“บิ๊กตู่” นั่งหัวโต๊ะ ถกข้อเสนอผู้ว่า ฯ-เอกชน ดันภาคใต้ตอนล่าง Hub of seafood

เมื่อเวลา 10.25 น. วันที่ 6 มีนาคม 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานจากโรงแรมดุสิตธานี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นอกสถานที่อย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 10/2561 จังหวัดเพชรบุรี ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้แทนเกษตรกร กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ได้มีข้อเสนอการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ราว 1 ชั่วโมง โดยกลุ่มจังหวัดมีข้อเสนอ ได้แก่

ของบสร้างคลองส่งน้ำเมืองเพชรเพิ่มเติม 573 ล้าน

ด้านการบริหารจัดการน้ำ ประกอบด้วย 1. โครงการบรรเทาอุทกภัยและแก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เพชรบุรีตอนล่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่าง จังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากอุทกภัยทำให้เกิดปัญหาต่อการคมนาคมทั้งภายในตัวจังหวัดและเส้นทางหลัก คือ ถนนเพชรบุรี ซึ่งเป็นเส้นทางหลักลงสู่ภาคใต้ นอกจากนี้ประชาชนยังได้รับผลกระทบเสียหายต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปีติดต่อกัน

โดยชลประทานเพชรบุรีได้เสนอโครงการเพื่อแก้ปัญหาตั้งแต่ 2559 โดยจัดทำคลองผันน้ำ วงเงิน 8,500 ล้านบาท ระยะดำเนินการ 7 ปี และในระยะแรกได้เริ่มดำเนินโครงการคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา 3 ของเมืองเพชร เพื่อระบายน้ำออกจากแม่น้ำเพชรบุรีในเบื้องต้น 100 ลบ.ม./วินาที ดังนั้น จำเป็นต้องใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,100 ล้านบาท ซึ่งได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2560 (เพิ่มเติม) จำนวน 327 ล้านบาทและงบประมาณปี 2561 งบกลาง จำนวน 200 ล้านบาทแล้ว

“ในการนี้ จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณ (เพิ่มเติม) จากครม.สัญจร อีกเป็นเงินจำนวน 573 ล้านบาท สำหรับที่เหลืออีก 7,400 ล้านบาท จะเสนอเป็นโครงการขนาดใหญ่ต่อไป”

Advertisment

สร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมซ้ำซาก 25 ล้าน

2.โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเพชรบุรี (ระยะที่ 3) ฝั่งซ้ายตั้งแต่สะพานวัดจันทราวาส อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ความยาว 250 เมตร เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมซึ่งเกิดจากน้ำหลากบริเวณตำบลคลองกระแชงและชุมชนใกล้เคียงในเขตเทศบาลเพชรบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ติดแม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบกับชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจเป็นประจำ

“จึงขอเสนอโครงการเพื่อก่อสร้างเขื่อนแบบตอกเสาเข็ม สอดแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) ด้านบนเสรอมครีบผลัง สคล. หน้าเขื่อนเปิดด้วยหินทิ้ง ความยาว 250 เมตร จำนวน 25 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน”

ปลูกป่าชายเลนเพิ่ม 20 เท่า

Advertisment

ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 1.การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนและป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ได้แก่ 1.) โครงการสนับสนุนการปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทน ให้แก่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อปลูกป่าและบำรุงป่าชายเลนทดแทนให้แก่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จำนวน 20 เท่า วงเงิน 563 ล้านบาท (พื้นที่ดำเนินการ 2,310 ไร่ 56 ตารางวา ต้องจ่ายค่าชดเชย ไร่ละ 12,190 บาท จำนวน 20 เท่า)

2.) โครงการฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่เลนงอกใหม่ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อให้ระบบนิเวศป่าชายเลนและสภาพแวดล้อมมีความสมดุลและอุดมสมบูรณ์โดยเร็ว เป็นกำแพงป้องกันการกัดเซาะของคลื่นลมในฤดูมรสุม เพิ่มพื้นที่ป่า เป็นต้น โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 เดือน ในพื้นที่บริเวณแนวชายฝั่ง ตำบลบางตะบูน บางตะบูนออก บ้านแหลม บางขุนไทร โดยทำการปักไผ่ชะลอความรุนของคลื่น ระยะทาง 20 กิโลเมตร วงเงิน 80.5 ล้านบาท ปลูกป่าชายเลน 625 ไร่ วงเงิน 3.9 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 84.49 ล้านบาท

3.) โครงการป้องกันและแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันตก เนื่องจากจังหวัดสมุทรสงครามจำเป็นต้องก่อสร้างแนวป้องกันโดยการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น ยาว 5,300 เมตร พร้อมทางเดินเท้า ยาว 1,000 เมตร ในพื้นที่ หมู่ 6,9 และ 10 ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง วงเงิน 47 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี

2.การบริหารจัดการขยะ ได้แก่ โครงการบริหารจัดการขยะจังหวัดสมุทรสงคราม เนื่องจากปัจจุบันมีขยะมูลฝอยที่เกิดจากประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวประมาณวันละ 185 ตัน หรือ ประมาณปีละ 67,844 ตัน ซึ่งมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มพื้นที่ ทั้ง 35 แห่ง ไม่มีสถานที่กำจัดขยะ โดยจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบสถานที่ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมจังหวัดสมุทรสงคราม จึงขอเสนอให้กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่นได้ให้คำแนะนำในการดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการขยะ

ดันภาคใต้ตอนล่าง Hub of Seafood

ด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว (Long stay) กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 สืบเนื่องจากนโยบายตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ซึ่งมีงบประมาณในการพัฒนาหมู่บ้านเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวโดยเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์ OTOP ทั้งนี้ หมู่บ้านเป้าหมายในกลุ่มจังหวัด ฯ ได้จัดทำโครงการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี 2561 เพิ่มเติมมาแล้ว จึงใคร่ขอให้รัฐบาลให้การสนับสนุนโครงการดังกล่าว

ด้านการค้า การลงทุนและการค้าชายแดน ได้แก่ นครแห่งครัวโลก ในด้านอาหารทะเล (Hub of Seafood) เนื่องจากปัจจุบันมีมูลค่าการส่งออกมากกว่า 1 แสนล้านบาท รวมทั้งเป็นตลาดกลางสินค้าสัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

“สำหรับข้อเสนอที่จะขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล มี 3 ประการ ประกอบด้วย 1.ยกระดับพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม 2.ยกระดับศูนย์บริการใบรับรองสินค้าประมงส่งออก (OSS) และ 3.ภาคเอกชนอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางพัฒนา ตลาดทะเลไทย สู่ศูนย์แสดงสินค้าและบริการด้านอาหารครบวงจร”

(2 การยกระดับจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขรเป็นจุดผ่านแดนถาวร

ทั้งนี้ ขอเสนอทั้งหมดจะนำเข้าสู่ที่ประชุมครม.สัญจรเพื่อพิจารณาในวันนี้ต่อไป