“อีลอน มัสก์” พร้อมผู้เชี่ยวชาญหุ่นยนต์(AI) ลงนามยุติพัฒนา “หุ่นยนต์นักฆ่า” หวั่นเกิดสงคราม

สื่อต่างประเทศรายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับหุ่นยนต์กว่าร้อยคน เรียกร้องให้สหประชาชาติสั่งห้ามเเละหยุดพัฒนาหุ่นยนต์นักฆ่า (ปัญญาประดิษฐ์) เเละให้เพิ่มหุ่นยนต์ดังกล่าวเป็นอาวุธที่ขัดต่อหลักศีลธรรม

มุสตาฟา สุไลย์มาน ผู้ประกอบการชาวอังกฤษ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัทปัญญาประดิษฐ์ เเละ อีลอน มัสก์ นักธุรกิจผู้นำด้านเทคโนโลยี โดดเด่นที่สุดจากรายชื่อผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีจำนวน 116 รายชื่อ ได้ลงนามในจดหมายเปิดผนึกเพื่อขอให้ประชาชาติสั่งห้ามหุ่นยนต์ดังกล่าว เพื่อป้องกันการเเข่งขันทางด้านอาวุธ

ในเดือนธันวาคม ปี 2016 ที่ผ่านมา สหประชาชาติได้ลงมติให้เริ่มการเจรจาอย่างเป็นทางการ เกี่ยวกับอนาคตของอาวุธดังกล่าว รวมไปถึงรถถังใช้ในการกระหน้ำยิง เเละปืนกลอัตโนมัติ จวบจนปัจจุบัน กว่า 19 รัฐจากทั้งหมด 123 รัฐ ออกมาเรียกร้องให้ยุติการใช้อาวุธอิสระร้ายเเรงดังกล่าว

โทบี้ วอทซ์ ศาสตราจารย์ประดิษฐ์จากมหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ ในออสเตรเลียได้เปิดตัวจดหมายฉบับนี้ในการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ในเมลเบิร์น ซึ่งจดหมายดังกล่าวนับเป็นครั้งเเรกที่ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) เเละบริษัทด้านหุ่นยนต์ได้ร่วมพิจารณาประเด็นนี้

จดหมายดังกล่าว มีเนื้อหาว่า อาวุธอิสระดังกล่าว อาจเป็นเหตุให้เกิดสงครามครั้งที่สาม เมื่อพัฒนาเเล้วจะมีการนำไปใช้สู้รบในระดับที่สูงกว่าการทดลอง เเละรวดเร็วจนมนุษย์อาจไม่เข้าใจได้ นับว่าอาวุธดังกล่าวเป้นเรื่องน่ากลัว ผู้ก่อการร้ายอาจนำมาใช้ประโยชน์ ส่งผลให้เป็นภัยต่อผู้บริสุทธิ์

Advertisment

ศาสตราจารย์วอทซ์ กล่าวว่า เกือบทุกเทคโนโลยีสามารถนำไปใช้ในทางดีและไม่ดี ปัญญาประดิษฐ์ไม่ได้แตกต่างกัน สามารถช่วยแก้ปัญหาเร่งด่วนมากมายที่สังคมเผชิญในวันนี้ อาทิ ความไม่เสมอภาค ความยากจน ความท้าทายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และวิกฤตการเงินโลกที่กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีเดียวกันนี้ สามารถนำไปใช้เป้นอาวุธเพื่อทำให้เกิดสงครามได้ เราจำเป็นต้องตัดสินใจในวันนี้เพื่อเลือกอนาคตที่เราต้องการ”

ด้านผู้ลงนามที่สำคัญในจดหมายได้เเก่ มุสตาฟา สุไลย์มาน ผู้ประกอบการชาวอังกฤษ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัทปัญญาประดิษฐ์, อีลอน มัสก์ นักธุรกิจผู้นำด้านเทคโนโลยี, โทบี้ วอทซ์ ศาสตราจารย์ประดิษฐ์จากมหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์, โจชัว เบนจิโอ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้และเป็นผู้ก่อตั้ง Element AI (เเคนาดา), เจอโรม มอนโซซ์ ผู้ก่อตั้ง Aldebaran Robotics ผู้ผลิตหุ่นยนต์ Nao and Pepper (สวิตเซอร์แลนด์ )

 

Advertisment

 

เเฟ้มภาพไม่เกี่ยวกับข่าว