5 ปัจจัยในอุตสาหกรรมอาหารพร้อมทาน ที่เจ้าของธุรกิจต้องรับมือ

อาหารพร้อมทาน
คอลัมน์ : สมาร์ทเอสเอ็มอี กรุงศรี
ผู้เขียน : ดวงกมล ลิมป์พวงทิพย์, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปประเภทอาหารพร้อมทานเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องตามการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกเป็นสำคัญ จากรูปแบบการใช้ชีวิตและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค การเข้าสู่สังคมสูงวัยของประชากรที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก วิถีชีวิตของคนเมืองและการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

อุตสาหกรรมอาหารพร้อมทานทั่วโลกมีมูลค่า 15.21 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2021 และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตต่อปีที่ 17.4% ตั้งแต่ปี 2022 ถึง 2030 ความต้องการบริโภคในประเทศคาดว่าจะมีมูลค่าเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ย

10-12% ต่อปี โดยอาหารพร้อมทานแช่เย็นมีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 11-12% ต่อปี และมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี ซึ่งปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตของตลาดมาจากกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนียล และ Gen Z เป็นกลุ่มผู้บริโภคหลักที่มีความพึงพอใจในการทำอาหารที่ปรุงเองที่บ้าน

เนื่องจากประหยัดกว่าเมื่อเทียบกับการซื้อกลับบ้าน รูปแบบการทำงานที่ทำให้ไม่มีเวลาเตรียมและปรุงอาหารจึงต้องการความสะดวกสบาย มีผลิตภัณฑ์และเมนูต้นตำรับที่มีความหลากหลายน่าลิ้มลอง รวมถึงการออกผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มได้ดีมากขึ้น

การปรับกลยุทธ์ธุรกิจของผู้ผลิตในตลาดหลักเพื่อสร้างความแข่งขัน

Advertisment

-แนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภค

แนวโน้มผู้บริโภควัยทำงานรุ่นใหม่จะสนใจอาหารพร้อมทานที่อยู่ในรูปอาหารทานเล่นที่ดีต่อสุขภาพ มีสารอาหารครบถ้วน โปรตีนสูง พกพาสะดวกและสามารถรับประทานขณะเดินทางได้ แนวโน้มผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานที่นิยมในอีก 5 ปีข้างหน้าของตลาดโลก พฤติกรรมของผู้บริโภคจะใส่ใจการดูแลสุขภาพมากขึ้น

เน้นผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานที่มีความสดใหม่ คุณภาพสูงและแปรรูปน้อย กระบวนการผลิตต้องเป็นมิตรต่อแรงงาน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ปลอดสารปรุงแต่ง การได้รับประทานอาหารที่สด ใหม่ สะอาด และดีต่อสุขภาพ สามารถปรุงเองที่บ้านเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ใส่ใจสุขภาพ หรือผู้ที่ต้องรับประทานอาหารพิเศษ เช่น อาหารมังสวิรัติ อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก และอาหารสำหรับผู้ป่วย เป็นต้น

-บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก

Advertisment

คนกลุ่ม Gen Z คือกลุ่มผู้บริโภคหลักที่ทำอะไรก็จะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การรีไซเคิล หรือการนำกลับมาใช้ซ้ำและคุณค่าของการใส่ใจในสิ่งแวดล้อม ซึ่งแสดงออกมาผ่านพฤติกรรมการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์
โดยต้องพยายามหลีกเลี่ยงบรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติกหรือโฟมที่จะใช้สําหรับชุดอาหาร ในปี 2023 คาดว่าอุตสาหกรรมชุดอาหารมีแนวโน้มที่จะทําการเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค

-มีความเชี่ยวชาญด้านอาหาร

มุ่งเน้นไปที่อาหารเฉพาะกลุ่ม เช่น อาหารออร์แกนิก อาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์ 100% เน้นการทานพืชผักเป็นหลัก (vegan) อาหารคีโต เป็นต้น รวมถึงการเชิญพ่อครัวที่มีชื่อเสียงมาร่วมพัฒนาสูตรอาหารที่ดีต่อสุขภาพร่วมกัน

-เปลี่ยนแนวทางกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจมาร่วมลงทุนกับ Startups

การร่วมลงทุนกับบริษัท startups ในกลุ่มตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และไอเดียใหม่ ๆ ร่วมกัน เช่น การออกผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานเฉพาะกลุ่มอายุ ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุและเด็ก เป็นต้น

-การใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค

การใช้เทคโนโลยีที่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานที่มีคุณภาพสูง คงความสดให้มากที่สุด รวมถึงมีการใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดสารสังเคราะห์แต่งสี กลิ่น รสชาติ สารกันเสีย (clean label) มีคุณค่าทางโภชนาการ หรือการใช้เทคโนโลยีที่ไม่ใช้ความร้อน (nonthermal process) การใช้เทคโนโลยีไมโครเวฟ (microwave) เป็นต้น

เพื่อส่งผลให้ยืดอายุผลิตภัณฑ์อาหารได้นาน โดยคงคุณค่าทางโภชนาการสีและรสชาติคงเดิม และรักษาความสดใหม่ธรรมชาติไว้ได้ ผู้ผลิตรายใหม่ ๆ มีสูง เนื่องจากผู้ผลิตรายใหม่สามารถเข้าตลาดได้ง่าย

การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs เพื่อหาช่องทางการตลาดที่มีสภาวะการแข่งขันที่สูง เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถแข่งขันและรับมือในตลาดหลักของการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานเพื่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะในภาวะที่ยังมีความเสี่ยงของโรคระบาด

จึงต้องเร่งยกระดับความสามารถในการผลิตผลิตภัณฑ์ให้มีเมนูและรสชาติใหม่ ๆ มีความเป็นธรรมชาติทำให้ผลิตภัณฑ์ยังคงความสดใหม่ให้ได้มากสุด จึงต้องมีนวัตกรรมการเก็บรักษาอาหารพร้อมทานให้คงรสชาติและรูปลักษณ์เสมือนอาหารปรุงสดใหม่ที่มีความหลากหลายเพื่อดึงดูดผู้บริโภค รวมถึงการแข่งขันกับอาหารทดแทนอื่น ๆ ที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น

จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงของผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องเผชิญและรับมือด้านการแข่งขันไม่มากก็น้อย