เปิดวิธีคำนวณค่าใช้จ่าย “รีไฟแนนซ์” บ้าน คุ้มภาระดอกเบี้ยลดลงหรือไม่

ดอกเบี้ยบ้าน

ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดวิธีคำนวณค่าใช้จ่าย “รีไฟแนนซ์” สินเชื่อบ้าน ก่อนตัดสินใจย้ายธนาคาร เพื่อลดภาระดอกเบี้ยคุ้มหรือไม่

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แนะนำวิธีการลดภาระดอกเบี้ยบ้านผ่านการ “รีไฟแนนซ์” ซึ่งเป็นทางเลือกที่คนมีบ้านมักจะใช้ โดยมองหาธนาคารใหม่ที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า อย่างไรก็ดี ต้องคำนวณก่อนว่าคุ้มค่าหรือไม่ ซึ่ง ศคง.แนะนำดังนี้

การรีไฟแนนซ์คือการ “เปลี่ยนเจ้าหนี้” หรือไถ่ถอนหนี้จากผู้ให้สินเชื่อเดิม เพื่อมาขอกู้จากผู้ให้สินเชื่ออีกแห่งหนึ่งแทน ซึ่งเหตุผลส่วนใหญ่ในการรีไฟแนนซ์ก็คือ ผู้ให้สินเชื่อมักเสนอดอกเบี้ยต่ำในช่วงปีแรก ๆ การไปเริ่มกู้กับธนาคารแห่งใหม่เมื่อหมดช่วงเวลาที่ได้ดอกเบี้ยต่ำแล้วมักจะได้ดอกเบี้ยที่ถูกลง จึงมีการนำเสนอให้ผู้ขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์ หรือไถ่ถอนหนี้จากผู้ให้สินเชื่อเดิม เพื่อมาขอกู้จากผู้ให้สินเชื่ออีกแห่งที่เสนอจะลดอัตราดอกเบี้ย หรือมีข้อเสนออื่น ๆ มาจูงใจ

อย่างไรก็ตาม ก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์ เราควรคำนวณให้ดีก่อนว่าคุ้มหรือไม่ โดยเปรียบเทียบว่าเงินที่ประหยัดได้จากดอกเบี้ยที่ลดลงมากกว่าหรือน้อยกว่าค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการที่ต้องเริ่มกระบวนการพิจารณาสินเชื่อใหม่ทั้งหมด เช่น

ค่าจดจำนองหลักประกัน
1.ค่าใช้จ่ายในการประเมินมูลค่าหลักประกัน
2.ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำประกัน
3.ค่าปรับให้แก่เจ้าหนี้เก่า ในกรณีที่ยุติการกู้ก่อนระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา

หากพบว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูง หรือเสียเวลาในการดำเนินการมาก แต่ช่วยให้ประหยัดเงินได้น้อย การใช้บริการผู้ให้สินเชื่อเดิมอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

ตัวอย่าง การประมาณการเพื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ เพื่อประเมินเบื้องต้น ก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์

นาย ก ได้กู้เงินซื้อบ้านจากธนาคาร A เป็นเงิน 2,200,000 บาท โดยกู้มาแล้ว 2 ปี ขณะที่เงินต้นคงเหลือ 2,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยที่จ่ายอยู่เดิมคือ 7% โดยนาย ก กำลังตัดสินใจว่าจะรีไฟแนนซ์ไปธนาคาร B ซึ่งจะคิดอัตราดอกเบี้ย 3% เป็นเวลา 3 ปี หลังจากนั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (ให้สันนิษฐานว่าหลังจากหมดโปรโมชั่นแล้วจะใช้อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ซึ่งเท่ากับอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินเดิม) แต่นาย ก ต้องจ่ายค่าปรับเป็นจำนวนเงิน 3% ของยอดคงค้าง เพราะเพิ่งจะกู้ไม่ถึง 3 ปี

ตารางรีไฟแนนซ์บ้าน