จัดทัพทูตพาณิชย์ ดันส่งออกปี 2567 โต 2%

ส่งออกสินค้า การขนส่งสินค้า ตู้คอนเทนเนอร์
Photo by Bernd 📷 Dittrich on Unsplash

จัดทัพทูตพาณิชย์ ดันเป้าหมายการส่งออกไทยปี 2567 โต 2% รับมือสงครามการค้าโลก ภูมิรัฐศาสตร์เดือด ในไตรมาส 2  เล็งตั้งสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศประจำตลาดใหม่ศักยภาพสูง  ‘คาซัคสถาน’

วันที่ 17 เมษายน 2567  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่าการส่งออกของไทยในปี 2567 จะกลับมาขยายตัว 1.99% มูบค่า 10 ล้านล้านบาทจากปี 2566 ที่ติดลบ 1% แม้ว่าจะยังอยู่ท่ามกลางเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจคู่ค้าได้รับที่ผลกระทบจาปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ที่ส่งผลต่อราคาพลังงาน

ซึ่งสอดรับกับมุมมอง คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่ประเมินว่าการส่งออกไทยโต 2-3% ส่วนสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) มองการส่งออกไทยโต 1-2%

หัวใจสำคัญในการผลักดันการส่งออกขยายตัวได้ตามเป้าหมาย ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ คือ การส่งสริมสินค้าไทย ขยายการทำตลาดในต่างประเทศตาในโยบาย ‘เซลล์มแมน” เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลังนั้น จำเป็นต้องใช้แม่ทัพออกไปบุกเป็นด่านหน้า  ซึ่งนั่นคือ ‘ทูตพาณิชย์’

ปัจจุบันไทยมีหน่วยงานประจำอยู่ในต่างประเทศ 62 แห่ง แยกเป็นสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) 58 แห่ง และสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ (สพต.) 4 แห่ง และผู้ที่ช่วยทำหน้าที่แทนประเทศไทย โดยเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ด้านการค้าระหว่างประเทศของกระทรวงพาณิชย์ (HTAs) 33 ราย ใน 23 ประเทศ และผู้แทนการค้าไทย (Trade Representative) 5 ราย จึงจำเป็นต้องมีการปรับให้สอดรับกับบริบทการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลง

มอบโนยายส่งออก

ล่าสุดนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  ได้มอบนโยบายให้กับผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ และ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) ทั้ง 58 แห่ง 41 ประเทศ ในการผลักดันการค้า-การส่งออ โดยเฉพาะให้ทูตพาณิชย์เป็นทัพหน้าร่วมกับพาณิชย์จังหวัด ในการเฟ้นหาสินค้าไทยที่มีศักยภาพ สร้างจุดแข็ง ดันส่งออกสินค้า ยกระดับผู้ประกอบการในท้องถิ่นให้เกาะเกี่ยวในห่วงโซ่ไปสู่ตลาดต่างประเทศ

ทั้งยังได้ล็อคเป้า 10 ประเทศเป้าหมาย ภายใต้นโยบายการทูตเศรษฐกิจเชิงรุก คือ สหรัฐ จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี  ฝรั่งเศส อินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลีใต้ ซาอุดิอาระเบีย และแอฟริกาใต้ เพื่อจะขับเคลื่อนการส่งออกด้วย

“พาณิชย์จังหวัด และทูตพาณิชย์จะต้องทำงานเชิงรุก วางระบบติดตามสถานการณ์สินค้าเกษตรที่จะออกสู่ตลาดตามฤดูกาล เตรียมการตอบสนองข้อเรียกร้อง และรับมือกับปัญหาล่วงหน้าได้ เพื่อตอบสนองตลาดทั้งภายในและประเทศ หา Influencer ดันส่งออก ร้าน Thai SELECT ผลักดันให้เป็น Soft Power ซึ่งการทำงานล้วนจะมีการวัดผลเพื่อให้ได้คนที่เหมาะสมกับการทำงานด้วย”

” บทบาททูตพาณิชย์ จึงเป็นส่วนสำคัญของทัพหน้าในการเปิดตลาดสินค้าให้กับผู้ส่งออกไทย จัดกิจกรรมหาคู่ค้าเจรจาสินค้าไทยกับผู้นำ ประชาสัมพันธ์สินค้าไทย ”

เขย่า สคต.

ขณะที่ผ่านมา นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ มีแผนที่จะปรับย้ายสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศบางแห่ง เพื่อไปเปิดสำนักงานใหม่ในตลาดที่มีโอกาสเพิ่มยอดการค้าและการส่งออก เช่น ประเทศคาซัคสถาน ซึ่งเป็นตลาดใหม่ที่มีโอกาสทางการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันสูงมาก

อีกทั้ง ยังมีแนวโน้มว่าใน 1-2 เดือนนี้จะมีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายตามวาระครบ 4 ปี ของทูตพาณิชย์ในต่างประเทศ จะมีการปรับเปลี่ยน โยกย้ายเพื่อให้เกิดความเหมาสมในการทำงาน โดยเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา มีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายทูตพาณิชย์ ในต่างประเทศ เช่น ทูตพาณิชย์ประจำประเทศอินเดีย ,เมียนมา ,ฮ่องกง ,จีน ,เกาหลีใต้ เป็นต้น

ส่วนในปี 2567 นี้จะมีการปรับโยกย้ายตามวาระ เช่น ทูตพาณิชย์แอฟริกา นายอภิรักษ์ แพพ่วง ซึ่งครบวาระ โดยจะมีนางวิชดา อัครเมธาทิพย์ เข้าไปรับหน้าที่ต่อ ทูตพาณิชย์อินเดีย ประจำนิวเดลี นางสาวสายทอง สร้อยเพชร ครบวาระ โดยจะมี นางสาวสจิรา ปานจนะ  เข้าไปรับหน้าที่ต่อ เสริมทัพให้กับทูตพาณิชย์เยอรมัน ประจำนครแฟรงก์เฟิร์ต นายพงฐ์เขตต์ รัชตะทรัพย์  เข้าไปเป็นผู้ช่วยคนใหม่  ส่วนสำนักงานในประเทศอื่นๆก็ยังรอการพิจารณาว่าครบวาระแล้วหรือไม่

จัด 417 กิจกรรมส่งออก

สำหรับแผนเร่งรัดการส่งออกปี 2567 กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับภาคเอกชนจัดทำแผนเร่งรัดการส่งออกระยะ 1 ปี ประกอบด้วยกิจกรรมทั้งหมด 417 กิจกรรม คาดการณ์มูลค่าส่งออก 65,700 ล้านบาท ได้แก่

1.ตลาดตะวันออกกลางและแอฟริกา 29 กิจกรรม 2.ตลาดจีนและฮ่องกง จำนวน 38 กิจกรรม 3.ตลาดเอเชียใต้ 12 กิจกรรม 4.ตลาดอาเซียน 29 กิจกรรม 5.ตลาดอเมริกา 24 กิจกรรม 6.ตลาดยุโรป 59 กิจกรรม 7.ตลาดเอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย 25 กิจกรรม และ 8.ทุกตลาด รวม 132 กิจกรรม เช่น จัดงานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศไทย กิจกรรมจับคู่ธุรกิจทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ และอยู่ภายใต้ 5 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่

1.การเปิดประตูโอกาสทางการค้า เชิงรุก สู่ตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ ควบคู่ไปกับการรักษาตลาดเดิม โดยเดินสายสร้างสัมพันธ์ทั่วโลก เร่งผลักดันการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) เจาะตลาดเมืองรองศักยภาพ บูรณาการการทำงานระหว่างทูตพาณิชย์กับพาณิชย์จังหวัดให้เข้มข้นขึ้น เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากท้องถิ่นสู่ตลาดโลก เร่งสร้างรายได้ภาคการเกษตร

2.การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการส่งออก ด้วยแบรนด์ นวัตกรรม การออกแบบ และการสอดแทรกคุณค่าอัตลักษณ์ความเป็นไทย โดยมุ่งผลักดัน 11 สาขา soft power เป้าหมาย รุกสู่เวทีโลก

3.การผลักดันภาคธุรกิจไทยปรับตัวเข้าสู่การค้าโลกในยุคดิจิทัล และส่งเสริม Cross-border E-Commerce

4.การสานต่อนโยบาย Carbon Neutrality ผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อสร้างโอกาสทางการค้า ภายใต้มาตรการกีดกันทางการค้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม โดยเดินหน้าบ่มเพาะผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจตามแนวคิด BCG และส่งเสริมออกสู่ตลาดโลก

5.การยกระดับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย (Logistics Service Providers) และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในภูมิภาค เพื่อยกระดับประเทศไทยเป็น Logistics Hub ของภูมิภาค