เปิดมติศาลรัฐธรรมนูญ ใครเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย กรณี “เศรษฐา”

เปิดมติศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้อง เศรษฐา ทวีสิน

ศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่เอกสารข่าว รับพิจารณาคำร้องของประธานวุฒิสภา กรณีตำแหน่งรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดลงเฉพาะตัวหรือไม่

วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนัดประชุมประจำสัปดาห์ โดยได้พิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้อง หลังประธานวุฒิสภาส่งคำร้องขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน ผู้ถูกร้องที่ 1 และนายพิชิต ชื่นบาน ผู้ถูกร้องที่ 2 สิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) (5) หรือไม่

โดยศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 6 ต่อ 3 รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย โดยให้ผู้ถูกร้องที่ 1 นายเศรษฐา ทวีสิน และให้ผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง

และมีมติ 5 ต่อ 4 ไม่สั่งให้ผู้ถูกร้องที่ 1 นายเศรษฐา ทวีสิน ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

มติรับคำร้องไว้พิจารณา มติ 6 ต่อ 3

เสียงข้างมาก 6 เสียง ที่เห็นควรรับคำร้องไว้พิจารณา ประกอบด้วย

Advertisment

1.นายปัญญา อุดชาชน
2.นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม
3.นายวิรุฬห์ แสงเทียน
4.นายจิรนิติ หะวานนท์
5.นายนภดล เทพพิทักษ์
6.นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์

เสียงข้างน้อยที่เห็นว่าไม่ควรรับคำร้องไว้พิจารณา 3 เสียง ประกอบด้วย

1.นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
2. นายอุดม รัฐอมฤต
3. นายสุเมธ รอยกุลเจริญ

มติไม่เห็นควรสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ 5 ต่อ 4

เสียงข้างมาก 5 เสียง ไม่เห็นควรให้หยุดปฏิบัติหน้าที่

Advertisment

1.นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
2.นายนภดล เทพพิทักษ์
3.นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์
4.นายอุดม รัฐอมฤต
5.นายสุเมธ รอยกุลเจริญ

เสียงข้างน้อย 4 เสียง เห็นควรให้หยุดปฏิบัติหน้าที่

1. นายปัญญา อุดชาชน
2. นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม
3. นายวิรุฬห์ แสงเทียน
4. นายจิรนิติ หะวานนท์

ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเศรษฐา ไม่สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่