นันธิกา-ประเสริฐ แคนดิเดทปลัดกระทรวงพลังงานคนใหม่ สะทือนถึงผู้ว่าฯกฟผ.คนใหม่

นันธิกา-ประเสริฐ

เป็นที่ทราบกันดีว่า ‘นายกุลิศ สมบัติศิริ’ ปลัดกระทรวงพลังงาน คนปัจจุบันกำลังจะครบวาระ เกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 66 หลังจากได้ต่ออายุมา 1 ปีตามมติของคณะรัฐมนตรี ( ครม.) ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับการเปลี่ยนผ่านคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ทำให้หลายฝ่ายได้มีการคาดการณ์ตัวบุคคลที่จะเข้ามารับตำแหน่ง “ปลัดกระทรวงพลังงานคนใหม่”

กระแสปรากฏชื่อ บุคคลที่ขึ้นต้นด้วย น. และ ป. ซึ่งหลายฝ่ายมองตรงกันว่าจะเป็นการแข่งขันกันระหว่าง นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน และนาย ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน

ซึ่งทั้งสองท่านต่างมีความสามารถ และมีประสบการณ์ทำงานในกระทรวงพลังงานมาอย่างยาวนาน

เปิดประวัติ 2 แคนดิเดท

สำหรับ นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช เกิดวันที่ 6 ธันวาคม 2508 มีอายุ 58 ปี

ในส่วนของการทำงาน เคยรับตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงพลังงาน ผู้ตรวจราชการกระทรวง กระทรวงพลังงาน

Advertisment

ส่วนคุณวุฒิการศึกษาจบปริญญาโท ศิลปศาสตร์ (การวางแผนภาคและเมือง) Long Island University สหรัฐอเมริกา ปริญญาตรี ศิลปศาสตร์ (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ทั้งยังมี ประวัติการเข้าอบรมที่สำคัญในหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 61 ปี 2561 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ หลักสูตรสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่นที่ 248 ปี 2560 หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน (วพน.) รุ่นที่ 7 ปี 2558 สถาบันวิทยาการพลังงาน

หลักสูตรการกำกับดูแลกิจการสำหรับกรรมการและผู้บริหารระดับสูงขององค์กรกำกับดูแล (Regulator) รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน รุ่นที่ 10 ปี 2555 สถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-GEP) รุ่นที่ 2 ปี 2553

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หลักสูตรสร้างความเข้มแข็งผู้ตรวจราชการกระทรวง ประจำปี 2553

Advertisment

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

หลักสูตรนักบริหารระดับสูง (นบส.1) รุ่นที่ 66 ปี 2552 สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน (สพข.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

ขณะที่ นายประเสริฐ สินสุขประเสริ ประเสริฐ เกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2509  ปัจจุบัน อายุ  57 ปี มีประสบการณ์การทำงาน

ในตำแหน่งรองปลัดกระทรวงพลังงาน ผู้ตรวจราชการ กระทรวงพลังงาน และรองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน

ขณะที่ประวัติด้านการศึกษา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (ไฟฟ้า) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท วิศวกรรมพลังงาน จาก George Washington University  และปริญญาเอก ด้าน Energy Management and Policy จาก University of Pennsylvania ประเทศสหรัฐอเมริกา

ทั้งยังมีประวัติการอบรมที่สำคัญในหลักสูตร Director Certification Program (DCP 229/2016) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง (วตท.) รุ่นที่ 29 สถาบันวิทยาการตลาดทุน

Senior Executive Fellows ปี 2559, Harvard University, Boston, Massachusetts ประเทศสหรัฐอเมริกา

หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 58 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ด้านการค้าและการพาณิชย์ (TEPCoT) สถาบันวิทยาการการค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

วาระร้อนรอแล้ว

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น ชื่อใดที่ก้าวมารับตำแหน่ง.มีภาระกิจเผือกร้อนที่รออยู่ เพื่อเตรียมประเด็นด้านพลังงานไว้สำหรับ การพิจารณาของรัฐบาลใหม่ นอกจากเรื่องการวางแนวทางลดค่าไฟฟ้า และน้ำมันแล้ว

ยังมีเรื่องการจัดทำแผนพลังงารแห่งชาติ นโยบายเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนว่ารัฐบาลจะเดินหน้าต่อหรือไม่ ในหลายโครงการ เช่น โรงไฟฟ้าชุมชน ที่ทำแล้ว 150 เมกะวัตต์ โครงการพลังงานหมุนเวียน (RE) การบริหารจัดการ  GAS Pool ตลอดจนการเตรียมเจรจาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ให้คนไทยเข้าถึงพลังงานในราคาที่เหมาะสมอีกด้วย

กฟผ.อีกตำแหน่ง

ไม่เพียงเท่านั้น ในส่วนของตำแหน่งสำคัญที่จะเกี่ยวข้องกับการทำงานของปลัดกระทรวงพลังงาน อีก 1 เรื่อง คือ การสรรหาผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย แทนนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการกฟผ.คนปัจจุบันที่จะเกษียณในวันที่ 21 สิงหาคม 2566

ซึ่งแม้ว่าเดิม คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลรักษาการเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม2566 มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้ง นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไปนั้น แต่ทว่า จากการเสนอเรื่องนี้ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กลับถูกตีกลับ

ทำให้เกิดภาวะสุญญากาศ ที่ต้องรอ คณะรัฐมนตรีเสนอกลับไปที่ กกต.อีกรอบ

แต่มีแนวโน้มว่าอาจจะไม่มีการเสนอไปซ้ำ และปล่อยให้วาระการทำงานสิ้นสุดไป ซึ่งจะมีผลมำให้ต้องเริ่มกระบวนการสรรหา ผู้ว่า กฟผ.ใหม่อีกรอบ โดยรอบนี้ อาจจะเป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงพลังงานคนใหม่ในฐานะ ประธานบอร์ด กฟผ.

อย่างไรก็ตามระหว่างนี้จะมีการ แต่งตั้ง ผู้ที่จะมารักษาการในตำแหน่ง ผู้ว่า กฟผ. แทน โดยจะมีการประชุมบอร์ด กฟผ. ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566 นี้

แน่นอนว่า ผลกระทบจากความล่าช้าของการแต่งตั้งโยกย้าย จะเชื่อมโยงถึงการทำงาน ใน กฟผ. ซึ่งเป็นหน่วยงานทัพหน้าสู่การเปลี่ยนผ่านของภาคพลังงาน เช่นเดียวกับทั่วโลก มุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) 2050 ถือเป็นโอกาส และความท้าทายของทุกประเทศ ที่ต้องเร่งเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ในขณะที่ยังต้องรักษาความมั่นคง ความยืดหยุ่นและคุณภาพของระบบ และที่สำคัญ กฟผ.ยังต้องวางแนวทางดูแลค่าไฟฟ้า ท่ามกลางภาระหนี้ค่าไฟฟ้า 1 แสนล้าน ไปอีก 2 ปี