ETDA เปิดแผนยุทธศาสตร์ 2 ปี ชู 3 แนวทางขับเคลื่อนสู่ผู้กำกับดูแลดิจิทัล

ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ภาพ : Pixabay

เอ็ตด้า เปิดแผน 2 ปี ด้วย 3 แนวทางหลักขับเคลื่อนธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สร้างความเชื่อมั่นด้านไซเบอร์ ตั้งเป้ายกสถานะใหม่สู่ผู้กำกับดูแลกฎเกณฑ์ด้านดิจิทัลภายในปีཽ รองรับการเติบโต พร้อมลุยพัฒนาบริการของรัฐสู่ดิจิทัล หวังเพิ่มความสะดวกและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน

นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือเอ็ตด้า (ETDA) กล่าวว่า เป้าหมายหลักของเอ็ตด้า คือการเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เท่าทันกับสถานการณ์โลก ภายใต้บทบาทของการส่งเสริมให้เกิดการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

สำหรับแผนดำเนินงานในปี 2564-2565 จะเดินหน้าด้วยภารกิจ “GoDigital with ETDA” ประกอบด้วย3 แนวทางหลัก ได้แก่ 1.การขับเคลื่อนธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการสร้างกลไกขับเคลื่อนธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศผ่านแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรฐาน พร้อมผลักดันแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับธุรกรรมให้ทุกภาคส่วนนำไปกำหนดแนวทางการพัฒนาในทิศทางเดียวกัน และจัดการสำรวจวิจัยที่ทำให้มองภาพอนาคตได้อย่างชัดเจน สู่การกำหนดนโยบาย ทิศทางการดำเนินธุรกิจ และการทำตลาด เพื่อพัฒนากำลังคนให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดยุคดิจิทัล

ตามด้วย 2.การดูแลธุรกิจดิจิทัล ด้วยการจัดทำหลักเกณฑ์ กฎหมาย มาตรฐาน รวมถึงแนวปฏิบัติในการดูแลธุรกิจดิจิทัลและบริการที่สำคัญ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในการใช้บริการธุรกิจด้านดิจิทัล เช่น บริการด้าน e-Meeting บริการด้าน digtal ID ด้วยระบบการตรวจประเมินที่มีมาตรฐาน และ 3.การเสริมฐานแพลตฟอร์มดิจิทัลของรัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (digital government) อย่างเป็นรูปธรรม โดยตั้งเป้าหมายว่าในปี 2565 จะพัฒนาบริการของภาครัฐให้เป็นดิจิทัล โดยมีการบริการแบบ one stop service ให้ครบ 165 หน่วยงาน จากที่ดำเนินการไปแล้ว 29 หน่วยงาน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว มั่นใจ ปลอดภัย

“ด้วยแนวทางที่วางไว้จะทำให้บทบาทของเอ็ตด้าในปี 2565 เปลี่ยนไปจากเดิมที่ทำหน้าที่แค่ส่งเสริมให้เกิดการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สู่การเป็นผู้กำกับดูแลกฎเกณฑ์ด้านดิจิทัลเซอร์วิส สร้างความเชื่อถือให้แก่ทุกองค์กร ทั้งภาครัฐบาล เอกชน และประชาชน เพื่อรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่จะขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยแนวทางที่วางไว้ได้รับงบประมาณสำหรับสนับสนุน 700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ได้งบ474 ล้านบาท”

Advertisment

ขณะที่ผลงานปี 2563 ที่ผ่านมานายชัยชนะกล่าวว่า มี 5 โครงการสำคัญ ได้แก่ 1.โครงการ Digital Governanceเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมั่นใจ มีกลไกกำกับดูแลที่น่าเชื่อถือ ผ่านกฎหมายและมาตรฐานสำคัญ ๆ เช่น ร่างพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ. Digital ID) รองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ส่งเสริมธุรกิจเกี่ยวกับ digital ID เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่เชื่อถือได้สะดวก รวดเร็ว และร่าง พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจการให้บริการออกใบรับรองเพื่อสนับสนุนลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (CA)

รวมทั้งการออกข้อเสนอแนะมาตรฐาน แนวทางการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) ใช้งานอย่างแพร่หลาย ลดความเสี่ยง รวมถึงผลักดันเรื่องระบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือ e-Meeting ทั้งการออกกฎหมายและมาตรฐานในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ซึ่งช่วยปลดล็อกกฎหมายที่มีอยู่เดิม

2.โครงการ Speed-up e-Licensing เร่งเครื่องระบบดิจิทัลในบริการภาครัฐ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและให้ภาคธุรกิจและประชาชนได้รับบริการที่รวดเร็ว โดยการพัฒนาบริการของรัฐให้เป็นบริการดิจิทัล ผ่านโครงสร้างข้อมูล (schema) การออกใบอนุญาตหรือเอกสารหลักฐานของภาครัฐให้เป็นระบบดิจิทัล พร้อมสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับบริการดิจิทัลของเอกชน ด้วยการตรวจประเมินรับรองระบบสารสนเทศและการใช้บริการ e-Timestamping ประทับรับรองเวลาของ e-Document

สำหรับโครงการที่ 3 คือ Digital Transformation ให้ภาครัฐมีระบบดิจิทัลที่มั่นคงปลอดภัย ด้วยโครงการ Government Threat Monitoring System (GTM) เฝ้าระวังภัยไซเบอร์ให้กับหน่วยงานรัฐ พร้อมเตรียมพัฒนาแพลตฟอร์ม Threat Watch ยกระดับการเฝ้าระวังให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามด้วย 4.โครงการ Thailande-Commerce Sustainability ลดเหลื่อมล้ำ เพิ่มรายได้ด้วยอีคอมเมิร์ซ

Advertisment

ผ่านความร่วมมือกับเครือข่าย พร้อมลงพื้นที่เพื่อพัฒนาศักยภาพอีคอมเมิร์ซชุมชนทั่วประเทศ รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรด้านอีคอมเมิร์ซ ปูทางความพร้อมให้กับนักเรียน (ทสรช.) นักศึกษา (มศว, เอแบค ฯลฯ) เพื่อป้อนตลาดแรงงานยุคดิจิทัล และสร้างโอกาสในการทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ได้ สุดท้ายโครงการ Stop e-Commerce Fraud ทั้งคุ้มครองผู้บริโภคออนไลน์เชิงรุก ผ่านการนำเครื่องมือ social listening วิเคราะห์ข้อมูลในโลกออนไลน์ เพื่อนำมาแจ้งเตือนภัยก่อนเกิดเหตุ ผ่านทั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212 และไทยเซิร์ต