ที่มา สำนักงานพระพุทธศาสนา บัญญัติศัพท์ “โควิโท” แทน โควิด

สำนักพุทธบัญญัติศัพท์เรียกโควิด

สำนักงานพระพุทธศาสนา ประกาศมติมหาเถรสมาคม ซึ่งจะใช้คำว่า “โควิโท” แทน โควิด เรื่องนี้มีที่มาอย่างไร?

วัน 5 มิถุนายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) เห็นชอบใช้คำศัพท์ ว่า “โควิโท” เป็นชื่อโรคโควิด เป็นภาษาภาลี และอสาธารณนาม นายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้ตรวจราชการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ในฐานะโฆษก พศ. เปิดเผยเหตุผลวานนี้ (4 มิ.ย.) ว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการบัญญัติศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับโรคต่างๆ  ที่นำมาใช้ในบทสวด เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ประชาชน และความเป็นสิริมงคลต่อประเทศ

ก่อนหน้านี้ได้มีการบัญญัติศัพท์โรคต่าง ๆ ที่มีการแพร่ระบาด เช่น กาฬโรค ซาร์ส ไข้หวัดใหญ่สเปน หรือแม้กระทั่งไข้หวัดนก เพื่อใช้ในการสวดเจริญพระพุทธมนต์มาแล้ว

นายสิปป์บวร อธิบายด้วยว่า สำหรับการบัญญัติศัพท์ครั้งนี้ ได้มีการนำบทคาถาไล่โควิด มาเป็นบทเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อให้การใช้ศัพท์ โรคโควิด ในบทเจริญพระพุทธมนต์ ถูกต้องตามหลักภาษาบาลี และเป็นประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

โดยเชื้อไวรัสโควิด เมื่อสะกดเป็นภาษาอังกฤษ COVID เมื่อนำมาเขียนเป็นภาษาบาลี ต้องแปลงอักษรเป็นภาษาโรมัน ที่ใช้เขียนเป็นภาษาบาลี และเป็นภาษาบาลีสากล โดยเปรียบเทียบกับภาษาอังกฤษ เปรียบเทียบกับตัวสะกดในภาษาไทย และเปรียบเทียบกับประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรื่องชื่อ และอาการสำคัญของโรคติดต่ออัตราย ฉบับที่ 3 พ.ศ.2563 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-1 ดังนั้นจึงบัญญัติศัพท์ ว่า “โควิโท”

“ศัพท์ดังกล่าวได้อาราธนาพระภิกษุ และเชิญบุคคลเข้าร่วมเข้าให้ความเห็นอย่างกว้างขวาง ก่อนมีมติบัญญัติศัพท์ เรียกเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า โควิโท เพื่อให้คณะสงฆ์ และฆราวาสใช้สวดบทเจริญพระพุทธมนต์ไปในทิศทางเดียวกัน  เพราะที่บางแห่ง ใช้ “โควิโท” ขณะที่บางแห่ง ใช้ “โควิโต” จากนี้ พศ.จะนำมติดังกล่าว ส่งให้วัดต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศได้รับทราบและปฏิบัติตามโดยทั่วกัน” นายสิปป์บวร กล่าว

ผู้สื่อข่าวตรวจสอบเพจเฟซบุ๊ก ข่าวสารงานพระพุทธศาสนา ซึ่งเผยแพร่มติมหาเถรสมาคม เรื่อง การใช้ชื่อโรคโควิดเป็นภาษาบาลี เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พบว่ามีผู้แสดงความเห็นหลากหลาย เช่น..

“ที่มีมติตาม มส.บัญญัติศัพท์บาลีใหม่ ๆ ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน มีประโยชน์กับเฉพาะกลุ่มผู้ศึกษาพระบาลีหรือประชาชนทั่วไปผู้สนใจเพื่อนำไปใช้ในแนวทางเดียวกันทั่วประเทศ ….มติ มส. แบบนี้ไม่ใช่มีแต่ศัพท์ว่า “โควิโท” แต่เคยมีมาหลาย ๆ ครั้ง เช่น ..มีมติใช้คำถวายดิเรกสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงว่า ”

ปรมราชมาตา” ..มีมติใช้คำถวายดิเรกพระเจ้าอยู่หัวว่า “ปรเมนฺทมหาราชวโร” ..มีมติใช้คำถวายดิเรกองค์ราชินีว่า “สุทิตา ปรมราชินี” ดังนั้นมติใช้คำว่า”โควิโท” จึงมีเพื่อเป็นแนวทางเดียวกันในการใช้ศัพท์ไม่ว่าจะนำไปใส่ในบทสวดต่าง ๆ บทอวยพรเป็นภาษาบาลีเป็นต้นฯ”

“สิ่งที่เป็นประโยชน์กว่านี้ไม่ทำ สำคัญไม่เคยคิดจะเยียวยาและช่วยเหลือพระเณร วัดเล็ก วัดน้อย”

“พระวัดเล็กวัดน้อยต่างจังหวัดลำบากยากเข็ญ แต่ด้วยสมณวิสัยพูดเยอะไม่ได้ ก็ต้องทนให้ผ่านพ้นภัยไปด้วยกัน ทางเบื้องบนเคยสนใจบ้างไหม มีแค่ออกมาให้ข่าวจะช่วยเหลือเยียวยา เถียงกันวันละสี่สิบหกสิบ บ้างก็จะให้ร้อย แล้วก็เงียบหาย เรื่องแบบนี้สมควรที่จะทำ เถรสมาคม สำนักพุทธ เคยนำเข้าที่ประชุมบ้างไหม มีแต่คอยจับผิดพระเณรที่เห็นต่าง สรรหาคำยกยอปอปั้นผู้มีอำนาจ การสวดเป็นการให้กำลังใจ ไล่โควิดได้ คงไม่ต้องฉีดวัคซีน (บ่นบ้างเบาๆ)”