ส่งออกไทย มี.ค. ปี’67 หดตัว 10.9% ครั้งแรกในรอบ 8 เดือน

ส่งออก

สนค. เผยส่งออก มี.ค. 67 หดตัว 10.9% ครั้งแรกในรอบ 8 เดือน จับตาภูมิรัฐศาสตร์-เศรษฐกิจโลก คาดไตรมาส 2 โต 2%

วันที่ 29 พฤษภาคม 2567 นายพูนพงษ์ นัยนาภาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนังานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนมีนาคม 2567 มีมูลค่า 24,960.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (892,290 ล้านบาท) หรือคิดเป็น 892,290 ล้านบาท ซึ่งหดตัวร้อยละ 10.9 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

เนื่องจากฐานการส่งออกที่สูงในเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่เผชิญความไม่แน่นอนและขยายตัวต่ำ จากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลายพื้นที่ อีกทั้งการดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างเข้มงวดยาวนาน ส่งผลต่อกำลังซื้อปัญหาหนี้สิน และการตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจ รวมถึงสภาพอากาศแปรปรวนทำให้อุปทานของสินค้าเกษตรออกสู่ตลาดล่าช้า

แต่อย่างไรก็ตามยังได้ปัจจัยสนับสนุนจากประเทศคู่ค้าที่ยังมีความต้องการความมั่นคงด้านอาหารและการใช้บริโภคในประเทศ โดยเฉพาะข้าว พบได้จากการสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าในระดับสูง เช่น ประเทศอินโดนีเซียที่บวกถึงร้อยละ 815.9 อีกเรื่องคือการเติบโตเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวและการบริการ อาทิ โรงแรม ภัตตาคารและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ทั้งนี้ การส่งออกไทยไตรมาสแรกของปี 2567 หดตัวร้อยละ 0.2 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 1.3

โดยภาพรวมไตรมาสแรกของปี 2567 การส่งออกมีมูลค่า 70,995.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 2,504,009 ล้านบาท หดตัว 0.2% ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 75,470.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 3.8 ดุลการค้าไตรมาสแรกของปี 2567 ขาดดุล 4,475.2 ล้านเหรียญสหรัฐ การนำเข้า มีมูลค่า 75,470.5 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 2,692,023 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.8 โดยดุลการค้าไตรมาสแรกของปี 2567 ขาดดุล 4,475.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 188,014 ล้านบาท

Advertisment

ทว่า ก็ต้องเฝ้านะวังสถานการณ์ภูรัฐศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง รวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งภายในประเทศเมียนมา เนื่องจากการส่งออกสินค้าไปประเทศเมียนมาต้องผ่านทางด่านแม่สอดถึง 78% แต่อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2567 พบว่า สถานการณ์อยู่ในความสงบ ประชาชนยังสัญจรได้ตามปกติ แต่เส้นทางสำหรับรถขนส่งสินค้าขนาดใหญ่กำลังอยู่ระหว่างการซ่อมแซมทำความสะอาด คาดว่าจะเปิดได้ในเร็ววันนี้ ซึ่งขณะนี้ก็ได้ปรับใช้เส้นทางอื่นหรือด่านอื่นทดแทนมากยิ่งขึ้น

พูนพงษ์ นัยนาภาภรณ์

แนวโน้มส่งออกไตรมาส 2

นายพูนพงษ์กล่าวว่า มีโอกาสที่การส่งออกในไตรมาส 2 จะขยายตัวถึง 2% จากปัจจัยสินค้าเกษตร อาทิ ข้าว ยางพารา อาหารสัตว์เลี้ยง และผลไม้ที่ออกล่าช้า อาทิ ทุเรียน ที่ออกลากยาวจนถึงต้นเดือนเมษายน รวมถึงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในวัฏจักรฟื้นตัว กระแสพลังงานสะอาดและยานยนต์ไฟฟ้าที่กำลังมาแรง นอกจากนี้ยังได้แรงเสริมจากค่าเงินบาท 36-37 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐ และค่าระวางเรืออยู่สถานการณ์ปกติ

ส่วนการส่งออกของไทยในปี 2567 จะยังขยายตัวได้จากสินค้าเกษตรและอาหารที่ไทยมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ท่ามกลางภาวะขาดแคลนอาหารทั่วโลกและภาวะสงครามในบางประเทศ ทำให้ความต้องการสินค้าอาหารยังอยู่ในระดับสูง สำหรับภาคการผลิตโลกยังคงทยอยฟื้นตัวส่งผลบวกต่อการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สมาร์ทโฟน และเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ก็ยังต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ในหลายพื้นที่ทั่วโลก รวมถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว 5.1% YOY

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 5.1 (YOY) โดยสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 0.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 9.9 แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 30.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐ อินโดนีเซีย โมซัมบิก มาเลเซีย และญี่ปุ่น) ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 36.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และสเปน) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 1.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐ ออสเตรเลีย อิสราเอล ลิเบีย และแคนาดา)

Advertisment

ส่วนอาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 29.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐ ญี่ปุ่น อิตาลี มาเลเซีย และออสเตรเลีย) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 20.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์) สิ่งปรุงรสอาหาร ขยายตัวร้อยละ 9.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐ ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และเยอรมนี) นมและผลิตภัณฑ์จากนม ขยายตัวร้อยละ 19.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม และญี่ปุ่น)

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 16.7 (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย และเกาหลีใต้ แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย สหรัฐ ฟิลิปปินส์ อินเดีย และออสเตรเลีย) น้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 45.6 (หดตัวในตลาดอินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ และมาเลเซีย แต่ขยายตัวในตลาดกัมพูชา ลาว นิวซีแลนด์ เวียดนาม และจีน) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง หดตัวร้อยละ 38.7 (หดตัวในตลาดจีน สหรัฐ อินโดนีเซีย ฮ่องกง และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่ขยายตัวในตลาดเกาหลีใต้ มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม และญี่ปุ่น)

ส่วนไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ หดตัวร้อยละ 50.2 (หดตัวในตลาดอินเดีย
เมียนมา มาเลเซีย กัมพูชา และจีน แต่ขยายตัวในตลาดเวียดนาม เกาหลีใต้ ฮ่องกง ลาว จีน และเบลเยียม) ทั้งนี้ ไตรมาสแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 0.3

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัว 12.3% YOY

มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 12.3 (YOY) ซึ่งมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 4.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐ เนเธอร์แลนด์ ไต้หวัน เม็กซิโก และสหราชอาณาจักร) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ขยายตัวร้อยละ 3.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐ เวียดนาม และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 12.4 (หดตัวในตลาดฟิลิปปินส์ เม็กซิโก มาเลเซีย แอฟริกาใต้ และอินโดนีเซีย แต่ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และนิวซีแลนด์) สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัวร้อยละ 10.5 (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวในตลาดอินเดีย ลาว ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง และไต้หวัน) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 11.8 (หดตัวในตลาดสหรัฐ ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเยอรมนี
แต่ขยายตัวในตลาดจีน เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)

อีกทั้งยังมีเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 12.7 (หดตัวในตลาดสหรัฐ อิตาลี ฝรั่งเศส สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และไต้หวัน แต่ขยายตัวในตลาดเวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น สเปน และออสเตรเลีย) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด หดตัวร้อยละ 16.1 (หดตัวในตลาดอินเดีย เวียดนาม ญี่ปุ่น จีน และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐ ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ และสาธารณรัฐเช็ก) ทั้งนี้ ไตรมาสแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 0.3

ตลาดส่งออก จับตาเศรษฐกิจจีน

ตลาดส่งออกสำคัญส่วนใหญ่หดตัว อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปสหรัฐ ทวีปออสเตรเลีย และกลุ่มประเทศ CLMV ยังขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้

(1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 9.1 โดยหดตัวในตลาดจีน ร้อยละ 9.7 ญี่ปุ่น ร้อยละ 19.3 สหภาพยุโรป ร้อยละ 0.1 และอาเซียน ร้อยละ 26.1 แต่ยังขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 2.5 และ CLMV ร้อยละ 0.5

(2) ตลาดรอง หดตัวร้อยละ 4.3 โดยหดตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 6.1 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 7.3 แอฟริกา ร้อยละ 11.9 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 10.2 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 14.2 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 19.3 ขณะที่ตลาดทวีปออสเตรเลีย ขยายตัวร้อยละ 13.5 (3) ตลาดอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 82.3 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ หดตัวร้อยละ 87.3

– ตลาดสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ ยางยานพาหนะ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ และเครื่องรับโทรศัพท์และอุปกรณ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ไตรมาสแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 9.9

– ตลาดจีน หดตัวร้อยละ 9.7 (หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ยางพารา ไม้แปรรูป และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ไตรมาสแรกของปี 2567 หดตัวร้อยละ 5.1