แอล พี ซี วิสาหกิจเพื่อสังคม ภารกิจ 4 สร้าง พัฒนาชีวิตสตรีด้อยโอกาส

“สุรัสวดี ซื่อวาจา” กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล พี ซี วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด กล่าวในงานสัมมนาพิเศษหัวข้อ “หุ้นส่วนสร้างภูมิคุ้มกันสังคม ยกระดับชุมชนยั่งยืน” ในงานสัมมนา “แนวพระราชดำริ ภูมิคุ้มกันสังคม วัคซีนธุรกิจยั่งยืน” ลดเหลื่อมล้ำ หนุนเศรษฐกิจฐานราก จากเหนือจดชายแดนใต้ ว่า หลังจากที่ “บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN)” สร้างชุมชนที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ขึ้นมา ฃ

โดยในหนึ่งคอนโด ไม่ใช่เพียงแค่ตัวตึก ทำให้จึงต้องมีธุรกิจบริการที่ดูแลชุมชน ในชื่อ “บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP)” เพราะการดูแลและให้บริการชุมชน มีเรื่องราวต่างๆ มากกมาย ซึ่งหลังจากที่เข้าไปสัมผัสเรื่องเหล่านี้แล้ว เราเห็นว่านอกจากลูกค้าที่ต้องเข้าไปดูแล ให้บริการแล้ว ต้องดูซัพพลายเออร์ต่างๆ ที่ต้องดูแลเขาด้วยเช่นกัน

โดยเฉพาะ “แม่บ้าน” ที่ทำงานให้เราดูเหมือนเขาเหล่านั้นไม่มีความสุข ตรงนี้มาจากสาเหตุอะไร ซึ่งหลังจากที่เข้าไปพูดคุย สอบถาม จึงพบว่ากลุ่มคนเหล่านี้ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับที่ไม่สูงมากนัก บางคนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ การที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจึงเป็นสิ่งที่เขาเหล่านี้ถูกกระทำอยู่อย่างมาก

จึงเกิดคำถามเร็วๆ ว่าถ้าอย่างนั้น เราะจะทำเรื่องเหล่านี้เองได้อย่างไร และสามารถตอบตัวเองได้ในอีกไม่ช้า เพราะว่าเราอยู่ในงานบริการแบบนี้อยู่แล้ว ตรงนี้จึงเป็นที่มาของแผนกทำความสะอาดเกิดขึ้นใน LPPและหลังจากทำมาแล้ว เราได้ระเบิดจากปัญหาเล็กๆ ที่เจอ ทำให้ค้นพบตัวตนขององค์กรว่าไม่เหมือนบริษัทลูกอื่นๆ ของ LPN ตรงนี้จึงแยกออกมาเป็นบริษัท ลุมพินี พร็อพเพอร์ตี้ เซอร์วิส แอนด์ แคร์ จำกัด (LPC) ในปี 2554 เพื่อให้มีแผนการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจน สอดรับวัตถุประสงค์ที่

ตอนนั้นยังไม่มี พรบ.วิสาหกิจเพื่อสังคม แต่ด้วยความต้องการที่จะทำธุรกิจให้ตรงกับวัตุประสงค์ ทำงานเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน ทั้งยังสนับสนุนกิจกรรมเหล่านี้ให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนา และยกระดับคุณภาพชีวิตกลุ่มสตรีด้อยโอกาสเข้ามาเป็นพนักงาน โดยแอลพีเอ็นเป็นผู้ลงทุน และไม่ปันผลกำไรกลับมาที่ตนเอง แต่จะปันกลับคืนไปสู่พนักงานแอลพีซี ในรูปแบบค่าจ้างและค่าตอบแทนที่สูงกว่า โดย LPC ได้ดำเนินการมอบความสุขตามภารกิจ 4 สร้าง ได้แก่

หนึ่ง สร้างการรายได้ โดยค่าแรงที่จ่ายมากว่าค่าแรงขั้นต่ำ อยู่ 10 %

สอง สร้างโอกาส ทำอย่างไรให้คนที่โอกาสน้อยเหล่านี้ตกปลาเป็น ไม่ใช่คอยรับแต่ปลา เพราะนอกจากอาชีพหลักที่ทำงานกับเราแล้ว จะทำอย่างไรให้เขามีอาชีพเสริม มีรายได้เพิ่ม เหมาะกับศักยภาพของเขาเอง และตลาดมีความต้องการ จึงเป็นที่มาของอาชีพนวด ซึ่งสามารถทำในวันหยุดได้

สาม สร้างศักดิ์ศรี ซึ่งเรามองว่าต้องสร้างจากภายนอก เข้ามาสู่ภายใน ทำอย่างไรให้เขารู้สึกว่าเป็นคนกลุ่มเดียวกับเรา เขาคือ ผู้ร่วมงานเดียวกับเรา ที่นี่จะมียูนิฟอร์มแบบเดียวกัน ที่ใส่ตั้งแต่ประธานบริษัท จนถึงแม่บ้าน ต่างคนต่างเคารพซึ่งกันและกัน รักษาไว้ซึ่งเกียรติของกันและกัน สิ่งต่างๆ ที่เราได้ ทั้งสวัสดิการต่างๆ โบนัส ทุกคนได้เท่าเทียมกัน ดีใจไปพร้อมๆ กัน

สุดท้าย สร้างความสุข ซึ่งจะเป็นความสุขทั้งสองฝั่ง สุขทั้งผู้ให้และผู้รับ

ทั้งนี้ LPC ยังได้รับการรับรองเป็นกิจการเพื่อสังคม จากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งถือเป็น 1 ใน 15 กิจการที่ได้รับการพิจารณาในครั้งนี้ และถือเป็นบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายแรก ที่มีบริษัทในเครือได้รับการรับรองเป็นกิจการเพื่อ ปัจจุบันจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท แอล พี ซี วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (LPC Social Enterprise Company Limited)”