ผู้นำบังคลาเทศ ร้องยูเอ็นช่วยเเก้วิกฤต เเนะตั้ง “เขตปลอดภัย” ให้ชาวโรฮีนจาในเมียนมา

AFP PHOTO / DOMINIQUE FAGET

นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ เรียกร้องสหประชาชาติ ขอให้มีการกำหนด “เขตปลอดภัย” ในรัฐยะไข่ของเมียนมา เพื่อคุ้มครองชาวมุสลิมโรฮีนจา หลังเหตุการณ์ไม่สงบรุนเเรง

สำนักข่าวต่าวประเทศ รายงานว่า นายกรัฐมนตรี ชีค ฮาสินา ของบังกลาเทศ กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ( ยูเอ็นจีเอ ) เสนอให้มีการจัดตั้งเขตปลอดภัยภายใต้การกำกับดูแลของสหประชาชาติ ( ยูเอ็น ) โดยให้ใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งในรัฐยะไข่ ที่อยู่ทางตะวันตกของเมียนมา เพื่อเป็นการคุ้มครองชาวโรฮีนจาซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว โดยชาวโรฮีนจาที่อพยพไปยังบังกลาเทศจะต้องสามารถเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดของพวกเขาได้อย่างมั่นคงปลอดภัย และมีศักดิ์ศรี

โดยนายกรัฐมนตรีบังคลาเทศ กล่าวหากองทัพเมียนมา ว่าได้ฝังทุ่นระเบิดตามแนวพรมแดนฝั่งตะวันตกของรัฐยะไข่ที่ติดกับภาคตะวันออกของบังกลาเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวโรฮีนจาข้ามพรมแดนกลับมา จึงขอให้สหประชาชาติดำเนินมาตรการอย่างเร่งด่วนในการหาทางออกให้วิกฤตนี้

ขณะที่นายซอว์ เตย์ โฆษกรัฐบาลเมียนมา เปิดเผยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า เมียนมาไม่มีนโยบายกำหนดให้พื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งในรัฐยะไข่เป็นเขตปลอดภัย เพราะจะเป็นการเปิดช่องให้พื้นที่ดังกล่าวตกแยู่ใต้การปกครองของตัวเเทนระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ การประกาศให้ดินแดนภายใต้อธิปไตยของรัฐใดรัฐหนึ่งเป็นเขตปลอดภัย จำเป็นต้องได้รบความเห็นชอบจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ( ยูเอ็นเอสซี ) เสียก่อน

สำหรับ สถานการณ์ความรุนเเรงในรัฐยะไข่ ทางสหประชาชาติ เปิดเผยว่า มีชาวโรฮีนจากว่า 420,000 คน อพยพไปยังในบังกลาเทศ หลังการสู้รบระหว่างกอทัพเมียนมากับกองทัพกอบกู้โรฮีนจาแห่งอาระกัน ( อาร์ซา ) ตั้งเเต่วันที่ 25 ส.ค. ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 400 คน โดยล่าสุดจำนวนผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาในบังกลาเทศมีมากกว่า 800,000 คนแล้ว