เลื่อนมาหลายรอบ ในที่สุดโจ ไบเดน มีคำสั่งเปิดเอกสารบันทึกเหตุการณ์ลอบสังหาร ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี หรือ JFK แล้ว
วันที่ 16 ธันวาคม 2565 ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา เผยแพร่เอกสารนับหมื่นหน้าเกี่ยวกับเหตุการณ์ลอบสังหารอดีตประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ปี 1963 (พ.ศ. 2506) ซึ่งประธานาธิบดีโจ ไบเดน สั่งให้ทำเนียบขาวเผยแพร่ต่อสาธารณะ หลังจากต้องเลื่อนการเผยแพร่ออกไปเพราะโควิด-19
เอกสารกว่า 13,000 แผ่นเป็นเอกสารชุดที่ 2 ทำเนียบขาวระบุว่าการสังหาร JFK เป็นโศกนาฏกรรมของประเทศที่ยังคงอยู่ในประวัติศาสตร์อเมริกันและความทรงจำของชาวอเมริกันที่ยังมีชีวิตอยู่และจดจำเหตุการณ์ดังกล่าวได้
ขณะเดียวกัน ความจำเป็นในการคุ้มครองบันทึกเหตุการณ์การสังหารก็น้อยลงไปตามกาลเวลา ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐ จึงต้องเพิ่มความโปร่งใสด้วยการเปิดเผยข้อมูลที่บันทึกไว้เกี่ยวกับการลอบสังหาร ยกเว้น เหตุผลที่บางประการ
ไบเดนกล่าวว่าหอจดหมายเหตุแห่งชาติและหน่วยงานอื่นจะตรวจสอบเอกสารส่วนบุคคลที่ยังเหลือจนถึงเดือน พ.ค. 2023 (พ.ศ.2566) และจะเปิดเผยข้อมูลส่วนที่เหลือก่อนวันที่ 30 มิ.ย. 2023
การลอบสังหารเจเอฟเคทำให้เกิดข้อสงสัยมากมายทั้งในระดับประชาชนและนักวิชาการว่าเป็นทฤษฎีสมคบคิดและเกี่ยวกับความลับของรัฐบาลหรือไม่
นักวิจัยเตือนว่าอาจต้องใช้เวลาหลายวันตรวจสอบเอกสารหลายพันหน้าด้วยความถี่ถ้วนรอบคอบเพื่อให้มั่นใจว่าไม่พบเบาะแสใหม่หรือข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับปฏิบัติการของซีไอเอและเอฟบีไอในช่วงทศวรรษที่ 60
แต่ ส.ส.หลายคนและองค์กรสนับสนุนความโปร่งใสเห็นว่าการเผยแพร่เอกสารที่เหลือเป็นการฟื้นศรัทธาการทำงานของรัฐบาล เนื่องจากผลการสำรวจความเห็นของชาวอเมริกันแสดงให้เห็นมานานแล้วว่าชาวอเมริกันส่วนใหญ่ไม่เชื่อเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมาธิการวอร์เรน ซึ่งระบุว่า นายลี ฮาร์วีย์ ออสวอลด์ ลงมือสังหารเจเอฟเคแต่เพียงลำพัง
แลร์รี ซาบาโต ผู้เขียนหนังสือ “The Kennedy Half Century: The Presidency, Assassination, and Lasting Legacy of John F. Kennedy” กล่าวว่าอาจจมีสาระสำคัญซ่อนอยู่ในเอกสารเหล่านี้ แต่จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในวันเกิดเหตุ
และจะไม่พบข้อมูลสนับสนุนทฤษฎีสมคบคิดว่าออสวอลด์ไม่ได้ลงมือสังหารเคนเนดีเพียงลำพัง หรือ ซีไอเอมีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด อีกทั้ง จะไม่พบรายชื่อผู้สมรู้ร่วมคิดรายอื่น พร้อมกับกล่าวว่าความจริง คือ ป้องกันการลอบสังหารได้ หากซีไอเอและเอฟบีไอปฏิบัติตามหน้าที่
ด้านซีไอเอกล่าวแถลงว่าข้อมูลล่าสุดไม่ได้เปลี่ยนแปลงบันทึกประวัติศาสตร์และไม่มีผลต่อการลอบสังหารหรือการสืบสวน และไม่ทราบว่ามีเอกสารที่ยังไม่ได้เปิดเผยซึ่งเชื่อมโยงโดยตรงกับออสวอลด์หรือไม่
ซาบาโตทราบว่ามีเอกสารที่ระบุช่วงเวลาระหว่างที่ออสวอลด์อยู่ในกรุงเม็กซิโก ซิตี ซึ่งระบุว่าสหรัฐฯ ดักฟังโทรศัพท์ “ความลับชั้นสุดยอด” กับประธานาธิบดีเม็กซิโกหรือแม้แต่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของเม็กซิโก
นอกจากนี้ ยังระบุว่าเอกสารจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติในชุดของเจเอฟเคมีสถานะ “ไม่ปรากฎ” อยู่จำนวน 28 เรื่องซึ่งอาจเป็นก่อเกิดของเชื้อไฟทฤษฎีสมคบคิดเพราะถ้ามีธงในใจว่าเป็นทฤษฎีสมคบคิดอยู่แล้ว การที่เอกสารสำคัญและเป็นข้อมูลสำคัญ “หายไป” ก็อาจเป็นไปได้ว่าเป็นเรื่องสมคบคิดจริง แต่ยังมีข้อมูลเอกสารอีกมากที่หายไป
ส่วนซีไอเอเผยแพร่เอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดีในปี 1963 ซึ่งเอกสารของซีไอเอร้อยละ 95 อยู่ในชุดเอกสารการบันทึกการลอบสังหารเจเอฟเคที่ประชาชนทราบในขณะนี้
และไม่มีเอกสารที่แก้ไขหรือระงับทั้งหมด แต่มีข้อมูลเพียงเล็กน้อยที่ยังคงปกปิดเพราะจะเป็นอันตรายหากทราบตัวตนหรือปฏิบัติการของหน่วยข่าวกรอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบันทึกภายในหน่วยบริหารที่มีข้อมูลเบื้องหลังของซีไอเอเพื่อช่วยให้คณะกรรมการเข้าใจ เช่น แหล่งข่าวซีไอเอ วิธีการ คำศัพท์ การปกปิดและวิธีการจารกรรม
ช่วงหลายปีที่ผ่านมา เอกสารหลายล้านฉบับกลายเป็นข้อมูลสาธารณะ นอกจากข้อมูลการลอบสังหารเจเอฟเคแล้ว ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตของดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์และการสังหาร ไปจนถึงช่วงสงครามเย็น
ปี 1992 (พ.ศ. 2535) สภาคองเกรสผ่านกฎหมายการรวบรวมบันทึกการลอบสังหารของจอห์น เอฟ. เคนเนดี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาพยนตร์เรื่อง “JFK” ของโอลิเวอร์ สโตน
กฎหมายดังกล่าวระบุว่าเอกสารบันทึกการลอบสังหารทั้งหมดควรเปิดเผยต่อสาธารณะภายในเดือน ต.ค. 2017 (พ.ศ. 2560) แต่อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์และประธานาธิบดีไบเดนยอมให้เลื่อนการเปิดเผยหลายครั้งตามคำแนะนำของเอฟบีไอและซีไอเอและหน่วยงานความมั่นคงอื่นๆ ในที่สุด ทรัมป์ก็เปิดเผยเอกสารหลายพันหน้าซึ่งเป็นเอกสารที่แก้ไขบางส่วน
……