อัพเดตธีมลงทุน EV car รับเทรนด์ยานยนต์ไฟฟ้ามาแรง

อัพเดตธีมลงทุน EV car รับเทรนด์ยานยนต์ไฟฟ้ามาแรง กับ “ชยนนท์ รักกาญจนันท์” ประธานเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท หลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนฟินโนมีนา จำกัด

วันที่ 11 กันยายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระแสรถยนต์ไฟฟ้าในปีนี้มาแรงมาก ๆ เพราะว่าถ้าใครออกไปใช้รถใช้ถนนในช่วงนี้อาจจะเห็นจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งก็มากจากเทรนด์การรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือ ESG รวมถึงราคาพลังงานที่ยังแพงอยู่

โดย Prachachat Wealth  EP.นี้ เราจะพามาร่วมอัพเดตธีมการลงทุน EV car กับทาง “ชยนนท์ รักกาญจนันท์” ประธานเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท หลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนฟินโนมีนา จำกัด

Q : ปัจจุบันทางฟินโนมีนามีมุมมองเกี่ยวกับการลงทุนในธีม EV car นี้อย่างไรบ้างในปีนี้และก็ในอนาคต

ปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีมุมมองเชิงบวกในการเติบโตของเทรนด์ของ  EV car ในระยะยาว ประกอบไปด้วยอะไรบ้างเหตุผลของมันนะครับ ผมคิดว่ามีด้วยกันอยู่ทั้งหมด 3 Bullet point ด้วยกัน

Bullet point ที่ 1 ก็คือความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามันไม่ใช่แค่เฉพาะในไทยมันเกิดขึ้นทั่วโลก ถามว่ามันเกิดจาดอะไรทำไมความต้องการของ EV car ถึงเกิดมากขึ้นเรื่อย ๆ ผมคิดว่ามันเกิดมาจาดเรื่องแรกก็คือเรื่องความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมและก็เรื่องมลพิษที่เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine : ICE) ก่อให้เกิดตัวคาร์บอนและก็เกิดภาวะโลกร้อนและก็กลายเป็นกระแสการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) หรือเป็นเรื่องของลมฟ้าอากาศสุดโต่ง (Extreme weather) ที่บอกว่าทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล

Advertisment

ซึ่งทำให้ผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกไม่ว่าจะประเทศไหน ๆ ให้ความสนใจเรื่องนี้ และก็มันจึงนำมาซึ่งข้อตกลงเขาเรียกว่า Paris Agreement ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เทรนด์เรื่อง EV มันไม่ใช่เทรนด์แค่ของผู้บริโภคเท่านั้นแต่รัฐบาลก็ให้การสนับสนุนทั่วโลกด้วยเช่นเดียวกัน

Bullet point ที่ 2 ก็นำมาซึ่งก็คือจึงเป็นที่มาที่ว่ารัฐบาลสนับสนุนในการใช้รถยนต์ EV car วิธีการสนับสนุนก็อย่างเช่น ลดภาษีสรรพสามิต มีการให้เงินอุดหนุนสำหรับใครที่ซื้อ รถยนต์ EV car ไปหรือว่าตั้งเป้าหมายยอดขายรถยนต์ EV หรือรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้เป็นสัดส่วนอาจจะให้เท่ากับหรือเทียบเท่าเป็นสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ภายในระยะเวลา 5-6 ปีข้างหน้าหรือ 10 ปีข้างหน้าก็แล้วแต่ประเทศ

Bullet point ที่ 3 ก็คือการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้าน EV ต้องบอกว่ามันเร็วและมีประสิทธิภาพมาก ๆ โดยเฉพาะการแตกไลน์ตัวโซ่อุปทานโลก (Global Supply Chain) ในเรื่องของเซมิคอนดักเตอร์มันทำให้จีนเองไม่ได้พึ่งพาการผลิตเซมิคอนดักเตอร์จากเจ้าอื่นและหันมาผลิตเอง และด้วยความที่ขนาดของรถมันใหญ่ เมื่อรถมันใหญ่ตัวทรานซิสเตอร์ หรือว่าตัวเซมิคอนดักเตอร์มันไม่จำเป็นต้องเล็กขนาดที่เอาไปใส่ในสมาร์ทโฟน

ซึ่งจีนเรียกว่ามีศักยภาพในการทำสิ่งที่เขาทำมาตลอดเรียกว่า Copy and Development มันก็เลยเป็นที่มาที่ว่าจีนก็สามารถที่จะเร่งเข้าสู่กระบวนการที่เรื่องว่าเทคโนโลยี EV car ได้เร็ว พอสปีดของจีนเร็วขึ้นมันก็เลยทำให้ผู้นำยานยนต์ในเครื่องยนต์สันดาปแบบอื่น ๆ ต้องหันและพันตัวตามมา นี่คือ 3 Bullet point ที่มันทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่รถยนต์ไฟฟ้าจะอยู่บนถนนมากขึ้น

Advertisment

Q : หากย้อนดูไป 1 ปีที่แล้วจะเห็นว่ามันติดลบค่อนข้างเยอะ ปีที่แล้วมีปัจจัยอะไรทำให้กลุ่มนี้มันติดลบ

ภาพใหญ่ของธีม EV car มันคือธีมที่เรียกว่า Green energy หรือ Clean energy คือพลังงานสะอาด ธีมพลังงานสะอาดมาพร้อมกับคุณโจ ไบเดน ตอนที่เขาได้ตำแหน่งประธานธิบดีตอนชิงกับคุณโดนัลด์ ทรัมป์ เพราะว่าคุณโจ ไบเดน คือเขาสานฝันเขามีลูกชายคนหนึ่งซึ่งเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ว่าลูกชายคนนี้ทำหน้าที่แล้วก็อุทิศตัวเองเพื่อที่จะรักษ์โลกและสิ่งแวดล้อม พยายามที่จะทำทุกอย่างเพิ่อโปรโมต Green energy

ซึ่งโจ ไบเดน ก็ถึงขั้นเอาแผนตัว Infrastructure เอาเข้ามากำหนดกลยุทธ์เป็นแผนเศรษฐกิจระยะยาวของสหรัฐ แต่จังหวะมันไม่ได้ก็ตรงที่ว่าโควิด-19 มันมา คือเราเร่งแค่ว่าจะเอาแผนพลังงานสะอาดระยะยาวมาแต่เมื่อมันยังไม่ถึงจุดคุ้มทุน และด้วยความมันเกิดอุปสรรคแน่ ๆ ที่ว่าหลายประเทศล็อกดาวน์กันเกิดขึ้นมามันทำให้แผนนี้มันถูกลากและดีเลย์ออกไปมันจึงทำให้มีการปรับฐานลงมานี่คือเหตุผลเรื่องที่หนึ่ง

เหตุผลเรื่องที่สอง ก็คือว่าปี 2022 (2565) เป็นปีที่จีนปิด ๆ เปิด ๆ เมืองเยอะมาก ๆ จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเรารู้อยู่แล้วว่ามาร์เก็ตแคปของตัว  EV car เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อมันชะลอลงมันเลยส่งผลให้ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้ามีลดลงด้วย

เรื่องต่อมาก็คือว่า มันเริ่มมีการแข่งขันที่รุนแรงของข้างในผู้ผลิตในจีนเองเราจะเห็นว่าแบรนด์รถยนต์ฟ้าที่อยู่จีนเองมันมีจำนวนเยอะเลย ไม่ว่าจะเป็น BYD ไม่ว่าจะเป็น NEO ไม่ว่าจะเป็น Xiaopeng และผู้ผลิต EV ที่เรียกว่า Eco car จำนวนเล็กมีจำนวนมาก เมื่อมันแข่งกันจำนวนมากมันก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดคำว่า Price war คือแข่งขันกันด้านราคา เมื่อแข่งขันกันด้านราคา มาร์จิ้นที่เคยคิดว่าจะได้เท่านี้มันก็ยิ่งลดลงอาจจะยังขาดทุนอยู่ด้วยซ้ำไป มันทำให้นักวิเคราะห์และนักลงทุนประมาณการณ์ว่าถึงยอดขายจะโตขึ้นแต่กำไรไม่โตตามแล้วผู้ถือหุ้นจะได้อะไรก็เลยมีแรงเทขาย

เรื่องสุดท้ายก็คือในช่วงที่ผ่านมาพอมันมีเรื่องสงครามการค้า (Trade war) มันมีเรื่องราคาแบตเตอรี่ที่เพิ่มมากขึ้น ราคาแบตเตอรี่เขาบอกว่าโครงสร้างต้นทุนของการผลิตรถยต์ EV แบตเตอรี่คิดเป็นต้นทุน (Cost) แถว ๆ สักประมาณ 50-70% เมื่อราคาต้นทุนของแบตเตอรี่มันเพิ่มขึ้น มันก็เลยผลักทำให้ตัวต้นทุนในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสูงขึ้น มองแบบนี้ครับเบสคือต้นทุนในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสูงขึ้นแต่ในขณะที่ตลาดเล่น Price war มารจิ้นก็ยิ่งบางกันไปใหญ่ มันก็เลยทำให้ตลาด EV ในภาพรวมของปี 2022 จึงแรงเทขายออกมาเยอะ

Q : สำหรับใครที่มีความสนใจจะลงทุนในธีม EV car เราแนะนำยังไงบ้างทั้งกองทุนและหุ้นด้วย

เวลาเราเรียกกันว่า EV car นักลงทุนอาจจะไปมองว่าเราต้องไปซื้อหุ้นหรือไปลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ผู้ผลิต EV แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่เรามี Supply Chain มันมีธุรกิจที่อยู่ต้นน้ำ กลางน้ำและก็ตัวผู้ผลิตรถยนต์คือมันอยู่ที่ปลายน้ำแล้ว ต้นน้ำมีใครบ้าง ก็คือผู้ที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเรื่องผลิตวัตถุดิบ เช่น พวกโลหะ, พลาสติก, ยาง, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แบตเตอรี่พวกนี้คือได้ประโยชน์จากการที่ EV มันเติบโตขึ้นแน่นอน กลางน้ำคือผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างเช่น มอเตอร์, อินเวอร์เตอร์, แผงโซลาเซลล์, ระบบชาร์จไฟ พวกนี้ได้ประโยชน์ด้วยเช่นเดียวกัน

และก็ธุรกิจปลายน้ำของตัว EV car ก็คือผู้ผลิตรถยนต์อันนี้เรารู้กันอยู่แล้ว, ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ หรือจริง ๆ แล้วมีอีกคนหนึ่งที่น่าสนใจคือผู้ให้บริการสถานีชาร์จ ซึ่งเราเห็นสถานีชาร์จในปัจจุบันเราอาจจะมองว่าเยอะแล้วแต่เพื่อให้ Ecosystem ของตัว EV car มันสามารถซัพพอร์ตประเทศนั้น ๆ ที่เรามีอยู่สำหรับผมคือยังไม่ถึง 10% ด้วยซ้ำไป คราวนี้ถ้าเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในโลกนี้อันดับหนึ่งในแง่ของทั้งยอดขายและในแง่ของทั้งกำไรตอนนี้ก็คือ เทสลา (Tesla)

อันดับสองถ้าลงมาดูในแง่ของจำนวนยอดขายจริง ๆ แล้ว BYD ยอดขายของรถทุกซีรีส์รวมกันมากกว่าเทสลาไปแล้วแต่ถ้าในแง่ของมาร์เก็ตแคป BYD ยังเล็กกว่า ถ้าคุณบอกว่าไหนว่ามันมีพวกหุ้นผู้ผลิตรถยนต์ที่เป็นเครื่องยนต์สันดาปที่กำลังจะเปลี่ยนตัวเองมาเป็น EV และพวกนี้ราคาหุ้น (Valuation) ถูกมาก ๆ คือตลาดให้ราคาหุ้น EV แพงหูฉี่เลยแต่กับผู้ผลิตเดิม ๆ อย่างเช่น พวก Volkswagen, GM หรือว่า FORD พวกนี้ให้ P/E ให้ Book value ต่ำมาก ๆ ธีมการลงทุนที่มันเป็นเฉพาะเจาะจงแบบนี้ที่ไม่ได้ไปลงทุนกระจาย Diversity ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม เราถือว่าธีมแบบนี้เรียกว่า Thematic Investment

Thematic Investment ถ้าตาม PlayBook เลยเราไม่ควรจะลงสัดส่วนในธีมใดธีมหนึ่งมากกว่า 10% ของพอร์ตเกินไป แต่ถ้าไม่แนะนำตามตำรามันก็ต้องบอกว่าเราเห็นนักลงทุนหลาย ๆ คนประสบความสำเร็จด้วยการไม่ใช่กระจายความเสี่ยงแต่ว่าลงทุนในอุตสาหกรรมหรือว่าธุรกิจที่ตัวเองเชื่อมั่นมาก ๆ แล้วผมคิดว่าธีม EV มันมีหลาย ๆ หุ้นหลาย ๆ ตัว

“ผมเชื่อว่ามันจะเป็นหุ้นที่อาจจะสามารถเติบโตระดับ 10 เด้งขึ้นไปแล้วสามารถสร้างผลตอบแทนที่เปลี่ยนชีวิตคุณได้เหมือนกัน แต่จำเป็นนะที่จะต้องก็คือหาความรู้ให้เวลากับมันและศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด ซึ่งถ้าทำได้ไม่มากพอก็ย้อนกลับมา Diversity ในระดับไม่เกิน 10% ของพอร์ต” นายชยนนท์กล่าว