เปิดใส้ในงบฯปี65 กองทัพ-สู้โควิด อัดเงิน “สาธารณสุข-กลาโหม”

ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 วงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท ใกล้ทำคลอดออกมาให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ใช้สอย

งบฯปี’65 มีการ “ปรับลด” เกือบจะทุกกระทรวง แต่เป็นการปรับลดแบบ “ถัวเฉลี่ย” จำนวน 12,336,750,300 บาท โดยกระทรวงที่ถูก “ปรับลดมากที่สุด” 5 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 กระทรวงกลาโหม ปรับลด 3,226,880,000 บาท

อันดับ 2 รัฐวิสาหกิจ ปรับลด 2,231,489,400 บาท อันดับ 3 กระทรวงศึกษาธิการ ปรับลด 1,950,413,900 บาท อันดับ 4 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปรับลด 1,398,701,500 บาท อันดับ 5 กระทรวงมหาดไทย ปรับลด 744,599,700 บาท

กระทรวงกลาโหมถูก “ปรับลด” จำนวน 3,226 ล้านบาท แบ่งออกเป็น

กองทัพบก ตั้งไว้ 39,694,972,200 บาท ปรับลดลง 1,480 ล้านบาท

Advertisment

โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการเสริมสร้างกำลังกองทัพ หรือ “งบฯซื้ออาวุธ” ตั้งไว้ 15,858,040,000 บาท ถูกปรับลด 1,084,360,400 บาท แบ่งออกเป็นโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ ตั้งไว้ 3,146,863,700 บาท ปรับลดลง 355,290,100 บาท

โครงการเสริมสร้างกำลังกองทัพ หรือ “งบฯเสริมเขี้ยวเล็บ” ที่ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ตั้งไว้ 10,331,457,300 บาท ปรับลดลง 729,070,300 บาท ได้แก่ โครงการผูกพันตามสัญญาและมาตรา 41 จำนวน 24 โครงการ (62-66) ตั้งไว้ 9,449,735,300 บาท ปรับลดลง 687,048,300 บาท

โครงการที่จะเริ่มผูกพันในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (65-67) หรือ “โครงการใหม่” จำนวน 4 โครงการ รวมทั้งหมด 4,408,610,000 บาท เฉพาะปี’65 ตั้งไว้ 881,722,000 บาท ปรับลดลง 42,022,000 บาท

กองทัพเรือ ตั้งไว้ 18,632,080,800 บาท ปรับลด 996,880,000 บาท “งบฯซื้ออาวุธ” ตั้งไว้ 7,952,267,900 บาท ปรับลด 908,500,000 บาท แบ่งออกเป็น “งบฯเสริมเขี้ยวเล็บ” ที่ผูกพันข้ามปี-ตามสัญญาและตามมาตรา 41 จำนวน 11 โครงการ รวม 45,175,971,200 บาท เฉพาะงบฯปี’65 ตั้งไว้ 4,854,536,700 บาท ปรับลด 900 ล้านบาท

Advertisment

นอกจากนี้ยังมี “โครงการเสริมสร้างหน่วย” ที่ผูกพันข้ามปีตามสัญญา-มาตรา 41 จำนวน 8 โครงการ รวมทั้งสิ้น 3,631,921,000 บาท เฉพาะงบฯปี’65 ตั้งไว้ 393,035,100 บาท ปรับลด 8,500,000 บาท

กองทัพอากาศ ตั้งไว้ 24,932,604,900 บาท ปรับลด 610 ล้านบาท “งบฯซื้ออาวุธ-เสริมเขี้ยวเล็บ” ตั้งไว้ 9,932,814,000 บาท ปรับลด 481 ล้านบาท

เช่น โครงการเสริมสร้างยุทโธปกรณ์ ตั้งไว้ 1,931,329,200 บาท ปรับลด 14 ล้านบาท โครงการส่งเสริมกองทัพที่ผูกพันข้ามปีตามสัญญาและมาตรา 41 จำนวน 22 รายการ รวม 32,050,125,300 บาท เฉพาะปี’65 ตั้งไว้ 8,001,484,800 บาท ปรับลด 467 ล้านบาท

“งบประมาณรายจ่ายบุคลากร” จำนวน 770,159,975,000 บาท กระทรวงกลาโหมตั้งงบประมาณไว้ “เป็นอันดับสอง” จำนวน 105,034,561,800 บาท แบ่งออกเป็น “กำลังพล” จากสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 4,035,147,400 บาท

กองทัพบก 58,891,833,600 บาท กองทัพเรือ 21,282,934,400 บาท กองทัพอากาศ 13,457,939,800 บาท กองบัญชาการกองทัพไทย 7,100,988,600 บาท สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ 265,718,000 บาท

ขณะที่ “งบฯเจ้าปัญหา” ที่ถูกประเมินราคาสูงลิ่ว ว่า “ตีเช็คเปล่า” ให้ “พล.อ.ประยุทธ์” เป็น “รายการเพิ่ม” ไว้ในงบประมาณรายจ่าย “งบฯกลาง” เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 จำนวน 16,362,010,100 บาท

เหตุผล-ความจำเป็นเนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมไว้ให้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจหน้าที่ต้องบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งไม่สามารถประมาณการค่าใช้จ่ายที่แน่นอนได้ และไม่อาจจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบได้โดยตรง

ทำให้ “พล.อ.ประยุทธ์” มี “งบฯกลาง” ในมือ จำนวน 587,409,336,900 บาท

สำหรับงบฯสุขภาพ-กระทรวงสาธารณสุข ถูก “ปรับลด” 60,865,000 บาท แม้กระทั่งหน่วยงานที่เป็น “แขน-ขา” ควบคุมการแพร่ระบาดโควิด และการจัดซื้อ-จัดหาวัคซีนยัง “ถูกปรับลด”

โดยเฉพาะงบประมาณ 5 หน่วยงาน ที่เป็น “หัวเรือใหญ่” ในการจัดหาวัคซีน หรือ “5 เสือวัคซีน” โดยให้การจัดหาวัคซีนให้เป็นไปตามเป้าหมาย 120 ล้านโดสภายในปี’65 อาทิ กรมควบคุมโรค ตั้งไว้ 1,633,483,000 บาท ถูก “ปรับลด” 5 ล้านบาท สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ตั้งไว้ 6,826,300 บาท “ไม่ถูกปรับลด” สภากาชาดไทย จำนวน 8,265,442,700 บาท และราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จำนวน 4,740,434,200 บาท “ไม่ถูกปรับลด”

ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตั้งไว้ 517,971,000 บาท ปรับลด 1,500,000 บาท สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งไว้ 692,352,000 บาท “ปรับลด” 1 ล้านบาท แต่ “งบฯบัตรทอง” กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ถูกตัดแม้แต่บาทเดียว-จำนวน 140,550,194,000 บาท

สำหรับกระทรวงสาธารณสุขได้รับงบฯค่าจ้างบุคลากร “มากที่สุด” เป็นอันดับ 1 จำนวน 115,008,313,500 บาท

อีกหนึ่งหน่วยงานที่มีบทบาทในช่วง “คนตกงาน” คือ สำนักงานประกันสังคม ที่มี “สุชาติ ชมกลิ่น” เป็น “จับกัง 1” ไม่ถูกหั่น จำนวน 44,091,076,000 บาท

ส่วน “รายการเปลี่ยนแปลง” ให้ “ปรับลด” กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 38,893,400 บาท ที่มี “วราวุธ ศิลปอาชา” แห่งชาติไทยพัฒนา เป็น “เจ้ากระทรวง”

เป็นการปรับลด-ปรับเพิ่มใน “งบฯบุคลากร” เช่น เงินเดือน ค่าตอบแทนพนักงานราชการ และ “งบฯดำเนินงาน” เช่น ค่าเช่าบ้าน เงินสมทบกองทุนประกันสังคม-กองทุนเงินทดแทน ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ ค่ารับรองและพิธีการ

ไปให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ที่มี “พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” รองนายกรัฐมนตรี “กำกับ” จำนวน 20,775,900 บาท ก้อนนี้ “พี่ใหญ่” ขอ