“เจ้าสัวธนินท์” แจกแล้วหน้ากากอนามัย 1 แสนชิ้น ชงแบ่งวัตถุดิบกระทรวงพาณิชย์ 10%

วันที่ 16 เมษายน 2563 นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี.) แถลงข่าวผ่าน วิดีโอ คอนเฟอร์เรนท์ พร้อมด้วย ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ศ.นพ.วิชัย เบญจชลมาศ ผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจ รพ.จุฬาฯ นายสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ เครือฯ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือฯ พร้อมคณะแพทย์ รพ.จุฬาฯ และผู้บริหารเครือซีพี เข้าเยี่ยมชม “โรงงานซีพีหน้ากากอนามัยฟรีเพื่อคนไทย” ที่ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ซึ่งเปิดสายการผลิตหน้ากากอนามัยเป็นวันแรก รวมทั้งเครือซีพีได้ทำการส่งมอบหน้ากากอนามัยจำนวน 100,000 ชิ้น ให้กับรพ.จุฬาลงกรณ์ฯ

ภายหลังเปิดเดินเครื่องโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยวันแรกนายธนินท์ตอบคำถามผู้สื่อข่าว โดยมีรายละเอียดการถาม-ตอบ ดังนี้

งบประมาณ

นายธนินท์ กล่าวว่า “งบประมาณในการสร้างโรงงานทั้งหมดยังไม่นิ่ง แต่โรงงานนี้คิดว่าถ้ายืดเยื้อไป เงินแค่นี้ไม่พอ เพราะวัตถุดิบมันแพงขึ้น ตัวสำคัญที่กันเชื้อโรคแพงขึ้นมาเยอะ แล้วหายากอีกด้วย แล้วถ้าเมือไหร่สหรัฐอเมริกาประกาศว่าทุกคนต้องใช้ ตลาดขาดแคลนอีก สำคัญที่วัตถุดิบ การทำหน้ากากไม่ยากเท่าไหร่ ชั้นป้องกันมี 3 ชั้น ตัวตรงกลางที่กันเชื้อโรค ถ้าไม่มีชั้นนี้ ไม่รู้จะจัดการได้หรือเปล่า มันต้องละเอียดมาก”

เล่าอุปสรรคในการนำเข้าวัตถุดิบ เพื่อการผลิต

ก็นี่แหละตรงวัตถุดิบที่สำคัญ เรามีเครื่องจักรถ้าไม่มีวัตถุดิบก็ไม่มีประโยชน์ ก็ซื้อมาจากหลายประเทศ มีของญี่ปุ่นที่ผลิตในไทยแต่ผู้เดียว แล้วส่งกลับญี่ปุ่นร้อยเปอร์เซนต์ กำลังติดต่อกระทรวงพาณิชย์ว่าเราไม่ได้มาขายเอากำไร ในยามแบบนี้แบ่งสิบเปอร์เซนต์ให้เรา ขายให้เราได้ไหม เราจะผลิตหน้ากากไปแจก ให้กับแพทย์กับนางพยาบาล

นี่คือสำคัญมาก หมอกับนางพยาบาลเป็นด่านหน้าอยู่ในสนามรบไม่ใช่ทหาร เราต้องปกป้องหมอกับพยาบาลให้เข้มแข็งไม่ติดเชื้อ เราถึงจะมีกำลังไปช่วยเหลือประชาชน เวลาเดียวกันประชาชนก็สำคัญมาก ต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน เราไม่เพิ่มภารให้สังคมให้หมอ ไม่เอาโรคไปติดต่อ หรือเราออกไปแล้วเอาโรคกลับมาที่บ้าน เสียหายทั้งตัวเอง และเพิ่มภาระให้หมอมากขึ้นอีก เพิ่มภาระรัฐบาลมากขึ้น ทำให้สถานการณ์มันช้าลง การที่มันช้างลงทุกๆ 1 วัน มีความหมายกับเศรษฐกิจมหาศาล

Advertisment

แจกหนึ่งแสนเรื่อย ๆ ทุกวัน

ให้โรงพยาบาลจุฬาฯ และสภากาชาดไทย เพื่อไปแจกโรงพยาบาลอื่นๆ ทั่วประเทศ เพื่อปกป้องหมอกับนางพยาบาล เพราะ 3ล้านชิ้นช่วยหมดประเทศไม่ได้ แต่เราต้องช่วยพอที่จะช่วยโรงพยาบาล แล้วมีเหลือ โรงพยาลก็จะรู้ว่าควรให้ประชาชนอย่างไร ให้ฟรี แต่ขั้นแรกอาจจะไม่พอสำหรับให้ประชาชน แต่หมอเชื่อว่าพอวันละแสนชิ้น เดือนละสามล้าน แต่เราอาจจะมีเผื่อ

กระบวนการตรวจสอบทำอย่างไร

อันนี้ก็อยู่ที่รพ.จุฬา อันไหนที่ไม่สะดวก เราก็จะใช้กำลังของเราส่งตามรพ.จุฬา ของกาชาดไทยก็มี แต่ถ้าไม่สะดวกเราก็ช่วยส่งให้ด้วย เพราะเครือซีพีก็มีทุกแห่งทุกจังหวัด ผลิตเสร็จก็ส่งโรงพยาบาล แน่นอน

อะไรทำให้มั่นใจว่าภาคเศรษฐกิจกลับมา

ก่อนหน้า เราเรียกประชุม เพื่อเช็กว่าคนของเราพอไหม วัตถุดิบ โรงงาน พอคนของเราพร้อม พวกเราอาจจะไม่รู้ว่า วิศวกรของเราพร้อม เราทำเรื่องยากกว่านี้อีก อย่างชำแหละไก่ใช้มือหุ่นยนต์ทำ ยิ่งกว่าคนอีก เชื่อว่าเรา ไม่ใช่เรื่องยาก

กำลังการผลิตเพิ่มได้หรือไม่

ผมว่ามีโอกาสเพิ่มได้นะ แต่วันนี้ปัญหาไม่ใช่เครื่องจักร ซึ่งทุกประเทศก็ต้องมี แต่ที่สำคัญคือวัตถุดิบ เพราไม่มีใครเตรียมโรงงานพร้อม ที่จะอยู่ๆ ใช้กันมากอย่างนี้ วิกฤตทั้งนั้นเลย

Advertisment

โรงงานปัจจุบันพัฒนาเป็น N95 ได้ไหม

เราต้องเปลี่ยนเครื่องจักรด้วย วัตถุดิบด้วย ผมคิดว่าเราน่าจะเรื่องไฮเทคมากกว่านี้อีก เราเริ่มศึกษาแล้วว่าจะผลิตเป็น N95 แต่จริงๆ แล้ว ตัวนี้เรายังไม่ปลอดภัยร้อยเปอร์เซนต์ ถ้า N95 ใส่ไปแล้วใส่เฟซชิลด์ป้องกันตาด้วย แต่ถ้าเราไม่ใกล้ๆ เราก็ไม่ต้องป้องกันตา แต่ถ้า N95 คือชัวร์เลย สำหรับใช้กับห้องผ่าตัดหมอ

ถ้าขยับเป็นผลติ N95 ต้องใช้งบเพิ่มเท่าไร

อาจจะต้องใส่เข้าไปเพิ่ม ตอนนี้ตอบไม่ได้ กำลังศึกษาอยู่

ยังใช้ 100 ล้านบาท

วันนี้ยังใช้ได้ แต่ยืดเยื้อไม่พอแน่ ผมว่าถ้าเลย 3 เดือน แล้วก็ยิ่งวันนี้ทุกคนแย่งซื้อก่อน ตอนนั้นมันไม่มีเลย เรามีเครื่องจักรอยู่ก็ไม่มีประโยชน์ มีเงินมีเครื่อบจักรก็ช่วยไม่ได้

ถ้าประชาชนอยากได้ด้วย มีโอกาสไหม

ถ้ามีเหลือนะ เพราะเราพูดไว้จำนวนเรามี 3 ล้าน เวลาพูดต้องระวังตัวนิด เพราะมันไม่พอหมื่นเปอร์เซนต์ยังไงก็ไม่พอ อย่างน้อย 3 ล้านชิ้น ให้รถพยาบาลเค้ากระจาย จำเป็นก็ต้องให้คนไข้ก่อน เพราะว่าคนป่วยคนไข้ลูกค้าเค้า อ่อนแอ ต้องให้พวกนี้ก่อน แล้วพวกที่ไม่ออกจากบ้านจะเอาไปทำไม ทุกคนอยู่ในบ้านไม่มีโรค ใช้ชีวิตปกติทำไมต้องใส่ตัวนี้ ผมถึงบอกว่า เราอย่าไปเพิ่มภาระให้หมอให้สังคม เราอยู่บ้าน ปกป้อง หลีกเลี่ยง ไม่ให้ติด โรคนี้ก็จะหายไปเอง ถ้าไม่เชื่อ ไปเที่ยวไปชุมนุม กินเหล้า ถ้าไม่ติดคนอื่น เราก็ไปติดเค้า ไม่มีวันจบ แต่ถ้าทุกคนมีวินัย ทุกคน่ช่วยกัน ช่วยชาติ จริงๆ ช่วยตัเวเอง ครอบครัว แล้วยังช่วยสังคม แล้วทำไมทำไม่ได้

จะแจกถึงเมื่อไหร่

เราบอกว่า เราคิดว่าวิกฤตตัวนี้ไม่นาน ผมยังคิดว่าไม่นาน ถ้านานผมว่าต้องเปลี่ยนแปลงความคิดของรัฐบาลอีกด้วยเ พราะไม่ใช่ความผิดของใคร ถ้าบอกว่าธุรกิจล้มละลาย ก็ไม่ได้อยากล้มละลายหรอก แต่มันเจอะเหมือนกันหมดทั่วโลก วันนี้จะมาพูดถึงว่าขั้นตอน ปฏิบัติเอง อันนั้นมันปกติแล้ว แม้ว่าปกติแบบเก่าเราก็ต้องแก้ให้มันเร็ว เจอวิกฤตแล้วใช้ขั้นตอนปกติแล้วไม่ได้

วันนั้มันผิดปกติ เราต้องขั้นตอนผิดปกติ ผมเชื่อว่าศึกษาเรื่องยา จะก้าวกระโดด สมัยโบราณ เทคโนโลยีมันไม่ถึงวันนี้ แลปช้า ใช้เวลานานไม่เป็นไร ขั้นตอนยืดเยื้อกว่าจะได้ยาตัวนึงใช้เวลาหลายปี วันนี้เทคโนโลยียอดเยี่ยมขนาดนี้ ทำไมต้องนาน ถ้าแลปเร็วขึ้น คนเก่งมากขึ้น ความรู้เรามากขึ้น มนุษย์เราเก่งขึ้น ทำไมไม่ไปคิดว่าแก้ตัวนี้หละ วิกฤตเที่ยวนี้ผมคิดว่าต้องวิเคราะห์ข้อดี ทำให้ระบบเก่าๆ ที่โบราณตั้งเอาไว้ ไม่มีใครกล้าเปลี่นแปลง ปล่อยตามเลย หลายสิบปีก่อน วันนี้พอมีวิกฤต ขั้นตอนแบบเก่าตั้งเอาไว้เปลี่ยนแล้ว ก็จะเร็วขึ้น

ในช่วงหนึ่ง นายธนินท์ กล่าวว่า “…ถ้าผมเป็นรัฐบาลวันจนนี้เราต้องมาคิดว่าทำยังไง ให้คนมาท่องเที่ยวแล้วปลอดภัย อาจทั่วประเทศไม่ได้ แต่ที่ไหนจังหวัดไหน เราทำให้ปลอดจากโควิดได้ เราอาจจะไปชักชวนคนมีเงิน ไม่ได้รีดไถนะ เอามาหลีกเลี่ยงความตาย…คนเหล่านี้มีเงิน ถ้าเราชักชวนว่าคุณมาสิ เราตรวจก่อนเลย กักตัวก่อนเลย แล้วก็เอาพวกที่กักตัวจนชัวร์ก็เหมาเรือบินทั้งลำ มาอยู่โรงแรมเดียวกัน ไม่มีคนอื่นมาปน ไม่ต้องผ่านสแตมป์ (คัดกรอง) แล้วขึ้นรถทัวร์ตรงมาโรงแรม อยู่ในนั้น 15 วัน แล้วเราก็มีดูแลเค้าอย่างดี ตรวจสุขภาพ มีหมอพอที่จะให้เค้าอุ่นใจ ว่าเอ้อ นี่มาเมืองไทยเราไม่ต้องห่วง”

“เมืองไทยเราสถติดี ตาย 41 คน น้อยมาก แสดงว่าหมอเก่ง มีวัฒนธรรมที่ดี คนชอบมาเที่ยวเมืองไทย เพราะอัธยาศัยไมตรีพวกเศรษฐีอาหรับยังต้องวิ่งมาหาหมอไทย โรงพยาบาลบำรุงราษฎ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ ต้องขอบคุณ โรงพยาบาลจุฬา, รามา, ศิริราช , มหิดล ที่สร้างหมอพยาบาลให้โรงพยาบาลเอกชน”

“รัฐบาลน่าจะทุ่มให้มีการสร้างหมอกับพยาบาลให้หนักขึ้น เพราะต่อไปถ้าโรงพยาบาลดี หมอเก่ง ทั่วโลกมารักษาเมืองไทยหมด แล้วดีกว่าท่องเที่ยวอีกนะ พอมีเงินมา เค้าหนีตาย  หนีความเสี่ยง แต่เราทำหรือเปล่าหล่ะ อันนี้ต้องผนึกกำลัง รัฐบาลต้องเข้าใจเท่านั้นเอง”