“เฉลิมชัย” ยันฤดูฝนปี’65 มีน้ำเก็บมากกว่าปีก่อน

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

“เฉลิมชัย” ยันฤดูฝนปีนี้’65 มีน้ำเก็บมากกว่าปีที่ผ่านมา แม้ประเมินปริมาณฝนตกมากกว่าค่าปกติร้อยละ 3 คาดตกชุกช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย. พร้อมรับมือคาดการณ์พายุเต็มที่ วางแผนปลูกข้าวรัดกุม 

วันที่ 9 พฤษภาคม 2565 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายและแนวทางการบริหารจัดการน้ำฤดูฝน ปี 2565 ว่า ผลสรุปการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งที่สิ้นสุดลงภาพรวมเป็นไปตามเป้าตามที่วางแผนไว้ โดยที่ผ่านมาได้เน้นย้ำการบริหารจัดการน้ำยามวิกฤตต่าง ๆ ทั้งภัยแล้งและอุทกภัยได้เต็มที่ ซึ่งกรมชลประทานสามารถวางแผนได้อย่างดี ประกอบกับนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาอนุมัติงบประมาณเครื่องจักรกลมาเสริมจึงสามารถบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะที่ฤดูฝนปีนี้ขอให้ทุกหน่วยงานวางแผนบริหารจัดการน้ำให้ดีที่สุด เกษตรกรควรเก็บกักน้ำฝนให้ได้มากที่สุด และใช้น้ำทุกหยดให้มีคุณค่า เพราะต้นทุนน้ำมีคุณค่ามากไปถึงอีก 3-5 ปีข้างหน้า เเละเพื่อสำรองได้ในฤดูถัดไป ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ประเมินว่าฝนปีนี้จะมีน้ำกักเก็บในพื้นที่มากกว่าปีที่ผ่านมา มั่นใจว่าจะไม่ขาดแคลนน้ำเด็ดขาด

ส่วนที่คาดการณ์ว่าพายุจะเข้าประเทศไทย 2-3 ลูก ในปีนั้นตอบไม่ได้ว่าพายุเข้ามามากน้อยแค่ไหนแต่ได้สั่งการให้กรมชลประทานเตรียมความพร้อม ทั้งบุคลากรและเครื่องมือเครื่องสูบน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า พร้อมประชาสัมพันธ์ประเมินสภาพอากาศน่วมกับกรมอุตุนิยมวิยาและหน่วยงานด้านน้ำทุกหน่วยงานอย่างใกล้ชิดโดยไม่ประมาท

อย่างไรก็ดี ต้นทุนน้ำปีนี้ดีกว่าปีที่ผ่านมา จากการเก็บกักน้ำบวกกับการบริหารน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคมาก่อน จึงไม่มีขาดแคลน และวางเเผนว่าจะปลูกได้จำนวนเท่าไหร่ นอกจากนี้ ปีนี้จะกำหนดแผนเพาะปลูกตามปริมาณน้ำต้นทุนซึ่งได้ให้กรมส่งเสริมการเกษตรทำแผนปลูกพืชใช้น้ำน้อยอาหารสัตว์ อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ประมาณ 1 ล้านไร่ คาดว่าสัปดาห์นี้จะทราบแผน อีกทั้งสั่งการกรมการข้าวให้หาพันธุ์ข้าวมีประสิทธิภาพ และประสานกระทรวงพาณิชย์มองหาตลาดใหม่ ๆ อาทิ ตะวันออกกลาง

“เราตอบไม่ได้ว่าพายุเข้ามาเต็ม ๆ หรือเข้ามาเฉียด ๆ แต่เราต้องพร้อม 100% เราไม่ได้มีเสื้อตัวเดียวแล้วใส่ทุกพื้นที่แต่เรามีเสื้อให้ใส่แต่ละพื้นที่ เพราะแต่ละที่มีปัญหาของตัวเอง จะต้องบริหารน้ำอย่างดีที่สุด เป็นหลักประกันให้พี่น้องประชาชนว่าท่านไม่ต้องกังวล เราบริหารจัดการน้ำโดยยึดความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนเป็นตัวตั้ง”

“ส่วนข้อกังวลปัญหาราคาข้าวที่ตกที่อาจกระทบจากปัญหาน้ำ สภาพอากาศในฤดูฝนที่จะถึง สเรามีการกำหนดพื้นที่ปลูกอย่างชัดเจน ก็ต้องขอความร่วมมือเกษตรกรให้เพาะปลูกตามแผน ซึ่งจะเกิดความเสียหายน้อยที่สุด ไม่มีใครอยากให้ราคาพืชผลทางเกษตรตกต่ำแต่หลักการตลาด อุปสงค์-อุปทาน เป็นสิ่งที่สอดคล้องกัน ถ้าเราทำงานร่วมกันได้ปัญหาก็จะไม่มี” นายเฉลิมชัยกล่าว

ด้านนายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า การบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งปี 2564/65 ได้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อวันที่ 30 เมษายน ที่ผ่านมานี้ ผลการจัดสรรน้ําเพื่อการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ การเกษตร รวมไปถึงการ ควบคุมค่าความเค็มในแม่น้ําสายหลักต่าง ๆ เป็นไปตามแผนที่วางไว้อย่างเพียงพอตลอดฤดูแล้ง โดยปฏิบัติตามมาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ําฤดูแล้งปี 2564/65 ทั้ง 8 มาตรการอย่างครบถ้วน อีกทั้งยังมีปริมาณน้ําสํารองนํ้าไว้ใช้ ในช่วงต้นฤดูฝนปี 2565

ส่วนการจัดสรรน้ําในภาพรวมทั้งประเทศ พบว่ามีการใช้น้ําไปทั้งสิ้น 22,998 ล้าน ลบ.ม. (แผนจัดสรรน้ําทั้ง ประเทศจัดสรรไว้รวมทุกกิจกรรม 22,280 ล้าน ลบ.ม. สํารองน้ําต้นฤดูฝน 15,557 ล้าน ลบ.ม.) เกินแผนที่ตั้งไว้ เล็กน้อย ด้านผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งทั้งประเทศ มีการเพาะปลูกรวมกว่า 8.11 ล้านไร่ (แผนวางไว้ 6.41 ล้านไร่)

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าปีนี้เราส่งน้ําเกินแผนไปประมาณ 718 ล้าน ลบ.ม. แต่เกษตรกรสามารถทําการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งได้เพิ่มอีก 1.7 ล้านไร่ ซึ่ง 2-3 ปีก่อนหน้านี้ ได้ขอความร่วมมือพี่น้องเกษตรกรให้ชะลอการทํานาปรัง เนื่องจากมีปริมาณน้ําไม่เพียงพอแต่ในฤดูแล้งที่ผ่านมา กรมชลประทานสามารถบริหารจัดการน้ําในช่วงฤดูแล้ง ตามปริมาณน้ําต้นทุนที่มีอยู่ได้อย่างเต็มศักยภาพ ด้วยการจัดสรรน้ําอย่างประณีต ทําให้พี่น้องเกษตรกรในเขตชลประทานมีรายได้จากการเพาะปลูกพืช

ส่วนน้ําสํารองต้นฤดูฝนที่เราคาดการณ์ไว้ว่าจะต้องสํารองประมาณ 15,557 ล้าน ลบ.ม. ปรากฏว่าในวันเริ่มต้นฤดูฝน วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เรามีน้ําต้นทุนอยู่ 19,950 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ 4,393 ล้าน ลบ.ม. ถือว่าเป็นกําไร นอกจากนี้ ยัง ได้ดําเนินโครงการจ้างแรงงานชลประทานเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง ที่จนถึงขณะนี้มีการจ้างงานไปแล้วกว่า 74,000 คน” นายประพิศฯ กล่าว

ในส่วนของสถานการณ์ฤดูฝนของประเทศไทย ปี 2565 กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าปีนี้จะเริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2565 ซึ่งใกล้เคียงปกติและจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม 2565 โดยปริมาณฝนรวมของทั้ง ประเทศในช่วงฤดูฝนตกมากกว่าค่าปกติร้อยละ 3 ซึ่งต่ำกว่าปี 2564 ที่ผ่านมา ที่มีฝนตกสูงกว่าค่าปกติถึงร้อยละ 8 ทั้งนี้ ในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคมจะเป็นช่วงที่ฝนจะตกน้อย หลังจากนั้นฝนจะตกชุกหนาแน่นในช่วงเดือน สิงหาคมถึงกันยายน

สําหรับแผนการจัดสรรน้ําและการเพาะปลูกพืชฤดูฝนปี 2565 กรมชลประทาน ได้วางแผนบริหารจัดการน้ํา โดย ส่งเสริมการเพาะปลูกพืชฤดูฝนให้ใช้น้ําฝนเป็นหลัก ใช้น้ําชลประทานเสริมกรณีฝนทิ้งช่วงหรือปริมาณฝนตกน้อยกว่า คาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ที่สําคัญได้วางแผนบริหารจัดการน้ําภายใต้มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 ทั้ง 13 มาตรการ ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 โดยได้เตรียมการรับมือปัญหาอุทกภัย

ด้วยการกําหนดวิเคราะห์พื้นที่ เสี่ยงน้ําท่วม ปริมาณน้ําในอ่างเก็บน้ํา ปริมาณน้ําในลําน้ํา กําหนดคน กําหนดผู้รับผิดชอบในพื้นที่ต่างๆ ที่อาจจะได้รับ ผลกระทบ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานจังหวัด ร่วมกันติดตามและวิเคราะห์หรือคาดการณ์สถานการณ์น้ําในลําน้ํา การจัดสรรทรัพยากร เช่น เครื่องสูบน้ําเครื่องจักรกล รถขุด รถแทรกเตอร์ หรือเครื่องมือต่างๆ ให้พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา เพื่อลดผลกระทบเกษตรกรให้มากที่สุด