ไทยจับมือญี่ปุ่น ดึงระบบบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน-อุตสาหกรรม มาช่วยลดงบซ่อมแซมที่สูงนับแสนล้านบ./ปี

รัฐบาลไทย ร่วมกับ สมาคมการบริหารจัดการประเทศญี่ปุ่น (JMA) เตรียมจัดงาน “Maintenance & Resilience ASIA 2019” (MRA 2019) วันที่ 2 – 4 ต.ค. 2562 หวังเรียนรู้วิธีการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน ถนน สะพาน รางรถไฟ สนามบิน และโครงการใน EEC รวมถึงภาคอุตสาหกรรม ที่แต่ละปีต้องเทงบในการบำรุงและซ่อมแซมนับแสนล้านบาท ตั้งเป้านำเทคโนโลยี นวัตกรรมเข้ามาช่วย

นายทาดาซิ โยชิดะ ประธาน สมาคมการบริหารจัดการประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า ทางสมาคมฯ ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม, กระทรวงคมนาคม, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมจัดงาน “Maintenance & Resilience ASIA 2019” (MRA 2019) ในวันที่ 2 – 4 ต.ค. 2562 ครั้งแรกที่ประเทศไทย  

ที่จะเป็นการนำเทคโนโลยีด้านการบำรุงและดูแลรักษาโรงงาน ที่จะเป็นการผลักดันให้ โรงงานผู้ผลิต โรงงานอุตสาหกรรม โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และผู้ให้บริการด้านการบำรุงรักษา รวมถึงด้านโลจิสติกส์ และบริษัทบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงาน ในการบรรลุผลสำเร็จไปสู่การผลิตและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน 

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า งาน MRA 2019 จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การพัฒนาระบบขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคของประเทศ ที่จะมีส่วนช่วยในการบูรณาการ และการพัฒนาระบบ ซึ่งสามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกภาคส่วน รวมทั้งช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืนได้ ซึ่งถือเป็นภาระกิจของกระทรวงคมนาคม

“เราจะได้เรียนรู้เทคโนโลยีจากญี่ปุ่นเรื่องสำคัญคือการบำรุงรักษา โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยอย่าง มอเตอร์เวย์ รถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ ทางรถความเร็วสูงเชื่อม 3สนามบิน ท่าเรือแหลมฉบัง ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ที่อยู่ในแผนการพัฒนาพื้นที่ของ EEC ทั้งหมดเมื่อสร้างขึ้นมาต้องมีการบำรุงรักษา ไม่ใช่แค่ซ่อมแซมเหมือนกับที่ไทยทำอยู่ อย่างสะพาน 100 ปีของญี่ปุ่นเราก็อยากรู้ว่าเขาบำรุงรักษามันอย่างไร นั่นคือสิ่งที่เราจะเรียนรู้จากเขาเพื่อนำวิธีเหล่านั้นมาใช้กับที่บ้านเรา ซึ่งละโครงการก่อสร้างจะมีหน่วยงานรับผิดชอบโครงการอยู่ และทีงบที่ใช้บำรุงกันจำนวนมาก แต่ครั้งนี้เราอยากให้ทุกหน่วยงานรู้การบำรุงแบบเป็นระบบ”

นายสุรพล ชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมไทยมีการบำรุงรักษาและซ่อมแซมทั้งระบบสูงถึงแสนล้านบาท/ปี นับว่าสูง และหากไทยสามารถเรียนรู้และนำเอาเทคโนโลยี การบริหารจัดการด้านการบำรุงรักษาจากญี่ปุ่น มาใช้ได้จะทำให้การใช้งบบำรุงรักษาในปีถัดๆไป และซ่อมแซมลดลง สอดคล้องกับนโยบาย แฟคทอรี่ 4.0 ที่ต้องการสร้างความตระหนักให้กับภาคอุตสาหกรรมไทย ในการรับรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของการยกระดับกระบวนการผลิตและระบบต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับโครงการ “ไทยแลนด์ 4.0” 

นายสมบูรณ์ พิทยรังสฤษฎ์ ประธานคลัสเตอร์วิศวกรรมเครื่องจักรกลและงานโลหะ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า  คาดหวังว่าประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมงานจะได้รับคือ นวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อช่วยในการยกระดับระบบการผลิตในปัจจุบันให้ก้าวหน้า มีประสิทธิภาพ และประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น การจับคู่ธุรกิจที่อาจจะเห็นผู้ทำระบบ และซัพพลายเออร์ของไทยจับมือกัน

รศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ทางมหาวิทยาลัยฯ  ได้เปิดตัวการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “การศึกษาระบบ Chula Engineering Education 4.0” อย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ. 2557 ซึ่งเนื้อหาหลักสูตรเป็นไปในทิศทางเดียวกับนโยบาย “อุตสาหกรรม 4.0” ของรัฐบาลไทย 

โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาศักยภาพของผู้เข้าเรียนให้เป็น นักสร้างสรรค์นวัตกรรมในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับแผนการผลักดันเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับสูงไปสู่กับภาคอุตสาหกรรมและการศึกษาของประเทศไทย  

จึงมีความยินดีในการให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่กับงาน Maintenance & Resilience ASIA 2019 ซึ่งถือเป็นงานที่มีความโดดเด่นที่จะช่วยมอบความรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้แก่บุคคลการในภาควิศวกรรมศาสคร์ และภาคการศึกษาอื่น ๆ ของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี