เปิดตัวเลขว่างงานทั่วประเทศไทย ประเภทว่างงาน และสาเหตุ

พนักงาน
Photo: Joao Viegas/unsplash

กรมการจัดหางานเผยการขึ้นทะเบียนของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ส่วนใหญ่เป็นการลาออกจากงาน ร้อยละ 81.87 ระบุสาเหตุต้องการเปลี่ยนงานใหม่ ประกอบอาชีพอิสระ พักผ่อน และรักษาตัว

วันที่ 5 กันยายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน เผยข้อมูล การขึ้นทะเบียนของผู้ประกันตนกรณีว่างงานผ่านระบบขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงานผ่านอินเทอร์เน็ต ของเดือนกรกฎาคม 2566 มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

ประเภทการว่างงาน

  • ลาออก 74,047 คน (ร้อยละ 81.87%) เป็นเพศชาย 31,840 คน (ร้อยละ 43) และเพศหญิง 42,207 คน (ร้อยละ 57)
  • ถูกเลิกจ้าง 12,878 คน (ร้อยละ 14.24%) เป็นเพศชาย 6,720 คน (ร้อยละ 52.18) และเพศหญิง 6,158 คน (ร้อยละ 47.82%)
  • สิ้นสุดสัญญาจ้าง 3,517 คน (ร้อยละ 3.89) เป็นเพศชาย 1,563 คน (ร้อยละ 44.44%) และเพศหญิง 1,954 คน (ร้อยละ 55.56 คน)

สาเหตุการลาออก

  • ต้องการเปลี่ยนงานใหม่ 39,108 คน
  • ประกอบอาชีพอิสระ 21,658 คน
  • พักผ่อน 7,979 คน
  • รักษาตัวเนื่องจากเจ็บป่วย 5,302 คน

เทียบปีต่อปี-เดือนต่อเดือน-พื้นที่

การขึ้นทะเบียนของผู้ประกันตนกรณีว่างงานเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน (เดือนกรกฎาคม 2565 และเดือนกรกฎาคม 2566) จำนวน 7,225 คน (+8.68% YOY)

เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ก่อนจำนวน 1,537 คน (+1.73% MOM)

กรุงเทพมหานคร มีจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน 27,090 คน

Advertisment

ภาคกลาง มีจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน 17,858 คน

ภาคตะวันออก มีจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน 13,431 คน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน 10,043 คน

ภาคเหนือ มีจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน 8,036 คน

Advertisment

ภาคตะวันตก มีจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน 7,224 คน

ภาคใต้ มีจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน 6,760 คน