ของดีต้องมีกลิ่นบ้าง! ผู้ผลิตชี้ อย่าบังคับไม่ให้ปลาร้าไม่มีกลิ่นเพราะใช้สารเคมี

ผู้ผลิตปลาร้ายืนยันยังไงก็ต้องมีกลิ่น อย่าบังคับไม่ให้ปลาร้าไม่มีกล่ิ่นเพราะใช้สารเคมี

แม่หวานปลาร้าบองเผยรับได้กับการควบคุมปลาร้า เพราะทำให้ประชาชนเชื่อมั่นมีผลทางด้านการตลาดและการจำหน่ายได้ แต่ยืนยันว่าก็เป็นไปไม่ได้ที่ปลาร้าจะไม่มีกลิ่น เพราะผิดธรรมชาติ และยืนยันว่าของแท้ที่ถูกสุขลักษณะและถูกหลักอนามัย จะต้องมีหนอน แต่เป็นหนอนแมลงหวี่ ที่ ไม่ใช่หนอนแมลงวันจึงจะผ่านการรับรองจาก อย.เพราะคือสิ่งบ่งชี้ว่าปลอดภัยจากสารพิษ สารเคมีและยาฆ่าหนอน ซึ่งอย.จะไม่อนุญาต ในขณะที่เจ้าของโรงงานปลาร้าหมักขวดขาย กล่าวว่า กรรมวิธีการทำปลาร้าเปลี่ยนไปแล้ว แต่การบังคับด้านกลิ่นที่คือธรรมชาติของปลาร้า จะเป็นการบังคับให้การผลิตหันไปใช้สารดับกล่น และสารเคมีที่กระทบเป็นอันตรายกับผู้บริโภคให้ ควรทบทวนส่วนนี้ให้ชัดเจน เพราะกระทบและฝืนความรู้สึกของทั้ง 28 กลุ่มอาชีพชุมชนของจังหวัดร้อยเอ็ด ที่จะต้องถูกบังคับให้ใช้สารเคมีดับกลิ่นซึ่งเป็นอันตราย ฝืนความรู้สึกของผู้ผลิต ที่จะส่งผลกระทบด้านความปลอดภัยของผู้บริโภค

นางจันถวา พูนเพิ่ม อายุ 60 ปี เจ้าของ สินค้า แม่หวาปลาร้าบอง ถนนเทวาภิบาล คุ้มวัดเวฬุวัน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งทำปลาร้าบอง และสินค้าด้านปลาร้า มาตั้งแต่ปี 2542 ด้วยการทำปลาร้า เป็นอาชีพ ที่ลงมือด้วยตนเอง ทั้งหมดเองถอดเกล็ด ปาดไส้ ก่อนทำการหมักเป็นเวลา 6 เดือน ด้วยกรรมวิธีใส่รำข้าวใส่สับปะรดเพื่อลดความเค็ม ลดกลิ่นเหม็นทำให้เนื้อปลานุ่มอร่อยก่อนแปรรูปเป็นปลาร้าบอง ปลาร้าหมัก ปลาร้าผง น้ำปลาร้า เพื่อจำหน่าย ยืนยันว่า การที่มีการออกระเบียบ ไม่ให้ปลาร้ามีกลิ่น เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะโดยธรรมชาติ ปลาร้าต้องมีกลิ่น แต่ปัจจุบันกรรมวิธี ที่ใช้ทำ ไม่ได้มีกลิ่นน่ารังเกียจเมื่อในอดีต ที่พ่อค้า นายทุนทำ แต่เป็นกลุ่มชาวบ้านทำกันเอง ทั้งบริโภค ทั้งการขาย จึงต้องเน้นที่ความสะอาด ถึงจะไม่มีกลิ่นก็เป็นกลิ่นหอม ที่รับได้ และก็ผ่านการรับรอง จากอย. ที่มาสุ่มตรวจทุกเดือน จึงยืนยันว่า ยังไงเสียปลาร้าก็ต้องมีกลิ่น แต่ไม่ใช่กลิ่นเน่าเหม็นเหมือนเดิม ในขณะที่ ส่วนหนึ่งของปลาร้า ยังไงเสียก็ต้องมีหนอนปรากฏที่ปากโอ่ง ซึ่งคือการยืนยันว่า เป็นการทำตามคำวิธีที่ถูกต้องปลอดภัย พระทุกองค์จึงต้องมีหนอน จึงจะผ่านการยอมรับ และอนุญาต ให้ผลิตจำหน่ายได้ ซึ่งนอนปัจจุบัน ก็ไม่ใช่หนอนแมลงวัน ที่ตัวใหญ่ๆเหมือนเดิม แต่เป็นหนอนแมลงหวี่ ตัวเล็กๆ ซึ่งคือหนึ่งในการยืนยันว่า ผ่านกรรมวิธีที่ปลอดภัย ไม่มีการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง เข้ามามีส่วนในการผลิต จึงผ่านการรับรองจากอย ให้จำหน่ายได้ และเป็นที่ยอมรับ ทั้งจำหน่ายหน้าบ้าน มีรายได้เฉลี่ยวันละ 1,000 บาทขึ้น

นอกจากนั้น ยังเป็นที่ยอมรับ วางจำหน่าย ในห้างสรรพสินค้าดังๆ ทั้งจังหวัด สร้างรายได้ จากห้างสรรพสินค้า ประมาณเดือนละ 10,000 ถึง 15,000 บาท ได้สบายสบาย และยืนยันว่า ตนเองเห็นด้วย กับการเข้ามาควบคุม เพราะจะได้มีความเป็นมาตรฐาน ความสะอาด ถูกหลักอนามัย สร้างความสบายใจให้กับผู้บริโภคได้ แต่ไม่เห็นด้วย หากจะควบคุม ไม่ให้ ปลาร้า ไม่มีกลิ่นเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ควรจะมีการทบทวนเรื่องกลิ่น ก็น่าจะดี และเป็นที่รับได้ ของคนที่มีอาชีพ ทำปลาร้าขาย โดยถูกต้องตามหลักอนามัย ภายใต้การควบคุมของ อย. ที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลอยู่แล้ว ซึ่งการอนุญาตให้ผลิต จำหน่ายได้ อย.ก็ไม่ได้เน้น เรื่องกลิ่น แต่เน้นเรื่องความสะอาด ถูกหลักอนามัย ที่มีการตรวจทุกเดือนอยู่แล้ว เป็นหลัก ก็น่าจะถือว่าเพียงพอแล้ว

ทางด้านนางจันทร์เพ็ญอากาศอายุ 38 ปี เจ้าของปลาร้า บรรจุขวด หมู่ 5 บ้านคุ้มใต้ ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ เจ้าของปลาร้าบรรจุขวด แซ่บอีสาน กล่าวว่า ได้ข่าว การออกมาตรการควบคุมกลิ่นของปลาร้า ตนเองไม่เห็นด้วย และคนที่ออกกฎหมาย คงไม่เข้าใจ และยึดติดกับภาพการผลิตเดิมเดิมๆ แบบบ้านๆ ของชาวบ้าน ที่ทำง่ายๆ หมักใส่ถัง ที่ไม่สะอาด จึงเกิดกลิ่น ลักษณะปลาเน่า ที่ปัจจุบัน เกิดการเปลี่ยนแปลง ด้านการผลิต เพื่อการบริโภค เพื่อการจำหน่าย แบบรัดกุมมากยิ่งขึ้น อย่างเช่นของตน ทำด้วยกำวิธี มีหม้อต้มฆ่าเชื้อ เครื่องจักรบรรจุขวด เครื่องจักตอกฝา ที่สะอาดถูกหลักอนามัย ผ่านทั้ง ฮาลาล ผ่าน อย. GMP และเป็นสินค้าโอทอป ซึ่งเป็นที่ยอมรับ ยืนยันว่า กลิ่น คือธรรมชาติของปลาร้า ของแท้ ซึ่งจะต้องมีกลิ่นบ้าง แต่ไม่มาก หากไม่มีกลิ่น ถือว่าผิดธรรมชาติ เพราะขั้นตอนการหมัก ปลาร้า ตามวิธีการที่ถูกต้อง จะต้องมีกลิ่นบ้าง แต่ไม่ใช่กลิ่นเหม็น เหมือนในอดีตแล้ว ยืนยันว่า ปากปลาร้า ไม่มีกลิ่น ก็แปลกและผิดธรรมชาติ เหมือนน้ำปลาต้องมีกลิ่นน้ำตา เหมือนซอสก็ต้องมีกลิ่นซอส และปลาร้า ก็ต้องมีกลิ่นเฉพาะ แต่ทุกวันนี้ กลิ่นไม่เหม็นแล้ว ดังนั้นยืนยันว่าเห็นด้วยกับการควบคุมความสะอาด แต่ไม่เห็นด้วยกับการควบคุมกลิ่น เพราะอย่างน้อย ทุกวันนี้ ปลาร้า แม้จะไม่มีกลิ่น เหม็น เหมือนในอดีต แต่ก็ต้องมีกลิ่นบ้าง จึงเป็นที่ยอมรับ ของอย.

ยืนยันว่า ควรจะลด เงื่อนไข เรื่องกลิ่นของปลาร้าลง เพราะหากยังจะฝืน ควบคุมเรื่องกลิ่น ก็ เหมือนกับการบังคับ ให้ผู้ผลิต ที่พยายามทำตามหลัก ความถูกต้อง ด้านความสะอาด ถูกหลักอนามัย ปลอดสารพิษ สารเคมี อาจต้องใช้ตัวช่วย ด้านการดับกลิ่น เข้ามาใช้ ก็เท่ากับ นำสิ่งแปลกปลอมเข้ามาใช้ จะสร้างผลกระทบ และเป็นอันตราย สำหรับผู้บริโภคได้ เรื่องนี้ รัฐบาล และผู้เกี่ยวข้อง โดยตรง ควรคิดให้ถ้วนถี่ก่อน จากกำหนดมาตรการเรื่องกลิ่น โดยไม่ได้มีการตรวจสอบให้ชัดเจนก่อน ถือว่าเป็นผลเสียแน่นอน และกระทบต่ออาชีพ ของชาวบ้าน หลุ่มอาชีพการตั้งกลุ่มชุมชน กลุ่มโอทอป กลุ่มวิสาหกิจชุมชน อย่างแน่นอน จึงฝากพิจารณา เหล่านี้ด้วย เพราะผู้ผลิตปลาร้าทั้ง 28 กลุ่มในจังหวัดร้อยเอ็ด จะได้รับผลกระทบด้วยทั้งหมด หากบังคับให้ผลิตปลาร้าไม่มีกลิ่น จนต้องหันไปใช้สารบังคับกลิ่น ด้วยสารเคมี ก็คงฝืนความรู้สึก ด้านความมาปลอดภัย เพื่อผู้บริโภคของทุกกลุ่มอย่างแน่น่อน

 

ที่มา มติชนออนไลน์