จีดีพี “ญี่ปุ่น” ไตรมาส 3 หดตัว เหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ คาดไตรมาสหน้าฟื้นขึ้น!

รอยเตอร์สรายงานว่า เศราฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 หดตัวลง หลังจากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติเเละการชะลอตัวของอุปสงค์ในต่างประเทศ ส่งผลให้การส่งออกลดลง โดยก่อนหน้านี้ พายุไต้ฝุ่นเเละเเผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น ทำให้สนามบินเเละโรงงานหลายเเห่งปิดทำการชั่วคราว นักวิเคราะห์เชื่อว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะฟื้นตัวขึ้นในไตรมาสนี้ เเต่ยังคงเห็นความเสี่ยงต่อการเติบโตจากภาวะถดถอยที่ลดลงของเศรษฐกิจโลก อย่างสงครามการค้าจีนเเละสหรัฐ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัวร้อยละ 3.0 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนเมษายน-มิถุนายน จากการใช้จ่ายด้านเงินทุนที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 2016 แต่ลดลง 0.3 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาสในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนก. ย. อัตราร้อยละ 1.0 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

นายโยชิกิ ชินจ์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Dai-ichi Life Research Institute กล่าวว่า ข้อมูลน่าจะแสดงถึงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งเขาเห็นว่าเศรษฐกิจยังคงอยู่ในภาวะฟื้นตัวนำโดยภาคธุรกิจ แต่สังเกตเห็นว่าการส่งออกชะลอตัวเนื่องจากความวิตกกังวลจากตลาดต่างประเทศบางแห่งอ่อนตัวลง

“เราต้องรับมือกับความเสี่ยงการฟื้นตัวเศรษฐกิจในเดือนตุลาคมถึงเดือนธีนวาคมของญี่ปุ่นที่อาจอ่อนเเอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโลก”

การบริโภคภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ลดลงร้อยละ 0.2 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาสหลังจากที่มีการขยายตัวร้อยละ 0.7 เปอร์เซ็นต์ในเดือนเมษายน-มิถุนายน ส่วนความต้องการจากต่างประเทศหรือการส่งออกที่หักการนำเข้ามีแนวโน้มที่จะลดลง 0.1 เปอร์เซ็นต์ จากการเติบโตของจีดีพี

SMBC Nikko Securities คาดว่าเศรษฐกิจจะกลับมาเติบโตในไตรมาสที่ 4 เนื่องจากฟื้นตัวจากผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ

Yoshimasa Maruyama หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ในตลาด SMBC Nikko Securities กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกพุ่งทะยานขึ้นแล้วและมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นจากแรงกดดันของสงครามการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ที่อาจทวีความรุนเเรงขึ้นในปี 2019

อย่างไรก็ตามสำนักงานคณะรัฐมนตรีจะเผยแพร่ข้อมูลจีดีพี ในวันที่ 14 พฤศจิกายนเวลา 8:50 น. ตามเวลาท้องถิ่น