ปศุสัตว์ใต้ดีมานด์พุ่ง-ดันรัฐอุ้มรายย่อยเลี้ยง

ตลาดปศุสัตว์ภาคใต้หมื่นล้านรุ่ง ความต้องการเพียบทั้งในประเทศ-ประเทศเพื่อนบ้าน เลี้ยงไม่พอบริโภค โดยเฉพาะ “โคเนื้อ-โคพื้นบ้าน” บริษัทใหญ่ไม่นิยมเลี้ยง ต้องนำเข้าจากออสเตรเลีย-อินเดีย วอนรัฐบาลใหม่สนับสนุน “เกษตรกรฐานราก” เลี้ยงเสริมรายได้ทดแทนยางพารา-ปาล์มน้ำมันตกต่ำ

นายปรีชา กิจถาวร นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ และประธานฝ่ายเศรษฐกิจพอเพียงและสมาร์ทฟาร์มเมอร์ หอการจังหวัดสงขลา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ธุรกิจปศุสัตว์ในภาคใต้มีทิศทางการเติบโตที่ดี และต่อเนื่อง หลายปีที่ผ่านมาความต้องการในการบริโภคเนื้อสัตว์ทั้งสุกร โคเนื้อ โคนม ไก่เนื้อ ไก่ไข่ และแพะ ในพื้นที่ภาคใต้มีสูง คิดเป็นมูลค่านับหมื่นล้านบาท แต่อุตสาหกรรมการปศุสัตว์ในพื้นที่ภาคใต้เองยังมีการเลี้ยงน้อย ผลผลิตที่ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ

ปรีชา กิจถาวร

เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนจากนโยบายของรัฐบาล โดยที่ผ่านมาพรรคการเมือง และนักการเมืองต่างมุ่งแก้ปัญหาการปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างยางพารา และปาล์มน้ำมัน ทั้งที่การเลี้ยงปศุสัตว์เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ น่าจะเป็นอีกทางเลือกที่ดีในการหารายได้เสริมทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวได้ จึงทำให้สูญเสียโอกาสตรงนี้ไป

“โดยเฉพาะการเลี้ยงโคเนื้อ โคพื้นบ้าน ตลาดทั้งภายใน และประเทศใกล้เคียงมีความต้องการสูง แต่ผลผลิตที่ได้ยังไม่เพียงพอ ขณะที่บริษัทขนาดใหญ่ และฟาร์มขนาดใหญ่ ประมาณ 10 แห่งนิยมเลี้ยงสุกร และไก่ เพราะมีวงจรการเลี้ยงสั้น โดยมีสัดส่วนการเลี้ยงประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ของตลาด ขณะที่เกษตรกรฐานรากมีการเลี้ยงประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ ผมจึงอยากฝากไปยังรัฐบาลใหม่ และพรรคการเมือง มีนโยบายสนับสนุนส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ โดยเฉพาะการเลี้ยงโคเนื้อ โคพื้นบ้าน ไม่ต้องไปแข่งขันกับบริษัท และฟาร์มขนาดใหญ่” นายปรีชากล่าว

นายปรีชากล่าวต่อไปว่า ที่สำคัญผู้เลี้ยงปศุสัตว์จะต้องรวมกลุ่มกันให้เกิดความเข้มแข้ง นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต ต้องทำการตลาด ต้องหาจุดเด่นเป็นจุดขาย เมื่อกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงเข้มแข็ง ทางภาครัฐจะเข้ามาสนับสนุนช่วยเหลือ และเป็นพี่เลี้ยงที่ปรึกษา จะต้องเน้นพัฒนาสายพันธุ์ที่ดีเป็นเรื่องสำคัญมาก ทำอาหารสัตว์ที่ดีมีคุณภาพ จะส่งผลให้สัตว์เติบโตเร็วได้เนื้อที่มีคุณภาพ

Advertisment

ทั้งนี้ ปัจจุบันทางกรมปศุสัตว์ได้มีนโยบายสนับสนุนส่งเสริมขึ้นมาตามลำดับ โดยรูปธรรมที่เห็นชัดคือปศุสัตว์จังหวัดสงขลา มีนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงโคนม เพื่อผลิตน้ำนม ส่งโรงงานผลิตน้ำนม จ.พัทลุง โดยคัดกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่มาเข้าร่วม

นายปรีชากล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสถานการณ์ภาพรวมการเลี้ยงปศุสัตว์ในพื้นที่ภาคใต้ ปัจจุบันมีการเลี้ยงสุกรประมาณ 100,000 แม่พันธุ์ มีสุกรขุน ประมาณ 2 ล้านตัวต่อปี มูลค่าประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาทต่อปี

ส่วนไก่เนื้อ มีลูกไก่ 2 ล้านตัวต่อสัปดาห์ หรือประมาณกว่า 100 ล้านตัวต่อปี มูลค่าภาพรวมประมาณ 3,600 ล้านบาทต่อปี และยังมีไก่ไข่อีกหลายล้านตัว โคเนื้อ โคนม โคพื้นบ้าน และแพะ และไก่พื้นบ้านไก่สายพันธุ์ต่าง ๆ อีกจำนวนมาก ที่มีมูลค่ารวมมาก”

ผศ.ดร.ธำรงค์ เมฆโหรา อาจารย์คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) คณะทำงานงานวิจัยโคฯ กองทุน เอฟทีเอ. กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การบริโภคเนื้อโคภายในประเทศไทยมีประมาณ 1.2 ล้านตัว กว่า 171 ล้าน กก./ปี มีมูลค่าการบริโภคประมาณ 42,750 ล้านบาท โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการเลี้ยง และบริโภค รองลงมาคือ ภาคกลาง และภาคใต้ ปัจจุบันการเลี้ยงโคเนื้อภายในประเทศ ยังไม่พอต่อความต้องการของตลาด ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมี 2 ประเทศหลักที่นำเข้า ได้แก่ ประเทศอินเดีย ออสเตรเลีย

Advertisment

โดยปี 2555 นำเข้าเนื้อโคสด 4 ล้านตัน ปี 2556 จำนวน 7 ล้านตัน ปี 2557 จำนวน 7 ล้านตัน ปี 2558 จำนวน 9 ล้านตัน และปี 2559 จำนวน 9 ล้านตัน เป็นต้น ทั้งนี้ มีข้อน่าสังเกตว่า ราคาเนื้อโคของอินเดีย ราคาประมาณ 60-70 บาทต่อ กก. ขณะที่เนื้อโคของไทยราคาประมาณ 250 บาทต่อ กก.

สำหรับอุปสรรคการเลี้ยงโคเนื้อในพื้นที่ภาคใต้ คือ โรงเชือดขาดมาตรฐานไม่สามารถส่งออกได้ ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยส่งออกโคเนื้อไปประเทศมาเลเซียน้อยลง จะส่งออกไปยังประเทศจีนมากขึ้น เพราะได้ราคาที่ดีกว่า ส่วนทางมาเลเซียมีการนำเข้าโคเนื้อจากประเทศออสเตรเลีย ประมาณ 70,000 ตัวต่อปี

ทางนายฤชัย วงศ์สุวัฒน์ อุปนายกสมาคมผู้บำรุงพันธุ์โคไทยพื้นบ้าน และเจ้าของฟาร์มโคพื้นบ้านขนาดใหญ่ เปิดเผยว่า ปัจจุบันพื้นที่จังหวัดพัทลุงมีการเลี้ยงโค