เปิดหลักธรรมวันวิสาขบูชา “ความจริงที่ไม่ผันแปร” พุทธศาสนิกชนปฏิบัติได้ทุกที่ทุกเวลา

“วันวิสาขบูชา” วันสำคัญระดับโลก ตามติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ พุทธศาสนิกชนควรยึดหลักธรรมจากการ “ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน” ด้วยการกตัญญู-กตเวที ดำเนินกิจด้วยอริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ภายใต้ความไม่ประมาทในชีวิต อยู่ที่ไหนก็สามารถปฏิบัติได้

วันที่ 22 พฤษภาคม 2567 จากข้อมูลกระทรวงวัฒนธรรม ระบุว่า “วันวิสาขบูชา” เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา สำหรับชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก เป็นวันหยุดราชการในหลาย ๆ ประเทศ อีกทั้งยังเป็นวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ

เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ คือ ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธโคดม ซึ่งเกิดขึ้นตรงกัน ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือเป็นวันที่รวมเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า “วิสาขบูชา” ย่อมาจาก “วิสาขปุรณมีบูชา” หมายถึง “การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ”

หลักธรรมสำคัญในวันวิสาขบูชานั้น ล้วนเกี่ยวเนื่องกับการประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน นั่นคือ ความกตัญญู อริยสัจ 4 และความไม่ประมาท

ความกตัญญู คือ “รู้บุญคุณ” ต้องทำคู่กับ “กตเวที” ด้วย นั่นคือ การตอบแทนผู้มีพระคุณ

Advertisment

อริยสัจ 4 (จตุราริยสัจ) เป็นหลักคำสอนหนึ่ง แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ หรือความจริงที่ไม่ผันแปร ที่เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคนในโลกนี้ โดยมี 4 ประการสำคัญ ประกอบด้วย

1.ทุกข์ – ปัญหาของชีวิต
2.สมุทัย – เหตุแห่งปัญหา
3.นิโรธ – การแก้ปัญหาได้
4.มรรค – ทางหรือวิธีแก้ปัญหา

มรรคมีองค์ 8 ประการ
สัมมาทิฐิ – ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ – ความดำริชอบ
สัมมาวาจา – เจรจาชอบ
สัมมากัมมันตะ – กระทำชอบ
สัมมาอาชีวะ – เลี้ยงชีพชอบ
สัมมาวายามะ – พยายามชอบ
สัมมาสติ – ระลึกชอบ
สัมมาสมาธิ – ตั้งใจชอบ
ทั้งหมดรวมเรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” หรือ “ทางสายกลาง” นั่นเอง

Advertisment