RCEP สุดบูม เชื่อมโยงคู่ค้าเขตเศรษฐกิจใหม่กวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า GBA สู่อีอีซี

RCEP

ไทย-จีนเสริมแกร่ง โอกาสพัฒนา ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ (One Belt One Road) เดินหน้าใช้ประโยชน์ RCEP-เขตอ่าวเศรษฐกิจกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า ‘GBA’ เลขาฯอีอีซี ดึงการลงทุนจีนสู่ EEC ปั๊มยอด 60,000 ล้านเหรียญใน 5 ปี 

วันที่ 25 มิถุนายน 2566 งานประชุมนักธุรกิจจีนโลกครั้งที่ 16 (The 16th World Chinese Entrepreneur Convention หรือ WCEC) ได้จัดงานเสวนาหัวข้อ โอกาสพัฒนาจาก ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ (One Belt One Road) ด้วยการตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และเขตอ่าวเศรษฐกิจกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า  (GBA) 

นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการหอการค้าไทย-จีน กล่าวว่า ความร่วมมือในเขตพัฒนาเศรษฐกิจตะวันออก (EEC) มีผลเชื่อมโยงกับนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้น เพราะเป็นความร่วมมือกันทั้ง 2 ฝั่งระหว่างไทย-จีนที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยการเข้ามาของนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางจะเป็นการขยายโอกาสเติบโตของตลาดให้ใหญ่มากยิ่งขึ้น

 

EEC ความหวังเชื่อมไทย-จีน 

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) กล่าวว่า EEC เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจ 3 จังหวัดในประเทศไทย ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อเนื่องยาวนานกว่า 30 ปี โดยปัจจุบันรัฐบาลมีโจทย์ใหม่ที่ต้องนำโครงสร้างพื้นฐานที่ดีที่สุดในประเทศไทยมาใช้ในเขตเศรษฐกิจดังกล่าว เพื่อดึงอุตสาหกรรมเป้าหมายมาลงทุนในประเทศไทย 

Advertisment

เนื่องด้วยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยถือเป็นกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ใน 2 มหาสมุทร คืออินเดียกับแปซิฟิก หากมองในเชิงกายภาพ สามารถเชื่อมโยงกลุ่มประเทศได้ ไทยร่วมอาร์เซ็ป และอินโดแปซิฟิก หากนักลงทุนมาลงทุนในไทยจะสามารถใช้สิทธิการตกลงระหว่างประเทศ ทั้งความร่วมมือกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ถือเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด 

ดังนั้น จะใช้ EEC เป็นฐานลงทุนถือเป็นสปริงบอร์ดเพื่อขยายไปประเทศอื่นได้ โดยสามารถติดต่อกับจีนผ่านการขนส่งทางอากาศ ทางบก และทางน้ำ โดยไทยมีแผนขยายท่าเรือ 2 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือมาบตาพุด รวมถึงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเพื่อรองรับการเดินทางเข้าสู่เขตเศรษฐกิจ EEC ได้อย่างรวดเร็ว ผ่านรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้แก่ สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา ซึ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะยิ่งเสริมการลงทุนในเขตเศรษฐกิจนี้

นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายฉบับพิเศษที่จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการลงทุนในด้านของภาษีและการตั้ง promotional zone เพื่อเสริมสิทธิพิเศษต่าง ๆ และสร้างจูงใจการลงทุน รวมถึงมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านการอัพสกิลและรีสกิล เพื่อเตรียมพร้อมสร้างระบบนิเวศสำหรับการลงทุนอย่างครบวงจร และมีกองทุน EEC สำหรับช่วยเหลือชุมชนในพื้นที่เศรษฐกิจ EEC 

“โดยทั้ง 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก จะจัดเป็นกลุ่มใหม่เป็น 5 อุตสาหกรรมที่จะได้รับการสนับสนุน ได้แก่ การแพทย์และสุขภาพ เทคโนโลยีดิจิทัล ยานยนต์ไฟฟ้า เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) รวมถึงการขนส่งและการท่องเที่ยว ซึ่งมีเป้าหมายภายใน 5 ปี ว่าจะสามารถดึงการลงทุนให้ได้ 65,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ”

Advertisment

สิทธิประโยชน์ใน EEC 

นายจุฬากล่าวว่า ไทยได้มอบสิทธิพิเศษสำหรับนักลงทุนที่ลงทุนในเขตเศรษฐกิจ EEC ดังนี้ สิทธิประโยชน์เรื่องยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมยกเว้นอากรขาเข้า เครื่องจักร วัตถุดิบ รวมถึงพิจารณาสิทธิ์การเช่าที่ดินและราชพัสดุยาวนานถึง 99 ปี และอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการ 

นอกจากนี้ ยังได้รับวีซ่าในการทำงาน 5 ปี รวมถึงคู่สมรสและผู้ถูกอุปการะ พร้อมยกเว้นใบอนุญาตสำคัญต่าง ๆ เพื่อทำให้ง่ายต่อการจัดตั้งบริษัทและการลงทุน สุดท้ายคือการทำระบบ One-stop Service เพื่ออำนวยความสะดวกด้านบริการข้อมูลข่าวสารการขออนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการการค้า การส่งออก-นำเข้าในจุดเดียวแก่นักลงทุนภายในปีนี้

รวมถึงนักลงทุนสามารถจัดตั้งบริษัทในไทยด้วยทุนจดทะเบียนเป็นของจีนได้ 100% การตั้ง promotional zone ในพื้นที่สนามบินอู่ตะเภาเพื่อสร้าง airport city ซึ่งตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ตั้งมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแล้วทั้งสิ้นกว่า 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการลงทุนของไทย จีน และฮ่องกง โดยมีสัดส่วนลงทุนเป็น 55%,  11% และ 4% ตามลำดับ ทั้งนี้ ยังหวังว่าในอนาคตจะมีสัดส่วนการลงทุนเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเรื่องของยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

ไทย-จีน พี่น้องไม่ทิ้งกัน

ด้านนายชาญศักดิ์ ชื่นชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่วิศวกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเปลี่ยนโลกมีความสำคัญที่เชื่อมโยงโลกและเปลี่ยนวิธีคิดของโลกให้มีความร่วมมือกัน เชื่อมโยงทั้งด้านการเมือง ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการค้า ด้านการเงิน ตลอดจนด้านประชากรตลอดเส้นทาง 

“ดังนั้น การใช้การค้านำทางจะเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศ โดยเฉพาะในอ่าวเศรษฐกิจใหญ่ GBA ที่ในอนาคตจะมีการแข่งขันทางเทคโนโลยีจากการจดสิทธิบัตรมากมาย จึงควรมีการใช้เทคโนโลยีเสริมเข้าไป เพื่อพัฒนาสินค้าและใช้เส้นการมาช่วยด้านการค้า ที่นอกจากจะได้ผลประโยชน์ทางการค้าแล้ว ยังได้พันธมิตรและสร้างเครือข่าย ซึ่งคาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าจีนจะสามารถดึงศักยภาพให้สูงกว่าประเทศอื่นจากการทุ่มงบด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง”

โดยเขตเศรษฐกิจ EEC จะประสบความสำเร็จได้ด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ ตำแหน่งประเทศ ที่เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่อยู่ใกล้จีนมากที่สุด ทั้งทางบก ผ่านทางรถไฟจากจีนมาลาวแล้ว ซึ่ง ปตท.วางแผนส่งเสริมระบบรางให้สามารถเชื่อมต่อจากจีนไปสู่สิงคโปร์ ผ่านความร่วมมือกับเมืองฉงชิ่ง ซึ่งจะสร้าง และทางน้ำผ่านท่าเรือมาบตาพุดและแหลมฉบัง ส่วนอีกปัจจัยหนึ่งคือ ไทย-จีนมีความสัมพันธ์กันยาวนานทั้งทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ รวมถึงความพร้อมของไทยในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ทำให้ไทยเหมาะเป็นฐานการผลิตของจีน 

แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยต้องปรับตัวและมีความชัดเจนเรื่องของนโยบาย พร้อมสร้างมาตรฐานเปลี่ยนจาก made in China เป็น Chinese standard ภายในปี 2035 รวมถึงความพร้อมของผู้ประกอบการในการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามา

ฮ่องกงเชื่อมโลกตะวันออก-ตะวันตก

ด้านนายไช่ กวาน เซิน ประธานหอการค้าจีน-ฮ่องกง และประธานกรรมการบริหารบริษัท ซิงหัว กรุ๊ป กล่าวว่า นายไช่ กวาน เซิน ประธานหอการค้าจีน-ฮ่องกง ประธานกรรมการ บริษัท ซิงหัว กรุ๊ป กล่าวว่า จากการที่นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ได้ก่อตั้งโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง เกิดการพัฒนาและจับคู่ประเทศ ร่วมถึงเซ็นสัญญาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยการส่งออกจีนไปที่ยังแถบประเทศต่าง ๆ มูลค่ากว่า 13.8 ล้านล้านหยวน สร้างแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เป็นหนึ่งเดียว รวมถึงขยายความร่วมมือห่วงโซ่เศรษฐกิจสีเขียว เพื่อสร้างความมั่นคงฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก 

การพัฒนาโครงการ GBA ถือเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ตลาดต่างประเทศเข้าสู่ตลาดแผ่นดินใหญ่จีน ที่มีประชากรมากกว่า 86 ล้านคน ถือเป็นตลาดใหญ่ที่สุดมีการเติบโตติดอันดับ 2 ของโลก และกำลังพัฒนาเป็นเขตเทคโนโลยีแห่งโลก ทั้งด้านพลังงานใหม่ เทคโนโลยีเอไอ เครื่องจักร ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนทั่วโลกหันมาลงทุนในจีน 

“ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ยึดมั่นให้เปิดกว้าง ให้มีนโยบายการนำเข้า ส่งออก การเงิน การเสียภาษี มีการเงินหมุนเวียนที่เสรีภาพ มีบริการระดับนานาชาติ เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีความสามารถแข่งขันที่แข็งแกร่ง เชื่อมโยงทั้งตะวันออกและตะวันตก”

ฮ่องกงศูนย์กลางการเงินโลก

อย่างไรก็ตาม ฮ่องกงจะเป็นศูนย์กลางพัฒนาเศรษฐกิจโลก จากการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันด้วยการเข้าร่วมลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) หรือ RCEP เพื่อสร้างระเบียบการเงินให้เหมาะสมกับทุกฝ่ายที่ร่วมพัฒนา 

โดยจุดเด่นของฮ่องกงจะมีเศรษฐกิจเสรี เก็บภาษีต่ำ เรียบง่าย กฎหมายที่ดี โครงสร้างพื้นฐานที่สะดวกสบาย เป็นประตูสู่แผ่นดินใหญ่จีนทางภาคใต้เพื่อให้ต่างชาติมาตั้งรากฐาน ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศแบบคู่ขนาน ตอบโจทย์นักลงทุน บริการอย่างเท่าทัน และใช้จุดแกร่งขยายพาร์ตเนอร์ส่งเสริมซึ่งกันและกัน 

นอกจากนี้ ฮ่องกงเป็นศูนย์การเงินของโลก ซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่สุดของสกุลหยวน โดยใช้จุดเด่น สนับสนุนโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง หนุนการลงทุนต่างประเทศ ช่วยระดมทุนและตอบโจทย์ประกันภัย สร้างช่องทางการเงินที่ดีให้กับนักลงทุนต่างประเทศ

รวมถึงการเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมเบอร์ต้นของโลก อาทิ ด้านโทรคมนาคม การแพทย์ อาร์แอนด์ดี การเกษตร เป็นต้น รวมถึงเชื่อมโยงให้บริษัทลงทุนทั้งในอาเซียน และจีน เพื่อสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค 

เจิ้งโจว เมืองแห่งการลงทุน

นายเหอ สง ผู้ว่าการเมืองเจิ้งโจว กล่าวว่า เจิ้งโจวมีการเชื่อมโยงด้วยทางรถไฟที่สะดวกสบาย โดยมีพื้นที่ 7,500 กิโลเมตร มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) มูลค่า 7,000 ล้านล้านหยวน มีสภาพแวดล้อมที่ดี อย่างแม่น้ำฮวงโหที่สำคัญ จึงกลายเป็นศูนย์กลางคมนาคมสำคัญของจีน โดยเฉพาะสนามบิน 

นอกจากนี้ ยังมีพื้นฐานพัฒนาอุตสาหกรรมที่ดี มีการพัฒนาเทคโนโลยี โดยหนึ่งในส่วนครึ่งหนึ่งมือถือของจีน โดยปัจจุบันได้ร่วมผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) กับเครือ CP ในไทย โดยอุตสาหกรรมหลักมีทั้งอาหาร วัตถุดิบทางด้านอุตสาหกรรม และมีบริษัทตัวแทนลงทุนต่างประเทศ ทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย และยุโรป รวมถึงยังมีธุรกิจบริการอีกด้วย 

“เมืองเจิ้งโจวช่วยส่งเสริมการเชื่อมต่อทั้งบน อากาศ ทะเล และบก ปัจจุบันมีการค้าขายทางรถไฟกับไทย มีบุคลากรเยอะที่สุด และมีเยาวชนนักศึกษาจบใหม่อันดับต้น ๆ ของจีน ปัจจุบันก็ร่วมกับไทยลงทุนที่ภูเก็ต และร่วมกับซี.พี.ผลิตรถยนต์ ส่งผลไม้ไทยไปจีน จึงหวังว่าจะมีการพัฒนาร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมืองเจิ้งโจวถือเป็นเมืองอุตสาหกรรม วัฒนธรรม และสุขภาพ เพราะมีทรัพยากรท่องเที่ยว โบราณ ภูเขา และแม่น้ำ นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวถือว่ามีจำนวนติดอันดับท็อป 10”