แก้หนี้อย่างไร สำหรับลูกหนี้รายย่อย “แบงก์ชาติ” มีคำแนะนำ

ลูกหนี้แต่ละสถานะแก้อย่างไร
ภาพโดย Tumisu จาก Pixabay

ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะแนวทางแก้หนี้ สำหรับลูกหนี้ประเภทต่าง ๆ 

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แนะนำแนวทางการแก้หนี้ สำหรับลูกหนี้รายย่อย ซึ่งมีสถานะแตกต่างกัน เช่น ยังจ่ายหนี้ได้บางส่วน, เริ่มค้างชำระหนี้, ค้างชำระหนี้เกิน 90 วัน ฯลฯ โดยคำแนะนำจะแตกต่างกันออกไป ดังนี้

ยังจ่ายหนี้ได้บางส่วน

  • หากอยากลดภาระการจ่ายหนี้ลง ต้องขอรับความช่วยเหลือ เช่น ลดดอกเบี้ยหรือขยายงวดหนี้บ้าน แปลงหนี้บัตรเป็นหนี้ระยะยาว เป็นต้น
  • ลูกหนี้จะต้องไปติดต่อสถาบันการเงินเจ้าหนี้ ผ่านคอลเซ็นเตอร์ เว็บไซต์ หรือสาขา

เริ่มค้างชำระหนี้

  • หากอยากลดภาระการจ่ายหนี้ลง ต้องขอปรับโครงสร้างหนี้ให้มีภาระเท่าที่จ่ายไหว เช่น ยืดหนี้ ลดดอกเบี้ย หรือขอรวมหนี้บ้านและหนี้บัตรเป็นก้อนเดียว เพื่อลดดอกเบี้ยหนี้บัตรเครดิต
  • ลูกหนี้จะต้องติดต่อสถาบันการเงินเจ้าหนี้ ผ่านคอลเซ็นเตอร์ เว็บไซต์ หรือสาขา

ค้างชำระหนี้เกิน 90 วัน กลายเป็นหนี้เสีย (NPL)

  • หากไม่อยากถูกฟ้อง มีคดีติดตัว ต้องขอปรับโครงสร้างหนี้ให้มีภาระเท่าที่จ่ายไหว หรือขอผ่อนได้นานสูงสุด 10 ปี ดอกเบี้ย 4-7% (เฉพาะหนี้บัตรและสินเชื่อส่วนบุคคล รวมไม่เกิน 2 ล้านบาท)
  • ต้องไปที่ คลินิกแก้หนี้ โทร.02-610-2266 หรือทางเว็บไซต์ www.คลินิกแก้หนี้.com

ถูกฟ้อง อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล

  • อยากให้คดีจบโดยเร็ว ได้รับเงื่อนไขที่จ่ายไหว ต้องมีคนกลางช่วยไกล่เกลี่ย ทำได้จริงและเป็นธรรมทั้งต่อลูกหนี้และเจ้าหนี้ (อยู่ระหว่างการจัดทำแนวปฏิบัติมาตรฐานกลาง)
  • ช่องทางไกล่เกลี่ยออนไลน์ของศาล https//mediation.coj.go.th/
  • ช่วงแรก เริ่มที่หนี้บัตรและสินเชื่อส่วนบุคคล ผ่าน มหกรรมไกล่เกลี่ยออนไลน์ ลงทะเบียนได้ถึง 14 เม.ย.64, สำนักงานยุติธรรม www.coj.go.th, กรมบังคับคดี www.led.go.th, ธนาคารแห่งประเทศไทย www.bot.or.th และ ศคง. www.1213.or.th

บังคับคดี

  • ไม่อยากถูกยึดทรัพย์ อยากเริ่มชีวิตใหม่ ต้องลงทะเบียนเข้าร่วมมหกรรมไกล่เกลี่ยนหนี้ กรอกข้อมูลให้ถูกต้อง รอสถาบันการเงินติดต่อกลับ และมีโอกาสได้ข้อตกลงใหม่ที่จ่ายไหว เช่น ผ่อนเฉพาะเงินต้น ผ่อนจบยกดอกเบี้ยค้างเดิมให้
  • ช่องทางไกล่เกลี่ยออนไลน์ของศาล https//mediation.coj.go.th/
  • ช่วงแรก เริ่มที่หนี้บัตรและสินเชื่อส่วนบุคคล ผ่าน มหกรรมไกล่เกลี่ยออนไลน์ ลงทะเบียนได้ถึง 14 เม.ย.64, สำนักงานยุติธรรม www.coj.go.th, กรมบังคับคดี www.led.go.th, ธนาคารแห่งประเทศไทย www.bot.or.th และ ศคง. www.1213.or.th