“AIS” ผนึก “ฟาร์มไพรวัลย์” เปิดศูนย์เรียนรู้ “เกษตรฟาร์มสุข”

“เอไอเอส” จับมือ “ฟาร์มไพรวัลย์” เปิดศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรฟาร์มสุขขึ้นเป็นที่แรกของเมืองไทย ด้วยแนวคิด “สอน เสริม สร้าง” บูรณาการองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น ด้วยการสร้าง ecosystem เพาะพันธุ์ young smart farmer ต้นแบบของภาคใต้ ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน พร้อมสร้างแพลตฟอร์ม Intelligent Farm (iFarm)

ทั้งยังคิดค้นนวัตกรรม IOT เพื่อให้เกษตรกรดูแลการเพาะปลูกให้สะดวกขึ้น ง่ายขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มผลผลิต และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยอย่างยั่งยืน

“วีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร” หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร เอไอเอส กล่าวว่า เราในฐานะ digital life service provider ที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัล และโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ภายใต้แนวคิด Digital for THAIs อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย ตลอดจนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างยั่งยืน พร้อมสนับสนุนให้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และกระบวนการทำงานรูปแบบเดิมให้มีความสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“โดยเฉพาะใน 2 กลุ่มหลัก คือ ภาคสาธารณสุข ผ่านแอปพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์ และด้านเกษตรกรรม ที่เอไอเอสร่วมกับพันธมิตรหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการเกษตรระดับท้องถิ่น เพื่อรับฟังปัญหา ร่วมค้นหาแนวทางแก้ไข จนนำไปสู่กระบวนการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อการเกษตรอย่างเป็นรูปธรรม ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรฟาร์มสุข นับเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรแห่งแรกของภาคใต้ ที่เอไอเอสร่วมกับฟาร์มไพรวัลย์ smart famer ผู้มีแนวคิดและหลงใหลในการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อการเกษตรแบบยั่งยืน”

“ปัจจุบันได้เรียนรู้ และทดลองทำแปลงปลูกผัก โรงเรือนเพาะปลูกเมล่อน และผักสลัดปลอดสารพิษ อยู่ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นวิถีการทำการเกษตรยุคใหม่ที่สอดคล้องกับแนวคิดในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรฟาร์มสุข ที่ใช้แนวคิด สอน-เสริม-สร้าง เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ผ่านการลงมือปฏิบัติงานจริงเข้ามาผสมผสานให้เกิดเป็น smart farm โดยเอไอเอส ในฐานะผู้เชี่ยวชาญในด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ด้วยการสร้างแพลตฟอร์ม IOT ภายใต้ชื่อ Intelligent Farm (iFarm) เพื่อเชื่อมต่อสมองกลอัจฉริยะ”

“ผ่านโครงข่าย AIS ไปยังอุปกรณ์ภายในฟาร์ม ช่วยให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการฟาร์มได้ง่าย และสะดวกยิ่งขึ้น โดยผ่านสมาร์ทโฟนได้ทุกที่ ทุกเวลา พร้อมกันนี้ยังร่วมกับ young smart farmer ในพื้นที่ร่วมศึกษา และพัฒนาต่อยอดด้วยการจัดเก็บข้อมูล สร้าง big data ให้พร้อมแปลงเป็นข้อมูลมาตรฐานด้านการเพาะปลูกและการเกษตรยุคใหม่ ที่นำไปสู่การเพาะปลูกที่ช่วยเพิ่มผลผลิต สามารถวางแผนการลงทุนได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และครบถ้วน ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำจนถึงปลายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างเครือข่าย ecosystem ให้ young smart farmer ทั่วประเทศ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากการปฏิบัติจริงซึ่งกันและกัน”

นับว่าน่าสนใจทีเดียว