มอร์นิ่งสตาร์ฯ ชี้ Q1 เงินไหลเข้ากองทุนรวม 4 หมื่นล้าน

กองทุน ตราสารหนี้

มอร์นิ่งสตาร์ เปิดข้อมูลกองทุนรวมไทยไตรมาส 1/66 เงินไหลเข้าสุทธิ 40,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.5% จากไตรมาสก่อนหน้า ด้าน SSF-RMF เงินไหลเข้าน้อย นักลงทุนเคยชินซื้อช่วยท้ายปี ส่วน LTF ลุ้นนำกลับมาหากเงื่อนไขไม่เปลี่ยนแปลงจะช่วยให้ตลาดหุ้นไทยน่าสนใจได้

วันที่ 19 เมษายน 2566 นางสาวชญานี จึงมานนท์ นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) กล่าวว่า ไตรมาสแรกของปี 2566 มีหลายปัจจัยสำคัญที่กระทบตลาดการลงทุน เช่น ความคาดหวังการปรับดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐที่เปลี่ยนไปจากการปรับลดดอกเบี้ยมาให้น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ยต่อ

โดยในไตรมาสแรกนี้ได้มีการปรับดอกเบี้ยขึ้นไปที่ 4.75-5.0% ทั้งยังมีเหตุการณ์ในกลุ่มธนาคารของสหรัฐอย่าง Silicon Valley Bank หรือธนาคารอื่นในกลุ่ม Regional Bank ที่ทำให้เกิดความกังวลอยู่ช่วงหนึ่งว่าจะลุกลามไปในวงกว้าง และปัจจัยเหล่านี้ทำให้ตลาดมีความผันผวนได้ไม่น้อย โดย Morningstar Global Markets Index มีการปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนมกราคม ก่อนจะเป็นขาลงในช่วงกุมภาพันธ์ถึงช่วงกลางเดือนมีนาคม และมีผลตอบแทนในรอบ 3 เดือนแรกอยู่ที่ 7.3%

กองทุนรวมไทยเงินไหลเข้าสูงถึง 40,000 ล้านบาท

กองทุนรวมไทย (เฉพาะกองทุนเปิด ไม่รวมกองทุนปิด, ETF, REIT, Infrastructure Fund) มีมูลค่าทรัพย์สินรวม 3.9 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.5% จากไตรมาสก่อนหน้า มีเงินไหลเข้าสุทธิ 40,000 ล้านบาท โดยเป็นเงินจากกองทุนตราสารหนี้และตราสารทุนรวมกันราว 30,000 ล้านบาท รวมทั้งมีเงินไหลเข้ากลุ่ม Miscellaneous ซึ่งเป็นเงินจากกลุ่ม capital protected fix term มูลค่า 39,000 ล้านบาท ในขณะที่กองทุน money market มีเงินไหลออกสูงสุดในอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกหนึ่งไตรมาสกว่า 20,000 ล้านบาท

กองหุ้นไทยเงินไหลหลักพันล้าน

ในไตรมาสแรกดัชนี SET Index มีทิศทางปรับตัวลงจนมาอยู่ที่ระดับ 1,600 จุดช่วงกลางเดือนมีนาคม ก่อนที่จะฟื้นตัวขึ้นมาปิดไตรมาสแรกที่ 1,609.17 จุด และผลตอบแทนรวมหรือ SET TR ที่ -2.7% ต่ำกว่าการลงทุนต่างประเทศที่ส่วนใหญ่ฟื้นตัวได้ค่อนข้างมาก โดย Morningstar Global Markets Index อยู่ที่ 7.3% ซึ่งมีส่วนมาจากกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีที่ฟื้นตัวได้ค่อนข้างดี

อย่างไรก็ดี จากดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลงทำให้นักลงทุนมีความสนใจกองทุนหุ้นไทยมากขึ้นกว่าช่วงก่อนหน้านี้ โดยกองทุนหุ้นไทยที่ไม่รวมกองทุน LTF, RMF และ SSF มีเงินไหลเข้าสุทธิสะสม 3 เดือนแรกรวม 3.3 พันล้านบาท ซึ่งหากมองย้อนกลับไปจะพบว่าเป็นเงินไหลเข้าระดับพันล้านครั้งแรกในรอบ 3 ปี ทั้งนี้กองทุนกลุ่มนี้มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมาราว 2.3 แสนล้านบาท ลดลง 2.8% จากไตรมาสก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากผลตอบแทนกองทุนส่วนใหญ่ติดลบ

กองทุน SSF-RMF เงินไหลเข้ายังน้อย

กองทุนเพื่อการออม (SSF-SSFX) มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 50,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.8% จากสิ้นปี 2565 โดยในไตรมาสแรกนี้มีเงินไหลเข้าสุทธิ 1,100  ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเล็กน้อยที่ 1,300 ล้านบาท

โดยกองทุนกลุ่ม Equity Large-Cap มีมูลค่าการลงทุนแบบกองทุนเพื่อการออม 1.5 หมื่นล้านบาท มีเงินไหลเข้าสุทธิสูงสุดในไตรมาสแรกเกือบ 300 ล้านบาท แต่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลงจากสิ้นปีที่แล้ว 2.8% เนื่องจากมีผลตอบแทนเฉลี่ย -3.8% กองทุนที่ได้รับความนิยมนั้นส่วนใหญ่มาจาก บลจ.รายใหญ่ เช่น บลจ.ไทยพาณิชย์,

กองทุน RMF มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวม 4.1 แสนล้านบาท ลดลง 1.0% จากไตรมาสก่อนหน้า โดยประเภทการลงทุนหลักอย่างกองทุนตราสารทุนมีการหดตัวลงเล็กน้อย หรือ -0.3% ในไตรมาสแรกที่ผ่านมานี้มีเงินไหลเข้าสุทธิกว่า 400 ล้านบาท ในขณะที่ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเป็นเงินไหลออกสุทธิ 1,600 ล้านบาท

โดยมูลค่าเงินไหลเข้าสุทธิกว่า 400 ล้านบาท เป็นเงินไหลเข้าสุทธิกองทุนตราสารทุนเกือบ 2,000 ล้านบาท โดยมูลค่า 1,000 ล้านบาท หรือราวครึ่งหนึ่งเป็นเงินไหลเข้ากองทุนหุ้นจีน ในขณะที่กองทุนประเภทอื่นเป็นเงินไหล

อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสแรกยังคงเห็นเม็ดเงินไหลเข้าน้อย เนื่องจากนักลงทุนยังเคยชินกับการลงทุนกองทุนประเภทนี้ในช่วงท้าย ๆ ของปีมากกว่า จึงทำให้เม็ดเงินเข้าไม่เยอะ

ลุ้นฟื้นกองทุน LTF หนุนหุ้นไทยน่าสนใจ

กองทุน LTF มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 3.0 แสนล้านบาท ลดลง 8.5% จากไตรมาสก่อนหน้า โดยในปีนี้เงินลงทุนในรอบปี 2017 จะสามารถไถ่ถอนได้ตามเงื่อนไขถือครอง 7 ปีปฏิทิน ทำให้มีเงินไหลออกต้นปีสูงระดับ 1 หมื่นล้านบาท แต่ยังต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มูลค่า 16,000 ล้านบาท อันอาจมีสาเหตุจากตลาดหุ้นไทยมี

ทั้งนี้ นางสาวชญานีกล่าวว่า ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้เตรียมข้อมูลเพื่อนำเสนอกระทรวงการคลัง เรื่องการกลับมาลดหย่อนภาษีให้ผู้ที่ซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) โดยประเมินว่า หาก LTF ถูกนำกลับมาจริง คาดว่าอาจจะเป็นตัวที่เข้าเพิ่มความน่าสนใจให้กับตลาดหุ้นไทยมากขึ้นได้ แต่ต้องรอดูท่าทีของรัฐบาลใหม่จะเป็นอย่างไรต่อเรื่องนี้ ซึ่งถ้านำกลับมาและมีเงื่อนไขที่น่าสนใจก็จะช่วยให้ตลาดหุ้นไทยน่าสนใจได้

กองทุนหุ้นนอกฟื้นตัว

กองทุนรวมต่างประเทศ (ไม่รวม Term Fund) มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 9.8 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.4% จากไตรมาสก่อนหน้า มีเงินไหลเข้าสุทธิ 27,000 ล้านบาท กองทุนตราสารหนี้เป็นกลุ่มที่มีเงินไหลเข้าสูงสุด 14,000 ล้านบาท โดยกองทุน Global Bond มีเงินไหลออกสุทธิต่อเนื่องราว 2 ปี ในไตรมาสที่ผ่านมากลับเป็นกลุ่มที่มีเงินไหลเข้าสูงสุดของกลุ่มการลงทุนต่างประเทศที่ไม่รวม term fund ทำให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหรือ 27.2% จากไตรมาสก่อนไปอยู่ที่ 6.4 หมื่นล้านบาท

ตามมาด้วยที่กองทุนตราสารทุนที่มูลค่าไหลเข้าสุทธิต่ำกว่าเล็กน้อย โดยรวมกองทุนกลุ่มหลักมีการเติบโตได้ดีทั้งจากเงินไหลเข้าและผลตอบแทนที่ฟื้นตัว โดยกองทุนหุ้นทั่วโลกเม็ดเงินไหลเข้าสุทธิ 2,700 ล้านบาทและผลตอบแทนโดยเฉลี่ย 6.1% มูลค่าทรัพย์สินขึ้นมาที่ 1.8 แสนล้านบาท ขณะที่

กองทุนหุ้นจีนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 1.6 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.6% จากไตรมาสก่อนหน้า โดยมีเงินไหลเข้าสุทธิที่มูลค่าระดับหมื่นล้านบาทอีกครั้งหลังจากที่เม็ดเงินไหลเข้าแผ่วลงในช่วงปีที่แล้ว

ขณะที่กองทุนหุ้นญี่ปุ่นมีเงินไหลออกสุทธิต่อเนื่องอีกหนึ่งไตรมาส โดยในไตรมาสแรกนี้เป็นกลุ่มที่มีเงินไหลออกสุทธิสูงสุดในกลุ่มการลงทุนต่างประเทศที่มูลค่า 2,200 ล้านบาท คิดเป็น organic growth -12% มูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 17,000 ล้านบาท ทั้งนี้ กองทุนหุ้นญี่ปุ่นเป็นเพียงกองทุนกลุ่มเดียวที่ยังมีผลตอบแทนเฉลี่ยเป็นบวกได้ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา

5 อันดับ บลจ.ที่มีเงินไหลเข้า-ออกสุทธิมากที่สุด

บลจ.ที่มีเงินไหลเข้า-ออกสุทธิมากที่สุดรอบไตรมาส 1/2566  (ไม่รวม term fund) นำโดย บลจ.เอไอเอ มีเงินไหลเข้า 2.6 พันล้านบาท คิดเป็น organic growth rate ที่ 5.1% โดยราว 70% จากมูลค่าดังกล่าวมาจากเงินไหลเข้ากองทุนผสม ด้าน บลจ.ยูโอบี และ บลจ.เกียรตินาคินภัทร มีภาพที่ค่อนข้างคล้ายกันในแง่ของมูลค่าเงินไหลเข้า มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และ organic growth โดยมีเงินไหลเข้าสุทธิระดับ 1.6 พันล้าน ซึ่งทั้งสองแห่งมีเงินไหลเข้าจากกองทุนตราสารหนี้เป็นหลัก บลจ.ยูโอบีมีเงินไหลเข้าในกองทุน United Global Income Strategic Bond N ที่ระดับ 3 พันล้านบาท ขณะที่ บลจ.เกียรตินาคินภัทร มีเงินไหลเข้ากองทุน KKP Fixed Income Plus เป็นหลักราว 1 พันล้านบาท

ด้านเงินไหลออกสุทธินั้นเป็นของทางฝั่ง บลจ.รายใหญ่ในอุตสาหกรรม นำโดย บลจ.ไทยพาณิชย์ และบลจ.กสิกรไทยที่มีเงินไหลออกสุทธิมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท ตามมาด้วย บลจ.กรุงศรี บลจ.อีสท์สปริง และ บลจ.บัวหลวงที่มีเงินไหลออกสุทธิที่มูลค่าใกล้เคียงกัน โดย บลจ.รายใหญ่เหล่านี้มีลักษณะการไหลออกของเงินกองทุนตราสารหนี้ หรือ money market ขณะที่มีการเปิดขายกองทุน term fund อย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา