมแบตเตอรี่อีวีในภูมิภาคของเรา และมีความพร้อมด้านทรัพยากรต้นน้ำ รัฐบาลมีนโยบายมุ่งเน้นการผลิตแร่หายากที่ต้นน้ำ รวมถึงการพัฒนาแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ปลายน้ำ
โดยมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนและการใช้รถอีวี มีบริษัทใหญ่ ๆ อย่าง IBC (Indonesia Battery Corporation) ที่ได้รับการสนับสนุนให้นำแร่นิกเกิล และแร่หายาก เช่น แมงกานีส หรือโคบอลต์ขึ้นมา เพื่อผลิตแบตเตอรี่ แต่ยังมีความต้องการลิเทียมอยู่ และขณะที่ตลาดอีวีอินโดนีเซียดีมาก เฉพาะในบาหลีให้ความนิยมรถรถมอเตอร์ไซค์กว่า 4 ล้านคัน
“บริบทในแต่ละประเทศที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ก็มีความแตกต่างกันไป ตัวอย่าง เช่น โมเดลรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในจีน เราก็มีเหมือนกับเขา แต่ที่จีนเขาจำกัดความเร็วไว้ ก็จะช่วยให้แบตเตอรี่จุได้นานขึ้น ขนาดเล็กลง ราคารถก็ถูกลง คนใช้งานจึงเห็นความต่างของราคาระหว่างรถสันดาปและรถไฟฟ้า
ในขณะที่ประเทศไทยการจำกัดความเร็วทำได้ยาก เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เราต้องใช้รถสองล้อคือเพื่อเพิ่มความเร็ว ส่งดีลิเวอรี่ ทำให้เวลาเขาเป็นเงินเป็นทอง ปัญหาจึงวนกลับมาที่แบตเตอรี่ต้องใหญ่และรถก็ราคาแพง”

ดร.รุจิโรจน์กล่าวว่า ปัจจุบัน BCPG ดำเนินธุรกิจหลัก 70% คือการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 25% มุ่งเน้นการลงทุนและทำธุรกิจด้านแบตเตอรี่และการกักเก็บพลังงาน อีก 5% เป็นธุรกิจใหม่ (new frontier) เช่น พลังงานไฮโดรเจน แต่ในอุตสาหกรรมรถอีวีและแบตเตอรี่ หลังจากนี้ต้องนำเสนอข้อมูลภาพรวมไปที่บางจาก เพื่อศึกษาหาทางขยายโอกาสทางธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น