สิทธิในการซ่อมคืออะไร?

สำหรับเอ็มมา อาช ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เธอจะเปิดคลิปวิดีโอซ่อมเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ดี ๆ ก็เสียขึ้นมาดู

หญิงวัย 46 ปีคนนี้ มักเดินทางไปงานเปิดท้ายขายของและซื้อสินเค้าเก่า ๆ แล้วนำมาซ่อมแซมและตกแต่งใหม่อยู่บ่อยครั้ง

“ฉันคือหลานสาวของยุคสมัยที่ผู้คนเชื่ออย่างสุดใจให้กับการอยู่กับสิ่งของที่มีและการซ่อมแซม”

“มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ฉันสนใจการซ่อมแซมสิ่งของ”

ในฐานะผู้ก่อตั้ง YoungPlanet แอปพลิเคชันสร้างพื้นที่ให้ผู้ปกครองสามารถบริจาคของเล่นหรือเสื้อผ้าไม่ใช้แล้วให้กับครอบครัววอื่นๆ นางอาจใช้โอกาสตรงนั้นซ่อมตู้เย็นระหว่างช่องล็อกดาวน์

“มันคุ้มค่าเสมอ” เธอกล่าว “มันทำให้ฉันพอใจอย่างมากเสมอเพราะมันไม่แพงมากเมื่อเทียบกับให้คนอื่นมาทำให้”

โทรศัพท์

ที่มาของภาพ, Getty Images

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่พวกเราหลายคนต้องลดรายจ่ายของตัวเองลงจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ตัวเลขของผู้คนที่หันมาซ่อมแซมสิ่งของแทนการซื้อใหม่จึงมีเพิ่มขึ้น

เท่านั้นยังไม่พอ เมื่อคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การซ่อมแซมยิ่งดูเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม ข้อมูลจากรายงานเมื่อต้นปีที่ผ่านมาพบว่าหนึ่งในสี่ของชาวลอนดอนหันมาซ่อมแซมสิ่งของมากกว่าพฤติกรรมเดิมๆ ของพวกเขาในปี 2020

สอดคล้องกับรายงานผู้บริโภคยั่งยืนประจำเดือนที่ผ่านมาของดีลอยท์ที่พบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของประชากรอังกฤษทั่วประเทศกล่าวว่าพวกเขาได้ซ่อมแซมสิ่งของบางอย่างเมื่อปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ทั่วโลกยังผลิตเฉพาะของเสียที่เกิดจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มากถึง 50 ล้านตัน/ปี ในจำนวนนี้ เพียง 20% เท่านั้นที่ถูกรีไซเคิลตามกระบวนการ นี่จึงเป็นเรื่องยากที่จะไม่เห็นด้วยว่าการซ่อมแซมสิ่งของคือเรื่องที่ดี

ทั้งนี้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามครัวเรือนบางอย่างก็ซ่อมแซมง่ายกว่ากันอื่น

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสียทิ้ง

ที่มาของภาพ, Getty Images

ยกตัวอย่างเช่น รายงานฉบับหนึ่งซึ่งตีพิมพ์เมื่อปีที่ผ่านมาพบว่าครัวเรือนชาวอังกฤษราว 42% สามารถซ่อมแซมเครื่องดูดฝุ่นได้หรือ “ไม่คิดหนัก” ที่จะลองซ่อมมันดู ทว่าในคำถามเดียวกันแต่เปลี่ยนเป็นโทรทัศน์ ตัวเลขผู้ตอบแบบสอบถามลดลงมาเหลือ 14% เท่านั้น ขณะที่คำตอบสำหรับไมโครเวฟลดลงอีก เหลือเพียง 10%

ไม่ว่าคุณกำลังคิดจะซ่อมอะไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก และต้องไม่ลืมถอดปลั๊กออกก่อนเสมอ

สิ่งที่ควรจะช่วยให้การซ่อมแซมสิ่งของเป็นเรื่องง่ายขึ้นคือ “กฏเกณฑ์สิทธิในการซ่อม” ฉบับใหม่ที่มีการบังคับใช้ทั้งในอังกฤษ สกอตแลนด์ และเวลส์ ตั้งแต่ฤดูร้อนที่แล้ว

กฎดังกล่าวคล้ายคลึงกับกฎหมายที่สหภาพยุโรปบังคับใช้กับไอร์แลนด์เหนือ โดยพวกเขาออกกฎหมายให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต้องเริ่มผลิตชิ้นส่วนสำรองออกมาขาย มีข้อยกเว้นอยู่บ้างสำหรับสินค้าบางชนิด อาทิ โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์พกพา

กฎหมายดังกล่าวมีขึ้นเพื่อทำให้ผู้คนมั่นใจว่าพวกเขาจะสามารถซ่อมแซมอุปกรณ์ต่าง ๆ ของตัวเองได้ ผู้คนรวมไปถึงองค์กรต่าง ๆ จำนวนมากหันมาให้ความสนใจกับประเด็นดังกล่าวจนมีการสร้าง ‘คาเฟ่ซ่อมสินค้า’ ขึ้นมาทั้งในสหราชอาณาจักรและประเทศอื่น ๆ

คาเฟ่เหล่านี้มักตั้งอยู่ในสถานที่ส่วนกลาง อาทิ ศาลาประชาคม ห้องสมุด หรือโบสถ์ แนวคิดเบื้องหลังคือให้ผู้คนสามารถนำอุปกรณ์ที่เสียของพวกเขามายังคาเฟ่เหล่านี้โดยอาสาสมัครจะเข้ามาซ่อมสิ่งของให้กับพวกเขา พร้อมให้คำแนะนำ

“มันไม่ใช่แค่การซ่อมสิ่งของ มันเป็นการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ และได้รับความรู้สึกมีอำนาจในการดูแลสินค้าของตัวเอง” อูโก วัลลอรี กล่าว เขาคือผู้อำนวยการร่วมของโครงการ Restart Project ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน

ปัจจุบันนี้มีการประเมินว่ามีคาเฟ่ซ่อมสิ่งของราว 2,400 แห่งทั่วโลก และประมาณ 250 แห่ง ทั่วสหราชอาณาจักร

เมื่อต้นปีที่ผ่านมาโครงการ Restart Project เพิ่งเปิดคาเฟ่ซ่อมสิ่งของถาวพขึ้นมาสองแห่งภายใต้ชื่อ Fixxing Factory ซึ่งอาจแปลเป็นภาษาไทยได้ว่าโรงงานซ่อม ทั้งสองโรงงานนี้ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอังกฤษ  อาสาสมัครช่วยซ่อมแซมสิ่งของที่ผู้คนนำมาภายใต้ฐานการจ่ายตามที่คุณเห็นควร

“เราต้องการขยายสิ่งนี้ไปทั่วประเทศ และเราต้องการให้การซ่อมสิ่งของกลายเป็นบรรดทัดฐานสังคม” นายวัลลอรี กล่าว

“ทุกคนควรเข้าถึงการซ่อมแซมสิ่งของ และมันควรเป็นขั้นตอนแรกหากคุณเกิดทำอะไรแตก/หักขึ้นมา แทนการยอมแพ้และกดสั่งซื้อสินค้าให้มาส่งในวันรุ่งขึ้น”

หากพูดถึงสินค้าอย่างเสื้อผ้า มีวิธีการใหม่ ๆ ในการซ่อมแซมพวกมันแทนการซื้อใหม่เช่นเดียวกัน

โจเซฟีน ฟิลลิปส์

ที่มาของภาพ, อิซเซ่ เกลดสตัน

เว็บไซต์อย่าง Make Nu ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถส่งเสื้อผ้าของพวกเขามาซ่อมก่อนจะส่งกลับคืนเจ้าของ ขณะที่แอปพลิเคชันอย่าง Sojo ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้งานที่ต้องการซ่อมสินค้ากับช่างที่ซ่อมเสื้อผ้า

โจเซฟีน ฟิลลิปส์ ก่อตั้งแอปพลิเคชัน Sojo ขึ้นมาเมื่อปี 2021 ทันทีหลังเธอเรียนจบระดับมหาวิทยาลัย “ตอนนั้นฉันคิดว่าถ้าอยากให้วงการแฟชันยั่งยืนและแฟชันหมุนเวียนเป็นที่เข้าถึงง่ายต่อผู้บริโภคยุคใหม่ วงการแฟชันเองต้องปรับตัวให้ทันสมัยและเป็นดิจิทัลมากขึ้น ดังนั้นฉันก็เลยหาทางออกให้กับมัน”

ทว่าเมื่อผู้คนยังคงไถโทรศัพท์เพื่อซื้อสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุด โทรทัศน์ความคมชัดสูง และเสื้อผ้าออกใหม่อยู่ตลอด เทรนด์เพื่อความยั่งยืนเหล่านี้สามารถปรับพฤติกรรมผู้บริโภคได้มากแค่ไหน

“มีวัฒนธรรมย่อยที่ผู้คนต้องการซ่อมสิ่งของอย่างแน่นอน แต่มันก็เป็นแค่วัฒนธรรมย่อยเท่านั้น” ทิม คูเปอร์ อาจารย์ด้านการบริโภคและการออกแบบเพื่อความยั่งยืนจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแธมป์ตัน เทรนต์ กล่าว

“แม้ว่าจะมีคาเฟ่ซ่อมสินค้านับพัน ๆ แห่งทั่วโลก และพวกเขาทำหน้าที่ได้อย่างยอดเยี่ยม พวกเขาเองก็มักมีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้านับล้าน ๆ ชิ้นที่ผู้คนซื้อ เราต้องทิ้งวัฒนธรรมใช้แล้วทิ้งไป”

นายวัลลอรีเสริมว่าการลดภาษีในสหราชอาณาจักรเพื่อให้ราคาสินค้าเข้าถึงได้ง่ายขึ้นจะช่วยให้ผู้คนหันมาซ่อมแซมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น “เราดำเนินการรณรงค์ให้รัฐบาลตัดภาษี VAT…ซึ่งมีอยู่ในการซ่อมเรือยอร์ชแต่ไม่ได้มีกับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องใช้ขนาดใหญ่ในครัวเรือน”

เขายังชี้ให้เห็นตัวอย่างโครงการในออสเตรียที่รัฐบาลมอบบัตรกำนัลมูลค่าสูงสุด 200 ยูโร (ราว 7,200 บาท) เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสิ่งของลงราว 50% มีโครงการคล้ายๆ กันที่รัฐทือริงเงินในเยอรมี

ขณะเดียวกัน เมื่อปีที่ผ่านมารัฐบาลฝรั่งเศสออกดัชนีคะแนนการซ่อมภาคบังคับออกมาในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางประเภท อาทิ เมื่อคุณซื้อโทรศัพท์มือถือหรือเครื่องตัดหญ้า คุณจะเห็นคะแนน 1-10 ว่าสินค้าดังกล่าวซ่อมได้ยากแง่แค่ไหน

ดูเหมือนว่าสำหรับสหราชอาณาจักร ผู้คนนิยมซ่อมแซมสิ่งของกันเอง เว็บไซต์อย่าง Espares ซึ่งจัดหาชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องใช้ในครัวเรือนตั้งแต่ตู้เย็นไปจนถึงเรื่องดูดฝุ่นระบุว่า ยอดขายสินค้าบนเว็บไซต์เพิ่มขึ้งหนึ่งในสามจากยอดขายในปี 2019

เว็บไซต์ดังกล่าวยังลงวิดีโอสอนผู้ใช้งานซ่อมแซมสิ่งของบนเว็บไซต์ของตัวเอง เช่นเดียวกับบนช่องในยูทูบ นอกจากนี้ เมื่อปีที่ผ่านมาบริษัทยังพัฒนาวิดีโอแชตที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถแสดงให้เจ้าหน้าที่ดูแลลูกค้าดูได้ว่าปัญหาอยู่ที่ตรงไหน

“เรารู้สึกดีเมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้คนมีอำนาจในการจัดการรายจ่ายของพวกเขา” อดัม เคซีย์ หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ Espares กล่าว “มันเป็นเรื่องที่ไม่ต้องคิดเลยที่แทนที่เราจะบอกว่าจ่ายเงิน 100 ปอนด์ มาเพื่อซื้อเครื่องล่างจานใหม่ พวกเขาอาจจะเปลี่ยนบางส่วนด้วยตัวเองในราคา 20 ปอนด์”

กลับมาที่เขตเบิร์กเชียร์ตะวันตก นางอาชให้คำแนะนำกับผู้อื่นว่า “ลองทำดูด้วยตัวเอง”

“คุณสามารถหาวิดีโอบนยูทูบที่บางคนออกมาซ่อมอะไรก็ตามที่ผิดปกติกับสิ่งของของพวกเขาได้เสมอ” เธอชี้ “การซ่อมบางอย่างช่วยมอบความพึงพอใจอย่างมากให้กับคุณและมันทำให้คุณได้รู้สึกถึงการมีอำนาจเช่นกัน”

…….

ข่าว บีบีซี ไทย ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ ประชาชาติธุรกิจ เป็นความร่วมมือของสององค์กรข่าว