คลัสเตอร์มะพร้าวบูม SME ตอบรับดีทะลุเป้า 3,300 ราย

สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้าโครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2560 ในกลุ่มอุตสาหกรรมมะพร้าวตามที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงาน ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) เผยเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว ผู้ประกอบการภาคการผลิตและแปรรูปทั่วประเทศตอบรับดี สมาชิกเครือข่ายทะลุเป้า 3,300 รายแล้ว เฉพาะจ.ประจวบคีรีขันธ์มีผู้ให้ความสนใจมากกว่า 1,000 ราย รวม 9 กลุ่มเครือข่าย รองลงมาคือสุราษฎร์ธานีไม่น้อยก ว่า 450 ราย รวม 3 กลุ่มเครือข่าย ขณะนี้อยู่ระหว่างส่งทีมผู้เชี่ยวชาญประชุมกลุ่มในหลายพื้นที่จัดอบรมพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจหลายหลักสูตร เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การรวมกลุ่มให้ครบตามเป้าหมายไม่น้อยกว่า 25 กลุ่มเครือข่าย(Cluster) ภายในเดือนสิงหาคมนี้

นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า ตามที่สถาบันอาหารได้รับมอบหมายจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)ให้เป็นหน่วยงานดำเนินการโครงการสนับสนุนเครือข่ายSME ปี 2560 ในกลุ่มอุตสาหกรรมมะพร้าว ขณะนี้สถาบันอาหารได้จัดส่งทีมผู้ เชี่ยวชาญไปประชุมกลุ่มจัดอบรมพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจให้เกษตรกร และผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ โดยทยอยดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายรวม 17 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชุมพร พังงา สตูล ปัตตานี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก นครสวรรค์ เลย ขอนแก่น หนองคาย นครราชสีมา และร้อยเอ็ด แบ่งเป็น 27 กลุ่ม รวมจำนวน 3,300 ราย โดยจ.ประจวบคีรีขันธ์มีผู้ให้ความสนใจสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายสูงสุดราว 1,350 ราย เนื่องจากมีพื้นที่เพาะปลูกมะพร้าวมากที่สุดในประเทศคือประมาณ 422,000 ไร่ คาดว่าจะสามารถรวมกลุ่มได้ 9 กลุ่มเครือข่าย จาก 4 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมือง อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพานน้อย และอำเภอสามร้อยยอด รองลงมาคือจ.สุราษฏร์ธานี มีผู้สนใจเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 450 ราย คาดว่าจะสร้างเครือข่ายได้ 3 กลุ่มเครือข่าย ส่วนที่เหลือจังหวัดละ 1 เครือข่าย

หลังจากนั้นจะผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มให้ได้อย่างน้อย 25 เครือข่ายตามเป้าหมายภายในเดือนสิงหาคมนี้ พร้อมคัดเลือกผู้ประสานงานเครือข่าย (Cluster Development Agent-CDA) จำนวน 2-3 คนต่อกลุ่มเครือข่าย รวมไม่น้อยกว่า 70 คน เพื่อจัดทำแผนพัฒนากลุ่มคลัสเตอร์ทั้งระยะสั้น (1 ปี) ระยะกลาง (3 ปี) และระยะยาว (5 ปี) ในลำดับต่อไป

“ล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันอาหารได้จัดให้มีประชุมกลุ่มอุตสาหกรรมมะพร้าวในกลุ่มจังหวัดสมุทรสาคร ในพื้นที่ อ.บ้านแพ้ว ณ เทศบาลตำบลบ้านแพ้ว มีผู้เข้าร่วมจำนวน 156 คน โดยนางนิตยา พิระภัทรุ่งสุริยา รักษาการรองผู้อานวยการสถาบันอาหาร และนางสุนีย์ สุขสุเดช ปลัดอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร มาร่วมงานด้วย พร้อมจัดอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องสถานการณ์การผลิตและการตลาดพร้อมแนวโน้มอุตสาหกรรมมะพร้าว ความสำคัญของการรวมกลุ่มเครือข่าย (Cluster) ความคาดหวังในการรวมกลุ่ม การสร้างความสัมพันธ์กลุ่ม การจัดโครงสร้างกลุ่ม การจัดทำการประเมินตนเอง(Self Assessment) การจัดทำ Cluster Map การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับมะพร้าว โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการและก ารตลาด นอกจากนี้ยังให้คำแนะนำเรื่องการเลือกพื้นที่ปลูกการเลือกพันธุ์มะพร้าว เทคนิคการปลูก การดูแลรักษา และการปลูกพืชเสริมกรณีผู้ปลูกใหม่ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญการปลูกและการดูแลรักษามะพร้าว นายสิทธิชัย ทิมเทียม จากสวนไทรทอง ศูนย์การเรียนรู้มะพร้าวพันธ์ดี ”

โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ในกลุ่มอุตสาหกรรมมะพร้าว เน้นส่งเสริมผู้ประกอบการต้นน้ำเป็นหลัก สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มธุรกิจเกษตรเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกมะพร้าว เนื่องจากผลผลิตในปัจจุบันไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ขณะเดียวกันในภาคการผลิตและแปรรูปจะมุ่งเน้นกลุ่มธุรกิจมะพร้าวประเภทการผลิตกะทิสำเร็จรูป เครื่องดื่มน้ำมะพร้าว และเครื่องสำอางที่ใช้มะพร้าวเป็นวัตถุดิบ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 กลุ่มนี้ตลาดมีอัตราการเติบโตสูง เฉพาะในปี 2560 คาดว่าการส่งออกมะพร้าวของไทยจะมีมูลค่า 17,492 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 ในระยะยาวยังคงมีแนวโน้มเติบโตตามกระแสนิยมบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ SME ไทยจึงควรพยายามเร่งผลผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อจะไม่พลาดโอกาส

อนึ่งตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมในกลุ่มมะพร้าวมีการส่งออกที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เฉพาะในปี 2559 มีมูลค่าส่งออก 14,544 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ตลาดส่งออกหลักของไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนร้อยละ 30.3 รองลงมาคือสหภาพยุโรป และจีน มีสัดส่วนร้อยละ 28.3 และ 10.9 ตามลำดับ โดยจีนถือเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูงสุดถึงร้อยละ 100.2 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2555 – 2559) ซึ่งเป็นผลจากความนิยมบริโภคน้ำกะทิเป็นเครื่องดื่มของชาวจีน โดยผลิตภัณฑ์ส่งออกมะพร้าวที่สำ คัญของไทย ได้แก่ กะทิสำเร็จรูป (75.1%) มะพร้าวอ่อน (14.5%) มะพร้าวแห้ง (5.4%) มะพร้าวสด (2.5%) และน้ำมันมะพร้าว(2.4%) โดยผลิตภัณฑ์มะพร้าวสดขยายตัวโดดเด่นที่สุด คิดเป็นร้อยละ 178.9 จากความต้องการของประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือน้ำมันมะพร้าว ขยายตัวร้อยละ 60.4