มหกรรม แฉ สมาคมกีฬาแดนผู้ดี

อาฮุย แผ่นดินใหญ่ : เรื่อง

ระหว่างที่วงการกีฬากระแสหลักทั่วโลกกำลังเข้าสู่โค้งสุดท้ายของปี หลายรายการปิดฤดูกาลเรียบร้อยแล้ว แต่สำหรับสถานการณ์วงในของแวดวงกีฬาอังกฤษยิ่งดุเดือดขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเกิดกระแสปั่นป่วนวงในเชิงนโยบายทั้งแง่ระเบียบปฏิบัติและเชิงงบประมาณ

เรื่องเกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางปีที่สมาคมกีฬาไม่ต่ำกว่า 10 สมาคมจาก 28 สมาคมกีฬาแห่งชาติในกลุ่มบริติชซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากสาธารณะเป็นจำนวน มหาศาลกว่า 360 ล้านปอนด์ เพื่อใช้เตรียมตัวร่วมแข่งในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกถูกนักกีฬาร้องเรียนเรื่อง การปฏิบัติ หรือไม่ก็ถูกกดดันให้ทบทวนนโยบายเรื่องสวัสดิการด้านความเป็นอยู่และสิทธิ ของนักกีฬาในสมาคมนั้น บางกรณีเกิดขึ้นทั้งสองรูปแบบด้วยซ้ำ

สมาคมชนิดกีฬาอย่างเรือใบ, ยูโด, ยิงธนู และสเกตความเร็วระยะสั้น ถูกร้องเรียนเรื่องสวัสดิการการดูแลนักกีฬาระหว่างหรือหลังจากการแข่ง โอลิมปิกเกมส์ที่บราซิล นักกีฬาอีกหลายชนิดกีฬาต่างตกเป็นข่าว รายงานการสอบสวนการจัดการภายในสมาคมจักรยานยังพบว่านักกีฬาจักรยานบีเอ็ม เอ็กซ์และจักรยานภูเขารู้สึกเป็น “พลเมืองชั้น 2” เมื่อเปรียบเทียบกับนักกีฬาประเภทลู่ ขณะที่นักแข่งหญิงประเภทถนนรู้สึกเหมือนไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่

Advertisment

นโยบายการให้งบฯสมาคมหรือหน่วยงานกีฬาของอังกฤษใช้ระบบวัดผลสมาคมกีฬาในช่วงเวลา 4 และ 8 ปีด้วยผลงาน (เหรียญรางวัล) เท่านั้น สมาคมที่ทำผลงานดีจะได้รับงบประมาณก้อนใหญ่จากรัฐบาลและกลุ่มลอตเตอรี่แห่ง ชาติ แต่ละปีกระทรวงการกีฬาให้งบฯสมาคมกีฬาที่ทำผลงานระดับท็อปกว่า 100 ล้านปอนด์

แม้นโยบายนี้ถูกมองว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สหราชอาณาจักรขยับอันดับเหรียญใน มหกรรมได้อย่างต่อเนื่อง จากอันดับ 36 ในแอตแลนต้าเกมส์ เมื่อปี 1996 จนมาสู่อันดับ 3 ในลอนดอนเกมส์ เมื่อปี 2012 แต่นโยบายนี้ทำให้หลายสมาคมโดนตัดงบฯ และทำให้เกิดบรรยากาศกดดันภายในจนเกิดปัญหาภายในตามมาในหลายสมาคมกีฬา ไม่ว่าจะเป็นข้อร้องเรียนเรื่องการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมต่อนักกีฬา ตั้งแต่การเหยียดผิว เพศ และการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ที่ไม่เป็นธรรม และไม่เท่าเทียม

นโยบายยังถูกวิจารณ์ว่าทำให้กลุ่มกีฬาไม่กี่ประเภทได้รับผลประโยชน์มากขึ้นจากผล งานที่ดี แต่ทำให้เกิดอคติต่อบางกีฬา และกีดกันกีฬาชนิดอื่น การพัฒนาชนิดกีฬาอื่น ๆ นอกเหนือจากชนิดกีฬาระดับท็อปก็หมดโอกาสไป

เมื่อพวกเขาผลงานไม่ดี และไม่ได้งบประมาณจากรัฐบาลซ้ำเข้าไปอีก คำถามคือ เมื่อไหร่พวกเขาจะทำผลงานได้ดีกันแน่ ในเมื่อสภาพความเป็นจริงในหลายชนิดกีฬาคือคำถามอีกหนึ่งข้อว่า ดาวรุ่งที่เพิ่งฉายแววจะเอาชนะคู่แข่งระดับโลกในขณะที่พวกเขายังต้องทำงาน เสริมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

Advertisment

ขณะที่นโยบายมีข้อดี แต่ข้อเสียก็เริ่มผุดให้เห็น แม้สมาคมจักรยานจะเป็นหนึ่งในสมาคมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในมหกรรมกีฬา นานาชาติ แต่ก็เป็นหนึ่งในสมาคมที่ถูกนักกีฬาดังร้องเรียนหนักหน่วงและอื้อฉาวที่สุด เช่นกัน โดยเฉพาะนักกีฬาหญิงที่ร้องเรียนเรื่องถูกเหยียดเพศ และกลั่นแกล้ง ไปจนถึงเรื่องการถูกกดดันเรื่องต่อสัญญา นักกีฬาระดับดาราของวงการจักรยานหญิงรายหนึ่งเชื่อว่าเธอไม่ได้รับต่อสัญญา เนื่องจากวิจารณ์โค้ช หลังทีมเธอไม่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในโอลิมปิกเกมส์ที่บราซิล

อดีตนักกีฬาหลายคนรวมถึงนักกีฬาพาราลิมปิกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในแดน ผู้ดีทำรายงานเรียกร้องให้ปรับปรุงการดูแลความเป็นอยู่ของนักกีฬาให้ดีขึ้น เรียกร้องให้ชั่งน้ำหนักสมดุลระหว่างสวัสดิการที่ดีกับความสำเร็จขึ้นมาใหม่ อีกครั้ง

จนล่าสุด องค์กรกีฬาสหราชอาณาจักรต้องรื้อระบบความคิด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และวัฒนธรรมในวงการเพื่อเรียกศรัทธากลับมา โดยออกไกด์สำหรับการปฏิบัติดูแลนักกีฬาตลอด 12 ระยะในเส้นทางอาชีพ พร้อมนิยามวัฒนธรรมความสำเร็จเชิงสร้างสรรค์ให้กับสตาฟผู้ฝึกสอนและทีมงาน สมาคมกีฬา

ระหว่างที่โครงสร้างกำลังจัดกระบวนทัพด้านบุคลากรและ สอบสวนภายในสมาคมต่าง ๆ กระทรวงการกีฬามีภารกิจเตรียมตัวสำหรับโอลิมปิกที่โตเกียวในปี 2020 โดยงบประมาณ 345 ล้านปอนด์ ถูกกระจายใน 31 ชนิดกีฬาที่มีแข่งในโอลิมปิกและพาราลิมปิกเกมส์

ที่ผ่านมา รัฐบาลสนับสนุนการกีฬาในแดนผู้ดีอย่างต่อเนื่อง แต่ผลกระทบด้านยอดขายที่ตกลงอาจทำให้เห็นแนวโน้มว่าสมาคมก็ไม่สามารถพึ่งพิง แหล่งทุนจากรัฐอย่างเดียวในการพัฒนานักกีฬา บรรยากาศการซ้อม และสวัสดิการความเป็นอยู่ทั่วไปของนักกีฬาเพียงอย่างเดียว แน่นอนว่านักกีฬาต้องการบรรยากาศฝึกซ้อมที่ดี และได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่เหมาะสมตลอดเส้นทางอาชีพด้วย

อย่างไรก็ตาม ประธานบอร์ดองค์กรกีฬาของอังกฤษ เพิ่งให้สัมภาษณ์ว่าไม่ต้องการขีดเส้นแบ่งระหว่างชนิดกีฬานั้น ๆ กับนักกีฬาแบบชัดเจน

มัน อาจเป็นเรื่องซับซ้อนเกินกว่าจะกำหนดเป็นระเบียบเป๊ะ แต่เชื่อว่าถ้าจะเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง มันต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม เช่นเดียวกับที่การปรับวัฒนธรรม ทัศนคติในวงการให้เหมาะสม

ก็ไม่ใช่ กรณีเลือกตัวเลือกระหว่างผลงานว่าจะต้องมาก่อนหรือเป็นปัจจัยรองสิทธิ ประโยชน์ซึ่งนักกีฬาควรจะได้รับ เพราะเรื่องทั้งสองอย่างมาควบคู่กันเสมอ