ศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน ฟาร์มเอาท์เล็ท (Farm Outlet) 70 แห่ง ทั่วประเทศ

ศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน ฟาร์มเอาท์เล็ท (Farm Outlet) 70 แห่ง ทั่วประเทศ ผนึกกำลัง ขยายช่องทางการตลาดเพื่อความสะดวกรวดเร็ว แก่ผู้จัดจำหน่ายและผู้บริโภค จัดตั้งคลัสเตอร์ ฟาร์มเอาท์เล็ท (Cluster Farm Outlet) ระดับภาค เพื่อเป็น One Stop Service สินค้าเกษตรชุมชน ครอบคลุม 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ

กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ สนับสนุนการเชื่อมโยงเพื่อยกระดับศูนย์ฯ Farm Outlet ให้เป็นศูนย์กระจายสินค้าเกษตรที่มีประสิทธิภาพ มีศักยภาพสามารถแข่งขันในตลาดได้ ผ่าน “โครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน Farm Outlet เพื่อยกระดับให้เป็นศูนย์คลัสเตอร์” ซึ่งมีเป้าหมาย ในการส่งเสริมการจัดตั้ง “ศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนระดับภาค (Cluster) จำนวน 4 แห่ง” เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการศูนย์ฯ ในเครือข่าย โดยรวมกลุ่มผู้ประกอบการศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน Farm Outlet ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกันให้มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบครบวงจร ทั้งในด้านการผลิตและการตลาด เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) ให้มีความเหมาะสมกับบริบทในพื้นที่และตรงตามความต้องการของชุมชนในพื้นที่

โดยศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนระดับภาค (Cluster) จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย

1.โอทอป น่าน (ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าโอทอป ประชารัฐ จังหวัดน่าน) คลัสเตอร์ภาคเหนือ 2.ร้านหนูจวบ OTOP & Farm Outlet จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คลัสเตอร์ภาคกลาง 3.ร้านออร์แกนิค ฟาร์มเอาท์เล็ท อุทยานบัว จังหวัดสกลนคร คลัสเตอร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 4.ร้านทางไทย Farm Outlet (บ้านทางไทย โฮมสเตย์) จังหวัดสงขลา คลัสเตอร์ภาคใต้

 

ทั้งนี้ได้มีการจัดประชุมระหว่างคลัสเตอร์ และเครือข่ายฟาร์มเอาท์เล็ทของแต่ละภาคเพื่อหารือระดมความคิดเห็น โดยได้ผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจ นายประทุม จิณเสน ผู้บริหารศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้า ฟาร์มเอาท์เล็ท จังหวัดน่าน คลัสเตอร์ภาคเหนือ กล่าวว่า เป็นที่น่ายินดีกับการขับเคลื่อนของฟาร์มเอาท์เล็ท ในครั้งนี้ ทำให้เรามองเห็นทางออกหลายๆ อย่างโดยเฉพาะภาคเหนือเราเกษตรกรมักจะเจอปัญหาสินค้า ล้นตลาด เช่น ลำใยที่ขายไม่ได้ราคาจุดคุ้มทุน โครงการนี้จึงทำให้เรามีความหวังในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้กับพี่น้องเกษตรกร

“ทั้งนี้ผมขอเชิญชวนผู้ประกอบการ ทั้งเกษตรกร มาร่วมมือกันเพื่อเชื่อมโยงให้ถึงเป้าหมาย อย่างเช่นที่เราเคยทำโครงการ ‘ลำใยน่านแลกเปลี่ยนทุเรียนปัตตานี’ ได้ผลลัพธ์อย่างน่าพอใจ ที่น่านเรานอกจากสินค้าผักผลไม้สดแล้ว เรายังมีสินค้าเด่นอีกหลายอย่าง เช่น มะไฟจีนอบแห้ง เมล็ดกาแฟ สาหร่ายน้ำจืด เกลือภูเขา ยานวดฯ ท่านที่สนใจติดต่อมาได้ที่ 82/1 เชิงสะพานพัฒนาภาคเหนือ ถนนมหาวงศ์ เทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน ติดต่อคุณรัตน์ชยา ชินายศ โทร 090-132-0250 ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ” นายประทุมกล่าว

นายตติย อัครวานิชตระกูล จากร้านหนูจวบ OTOP & Farm Outlet อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นศูนย์คลัสเตอร์ของภาคกลาง จะขอใช้ประสบการณ์ กลยุทธ์การบริหาร

ทั้งการประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาด้านการผลิต การตลาด เพื่อยกระดับให้ฟาร์มเอาท์เล็ท เป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งเติบโตได้อย่างมั่นคง

“ท่านใดที่มีโอกาสมาหัวหินขอเชิญแวะที่ร้านหนูจวบของเรานะครับ มีสินค้าเลื่องชื่อที่พลาดไม่ได้เช่นขนมปังชีสเชคไส้สับปะรด รวมถึงมะม่วงกวน มะพร้าวเคลือบช็อกโกแลต น้ำว่านหางจระเข้ หมูเส้นปรุงรสฯ และสินค้าเด่นดีที่คัดเลือกจากทั่วประเทศ พิกัดเราอยู่ที่ 71/17 ถนนเพชรเกษม ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โทร 086-336-6363” นายตติยกล่าวเชิญชวน

นายนนทกร ชรารินทร์ ผู้บริหารร้านออร์แกนิค ฟาร์มเอาท์เล็ท อุทยานบัว จังหวัดสกลนคร คลัสเตอร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ความเห็นว่า จากการประชุมร่วมกันระหวางคลัสเตอร์ฯ ทำให้ผมมองเห็นภาพ ถึงการเชื่อมโยงทั้ง 4 ภาค เราจะมีเส้นทางขนส่งสินค้าจากภาคเหนือสู่อีสาน สู่ภาคกลาง ลงภาคใต้ แล้วขากลับก็ขนส่งสินค้าจากภาคใต้กระจายเข้าสู่เส้นทางเดิม ซึ่งครอบคลุมทุกภาค

“ที่จริงแล้วการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนสินค้าหากทำได้ตามเป้าเป็นสิ่งดีมากๆ ถ้าคิดเฉพาะแค่ภาคอีสานผมว่าน่าจะดีมากแล้วนะ ถ้าเชื่อมโยงกันทุกภูมิภาคก็จะมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ในส่วนของทางร้านเรามีสินค้าเด่นขึ้นชื่อ เช่น ข้าวฮาง ข้าวกล้อง ข้าวขาว อินทรีย์, จมูกข้าวฮางงอก พร้อมชงดื่ม, ผงกล้วยพร้อมชงดื่ม, ยาหม่องสมุนไพรฟ้าทะลายโจร เถาเอ็นอ่อน, น้ำหมากเม่า เนื้อแผ่นโคขุนโพนยางคำ ผ้าครามฯ ทางเราพร้อมยินดีเจรจาธุรกิจเพื่อชุมชนครับ ติดต่อได้ที่ โทร 081-737-7449 ได้เลยครับ” นายนนทกรให้ความเห็น

นายวิชาญ ช่วยชูใจ ผู้บริหารร้านทางไทย Farm Outlet (บ้านทางไทยโฮมสเตย์) คลัสเตอร์ภาคใต้กล่าว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจนตกต่ำทั้งโลก จากปัญหาโควิด 19 ผู้ประกอบการต่างยากลำบากบ้างก็ปิดกิจการลง บ้างก็สู้ต่อด้วยความอดทน การเชื่อมโยงรวมตัวกันของผู้ประกอบการฟาร์มเอาท์เล็ทครั้งนี้จึงเป็นโอกาสที่ดีในการดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดและเลี้ยงองค์กรได้ โดยเรามีช่องทางออนไลน์ผ่านเว็ปไขต์ของคลัสเตอร์เองเพื่อที่จะติดต่อเจราจาเชื่อมโยงสินค้าระหว่างเครือข่ายกันทั้ง 4 ภาค

“เมื่อกรมการค้าภายใน เห็นความสำคัญให้การสนับสนุนแล้ว ทางเราก็พร้อมที่จะร่วมมือร่วมใจ รวมพลังกันผลักดันให้เห็นผลสำเร็จ ในส่วนของร้านทางไทย Farm Outlet เรามีสินค้าเด่นที่ภูมิใจนำเสนอคือ ปลากะพงเค็มสามน้ำ, น้ำพริกปลากะพง, กุ้งหวาน, น้ำผึ้งชันโรง, เซรั่มน้ำผึ้งชันโรง, ข้าวยำปักษ์ใต้ เครื่องแกงปักษ์ใต้ กะปิฯ ทางเราจะคัดเลือกสินค้าที่เด่นจริงๆ มานำเสนอ ติดต่อได้ที่ 5/1 หมู่4 บ้านบางหยี ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โทร 080-136-6568 ครับ” นายวิชาญกล่าวสรุป

กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ให้การสนับสนุนศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนระดับภาค (Cluster) หวังเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ผู้ผลิตสินค้า รวมถึงเกษตรกรรายย่อย ได้มีช่องทางจำหน่ายสินค้า เกิดการกระจายรายได้ เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินงาน รวมถึงยกระดับมาตรฐานศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน Farm Outlet ให้มั่นคงและยั่งยืน