“มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด” ปรับแบรนด์เข้าสู่โลกยุคดิจิทัล

ออกซฟอร์ด

กล่าวกันว่า สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford University Press : OUP) ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก เปิดตัวการปรับแบรนด์ใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของแบรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมุ่งสู่การเป็นสำนักพิมพ์ที่เน้นด้านดิจิทัล เป็นหลัก เพื่อทำให้องค์ความรู้และการเรียนรู้ต่าง ๆ สามารถเข้าถึงได้มากขึ้นผ่านการใช้เทคโนโลยี

สำหรับ OUP พัฒนาองค์ความรู้และการเรียนรู้มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และในปัจจุบัน OUP ผลิตสื่อและบริการคุณภาพสูงสำหรับผู้เรียนและนักวิจัยทั่วโลกใน 3 ตลาดหลัก ได้แก่ การวิจัย, การศึกษา และการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

ทั้งนั้น เพราะ OUP เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทยังคงอยู่ในระดับแนวหน้าของวงการการศึกษานี้ ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

“ไนเจล พอร์ทวูต” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Nigel Portwood, CEO of Oxford University Press) กล่าวถึงการปรับแบรนด์ใหม่นี้ว่าเราเป็นผู้นำด้านการศึกษาและการวิจัยมาโดยตลอด และตระหนักถึงบทบาทสำคัญ ที่เราสามารถทำได้ในการช่วยเหลือผู้คนและสังคมให้ก้าวหน้าผ่านองค์ความรู้และการเรียนรู้

“เป็นเวลาหลายปีแล้วที่เราเดินหน้าขับเคลื่อนสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ถึงแม้ผลงานสิ่งพิมพ์ยังคงเป็นที่ต้องการอยู่ในขณะนี้ เราคาดว่าจะเห็นถึงความเชื่อมั่นต่อเครื่องมือและทรัพยากรด้านดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นในตลาดหลักทั้งหมดที่เราดำเนินธุรกิจอยู่”

“การปรับแบรนด์ใหม่นี้ช่วยสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของเราในรูปแบบดิจิทัล แสดงให้เห็นว่าเรากำลังปรับเปลี่ยนบทบาทของเราอย่างไร รวมถึงความตั้งใจของเราที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคต เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและชุมชนของเราที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา”

“ไนเจล พอร์ทวูต” กล่าวต่อว่า นอกจากนั้น OUP ยังคงพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องให้ได้มากที่สุด ซึ่งเทคโนโลยีใหม่ ๆ ถือได้ว่าเป็นตัวเร่งที่สำคัญมากขึ้นในช่วงโควิด-19 เพราะ OUP พัฒนาแพลตฟอร์ม รวมทั้งเพิ่มความพร้อมของทรัพยากรด้านดิจิทัลจำนวนมาก และถูกนำมาใช้ในการสอน การเรียนรู้และการวิจัยทั่วโลกอย่างกว้างขวาง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

“ตั้งแต่เริ่มเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดขึ้น รวมถึงศูนย์กลางการวิจัยโควิด-19 แบบออนไลน์ ที่มีกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพต่าง ๆ เช่น การประชุมสอนภาษาอังกฤษออนไลน์ (English Language Teaching Online Conference : ELTOC) ซึ่งมีครูเข้าร่วมทั้งสิ้นกว่า 53,000 คนจากทั่วโลก การอัพเดตแพลตฟอร์มการศึกษาออนไลน์ที่สำคัญ เช่น MyMaths เพื่อสนับสนุนผู้สอนจากที่บ้าน ซึ่งจนถึงปัจจุบันมีผู้เข้าดูแล้วถึง 30 ล้านครั้ง”

ทั้งนั้น เพราะ OUP คือผู้นำในด้านการศึกษา

ผลเช่นนี้ OUP จึงจัดงาน Forum for Educators : Learning Beyond Tomorrow ผ่านช่องทางออนไลน์ ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งจะมีผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญมาร่วมสนทนากันถึงหัวข้อสำคัญต่าง ๆ เช่น การสร้างความรู้ทางดิจิทัล ความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ทางดิจิทัล (digital divide) และการปรับปรุงการเข้าถึงการศึกษา