“ประชาธิปัตย์” ชูนโยบายสร้างผู้ประกอบการด้วยเทคโนโลยี หนุนรัฐซื้อไฟฟ้าจากหลังคาทุกครัวเรือน

ประชาธิปัตย์หนุนกระจายอำนาจลงท้องถิ่น “กรณ์” มั่นใจประชาชนเอาด้วย

นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประธานนโยบายพรรคฯ กล่าวว่า โจทย์สำคัญที่สุดของประชาชน คือการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ทำอย่างไรให้รายได้เขาสูงขึ้น บริหารในส่วนของค่าใช้จ่ายของเขา ในยุคสมัยนี้ ในแง่โอกาสสำคัญมีสองประเด็น คือ ข้อแรกประทศเพื่อนบ้านของเรา รวมไปถีงจีน อินเดีย ปรากฎการณ์คือกำลังซื้อของเขากำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจเขาโตเร็วกว่าทุกภาคหรือทุกประเทศในโลก ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง สินค้าของเราเป็นที่นิยมในหมู่ประเทศเหล่านี้ ที่เขามองว่าสินค้าของเราพรีเมียม นี่คือโอกาสของเรา กำลังซื้อของคนไทยเพิ่มขึ้นไม่เยอะ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย แต่ในแง่กำลังซื้อของประเทศเพื่อนบ้านของเราเพิ่มสูงขึ้น นื่คือโอกาสทองของประเทศไทย

ประเด็นที่สอง คือเรื่องเทคโนโลยี ที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทั้งวิถีชีวิต วิธีการใช้เงิน วิธีการจับจ่ายใช้สอย วิธีการชำระเงิน ทุกอย่างเปลี่ยน ซึ่งเป็นโอกาสเช่นเดียวกัน สำหรับเรา ทำอย่างไรให้คนไทยแต่ละคนสามารถไขว่คว้าโอกาสเหล่านี้มาเป็นเงิน มาเป็นรายได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐ ที่จะช่วยนำพาพวกเขาสู่โอกาสนั้น ในยุคเศรษฐกิจในอนาคตอันใกล้ สิ่งที่รัฐจะต้องช่วยกันทำคือ ช่วยให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสในฐานะผู้ประกอบการ ในอดีตที่ผ่านมาเราเป็นลูกจ้าง เรารับจ้างเขาผลิตหรือไม่ก็เป็นผู้บริโภค แต่เราไม่ค่อยได้เป็นผู้ประกอบการกัน แต่ด้วยเทคโนโลยี ด้วยความเปลี่ยนแปลงที่พูดถึงมันเป็นยุคของผู้ประกอบการ ค้าขายออนไลน์ทุกคนทำได้ แม้แต่อุตสาหกรรมพลังงาน เมื่อเราไม่เคยคิดว่าจะเป็นอย่างอื่นได้นอกจากเป็นผู้บริโภค ซื้อไฟจากการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผลิตโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแล้ว เดี๋ยวนี้นอกจากการเป็นผู้บริโภคแล้วเรายัง ผู้ผลิตขายให้รัฐก็ได้ โดยเอาแผงโซล่ามาขาย เทคโนโลยีพัฒนาให้แผงโซล่ามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเป็นสิบเป็นร้อยเท่า ราคาลดลงอย่างรวดเร็ว

“ถ้าหน่วยงานของรัฐยังคิดแบบเดิม อยู่ในกรอบความคิดเดิม คือ ต้องสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ รัฐบาลนี้ยังมีแนวคิดจะใช้ถ่านหินเลย แทนที่จะปรับเป็น Smart Grade เพิ่มประสิทธิภาพ ที่รัฐสามารถจะมาซื้อไฟฟ้าจากหลังคาคนไทยทุกครัวเรือนได้ เหล่านี้คือโอกาสทำเศรษฐกิจในฐานะผู้ประกอบการที่รัฐต้องช่วย นี่คือนโยบายที่รัฐต้องช่วยให้ประชาชนไปถึงจุดนั้น”

ต่อข้อความที่ว่าจะเดินตามนโยบายสตาร์ตอัพของรัฐบาลนี้ไหม รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ถ้าเลียนแบบคงเจ๊งเลย เพราะถ้าพูดกันตามตรง สตาร์ตอัพยังไปไม่ถึงไหน ตลอดช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ตนได้ไปคลุกคลีกับวงการนี้อยู่พอสมควร เราได้จัดตั้งสมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทยขึ้นมาเพื่อที่จะช่วยส่งเสริมสตาร์ตอัพในโลกการเงินการลงทุน รัฐมีมติอนุมัติงบประมาณที่จะมาสนับสนุนสมาคมฯ นี้ วงเงินเราขอไป สิบกว่าล้านบาท อนุมัติไปแล้ว 3 ปี ถึงวันนี้ยังไม่ได้สักสลึง เพราะฉะนั้นก็ไม่เป็นไร ไม่ว่าจะมีปัญหาอะไรก็แล้วแต่เราก็ทำของเราไป

Advertisment

ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลชุดนี้มีเครื่องมือมากมายที่จะดำเนินการ โดยเฉพาะมาตรา 44 ที่สามารถทำอะไรก็ได้ แล้วพรรคประชาธิปัตย์จะทำอย่างไรนับจากนี้ นายกรณ์กล่าวว่า ก็แค่เราไม่จำเป็นต้องทำอย่างเขา เพราะสตาร์ตอัพจุดเริ่มต้นอยู่ที่ทัศนคติ จนถึงทุกวันนี้ App grab ยังไม่ถูกกฎหมาย มันแสดงให้เห็นว่าทัศนคติของฝ่ายรัฐ หรือภาคราชการ ยังไม่ปรับต่อยุคสมัย ยังไม่ปรับต่อนโยบาย สมมุติตนเป็นคนพูดทุกเวที แล้วเห็นด้วยกับแนวความคิดเศรษฐกิจนวัตกรรม 4.0 และวาทะกรรม 4.0 ช่วยให้คนไทยตื่นตัวในเรื่องที่จะต้องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่จะเพิ่มมูลค่า แต่ปัญหาคือมันจบแค่นั้น ปัญหาคือ ภาครัฐเองไม่เปลี่ยน โดยส่วนตัวคิดว่าไม่สามารถกำจัดอุปสรรคต่างๆ ได้ ต้องเริ่มด้วยทัศนคติ

ผู้สื่อข่าวถามว่า ฟังดูเหมือนระบบต่างๆ มันยังไม่เอื้อ ถ้าเป็นรัฐบาล ใครจะมาจับมือกับประชาธิปัตย์บ้าง นายกรณ์-กล่าวอย่างมั่นใจว่า ประชาชนทำได้ ทั้งหมดนี้มันอยู่ในกล่องความคิดที่ต้อง “กระจายอำนาจ” ในแง่ของการปกครองลงไปสู่ประชาชน ประชาธิปัตย์พูดแล้วว่าเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เรากระจายงบประมาณจากกระทรวงศึกษาฯ ที่กุมไว้ทั้งหมด ลงไประดับโรงเรียนให้โรงเรียนเขาบริหารงบประมาณของเขาเอง เพราะฉะนั้นการกระจายอำนาจ กระจายงบประมาณ กระจายความไว้วางใจ จากรัฐส่วนกลางลงไปสู่มือประชาชน เป็นสัญญาณที่จะบอกว่า คนที่จะมาร่วมงานกับเราในการเปลี่ยนแปลงประเทศก็คือประชาชนนั่นเอง