ประกาศเตือนภัย ฉบับที่ 1 พายุลูกใหม่ โซนร้อน “โคนี ” จ่อเข้าไทย

พายุโคนี

กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศ ฉบับที่ 1 พายุโซนร้อน “โคนี ” คาดขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ช่วงวันที่ 4-5 เตือนประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีลมแรง เสี่ยงท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศ ฉบับที่ 1 เรื่อง “พายุโซนร้อน “โคนี” (พายุระดับ 3) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 5-7 พฤศจิกายน 2563)”

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (2 พฤศจิกายน 2563) พายุโซนร้อน “โคนี” บริเวณประเทศฟิลิปปินส์ได้เคลื่อนลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนกลางแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 14.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 119.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

คาดว่าพายุนี้จะอ่อนกำลังลงก่อนเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2563 ส่งผลทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีลมแรง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

Advertisment

สำหรับชื่อของ โคนี (GONI) เป็นชื่อที่ตั้งโดยสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) แปลว่า หงส์

ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 05.00 น.

สำหรับพยากรณ์ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ลักษณะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็น โดยมีฝนบางแห่งบริเวณประเทศไทยตอนบน

ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย

Advertisment

สำหรับร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ส่งผลทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งในระยะนี้

ประกาศเตือน พายุโคนี

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ อากาศเย็น กับมีฝน ร้อยละ 20 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก และกำแพงเพชร
อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
ยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-14 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็น กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง อากาศเย็น กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี
อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

อธิบายแผนที่ : แผนที่อากาศผิวพื้นวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 เวลา 07:00 น. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน สำหรับร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ประกอบกับมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ อนึ่ง พายุโซนร้อน “โคนี” (พายุระดับ 3) บริเวณประเทศฟิลิปปินส์เคลื่อนลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนกลางแล้ว และมีแนวโน้มจะอ่อนกำลังลงก่อนเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง ในช่วงวันที่ 4 – 5 พ.ย. 2563