ช่องว่างทางเพศจะหมดไปในอีก 108 ปีข้างหน้า…กลุ่มประเทศนอร์ดิกคว้าแชมป์ความเท่าเทียม

เวิลด์อิโคโนมิก ฟอรั่ม (WEF) เปิดเผยรายงานว่า ความเท่าเทียมกันของค่าจ้างระว่างผู้ชายและผู้หญิงในปี 2018 มีการปรับปรุงดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ช่องว่างทางเพศทั่วโลกกลับขยายตัวมากขึ้นครั้งแรกในรอบทศวรรษ ซึ่งจะต้องใช้เวลาหลายทศวรรษที่จะทำให้เกิดความเสมอภาคทางเพศในที่ทำงานทั่วโลก

สิ่งเหล่านี้มาจากสัดส่วนของผู้หญิงในวงการการเมืองและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและการศึกษาลดลงมาก

ดับเบิลยูอีเอฟ ระบุว่า ช่องว่างทางเพศจะหมดไปในอีก 108 ปีข้างหน้า ขณะที่ช่องว่างทางเพศในที่ทำงานระหว่างชาย และหญิงจะหมดไปในอีก 202 ปี

ทั้งนี้รายงานของดับเบิลยูอีเอฟ ได้สำรวจเรื่องช่องว่างทางเพศใน 149 ประเทศ ใน 4 ด้านด้วยกันคือ การศึกษา สาธารณสุข โอกาสทางด้านเศรษฐกิจ และพลังทางการเมือง

รายงานยังระบุอีกว่า ช่องว่างทางเพศในเรื่องของค่าจ้างทั่วโลกลดลง 51 เปอร์เซ็นต์ และผู้หญิงทั่วโลกมีบทบาทเป็นผู้นำมากขึ้น 34 เปอร์เซ็นต์ แต่ในขณะเดียวกันสัดส่วนของผู้หญิงในที่ทำงานมีลดลง

Advertisment

ซึ่งอาจเป็นเพราะการใช้ระบบอัตโนมัติส่งผลกระทบต่องานเดิมที่เป็นงานของผู้หญิง และผู้หญิงมีจำนวนน้อยมากในกลุ่มการจ้างงานที่ต้องใช้ทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มงานด้วนปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ มีผู้หญิงเพียง 22 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

สำหรับในแต่ละภูมิภาคนั้น ในยุโปรตะวันตกจะสามารถปิดช่องว่างระหว่างเพศได้ใน 61 ปี ประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ จะสามารถปิดช่องว่างระหว่างเพศได้ใน 153 ปี

ส่วนกลุ่มประเทศที่ผู้ชาย และผู้หญิงที่ความเท่าเทียมทางเพศมากที่สุดเป็นกลุ่มประเทศนอร์ดิกโดย 3 อันดับแรก คือ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน ตามลำดับ ส่วนอีรัก ปากีสาน และเยเมนเป็นประเทศที่มีความเท่าเทียมกันทางเพศน้อยที่สุดตามลำดับ

Advertisment

ขณะที่”ไทย”นั้นมีความเท่าเทียมกันทางเพศในปีนนี้อยู่ในอันดับที่ 73 ดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา 2 อันดับ

ดูอันดับประเทศทั้งหมดจากรายงาน The Global Gender Gap Report 2018  ที่นี่

 

ไม่พลาดข่าวสารเศรษฐกิจ เจาะลึกทุกประเด็นทั้งภาครัฐ-เอกชน เพิ่มเราเป็นเพื่อนที่ Line ได้เลย พิมพ์ @prachachat หรือ คลิกลิงก์ https://line.me/R/ti/p/@prachachat

หรือจะสแกน QR Code ในรูป เราพร้อมเสิร์ฟข่าวเศรษฐกิจ-ธุรกิจถึงมือผู้อ่านทันที!