โอเปก : ทำไมประเทศสมาชิกโอเปกผลิตน้ำมันน้อยลง

Getty Images รัสเซียซึ่งเป็นประเทศสมาชิกกลุ่มโอเปกพลัส (Opec+) ยังจะคงผลิตน้ำมันน้อยลงครึ่งล้านบาร์เรลต่อวันต่อไปจนถึงสิ้นปี

ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกหลายประเทศบอกว่าพวกเขาจะลดปริมาณการผลิตลง ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้น

โดยรวมแล้ว ซาอุดีอาระเบีย, อิรัก และกลุ่มประเทศอ่าวเปอร์เซีย ลดปริมาณผลิตน้ำมันลง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่วนรัสเซียซึ่งเป็นประเทศสมาชิกกลุ่ม Opec+ ยังจะคงผลิตน้ำมันน้อยลงครึ่งล้านบาร์เรลต่อวันต่อไปจนถึงสิ้นปี

รัฐบาลสหรัฐอเมริกาออกมาวิพากษ์วิจารณ์ท่าทีนี้

กลุ่มโอเปกพลัส (Opec+) คืออะไร

โอเปกพลัส (Opec+) คือกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน 23 ประเทศ ที่ประชุมกันเป็นประจำเพื่อตัดสินใจว่าจะขายน้ำมันให้ตลาดโลกเท่าไร

องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิกหลัก 13 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศในกลุ่มตะวันออกกลางและแอฟริกา และเป็นสมาชิกองค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (โอเปก) ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1960 ในลักษณะพันธมิตรทางการค้าที่มีเป้าประสงค์เพื่อกำหนดและบริหารอุปทานน้ำมันในตลาดโลก รวมทั้งการควบคุมราคาน้ำมันอีกด้วย

ทุกวันนี้ ประเทศสมาชิกโอเปก ผลิตน้ำมันคิดเป็น 30 % ของน้ำมันดิบทั้งหมดในโลก โดยซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด โดยผลิตมากกว่า 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน

เมื่อปี 2016 ราคาน้ำมันต่ำมากเป็นพิเศษ โอเปก เลยไปรวมกลุ่มกับประเทศผู้ผลิตน้ำมันอีก 10 ประเทศ กลายเป็นกลุ่มโอเปกพลัส

ประเทศสมาชิกใหม่เหล่านี้ประกอบไปด้วยรัสเซีย ซึ่งผลิตน้ำมันมากกว่า 10 ล้านบาร์​เรลต่อวัน

“กลุ่มโอเปกพลัส ปรับอุปสงค์และอุปทานเพื่อหาสมดุลให้กับตลาดซื้อขาย” เคต ดูเรียน จากสถาบันพลังงาน (Energy Institute) กล่าว “พวกเขาทำให้ราคาน้ำมันยังสูงอยู่ได้โดยลดปริมาณการผลิตน้ำมันในตอนที่ความต้องการน้ำมันลดน้อยลง”

ในทางตรงกันข้าม โอเปกก็สามารถทำให้ราคาน้ำมันลดลงได้โดยการเพิ่มปริมาณน้ำมันในตลาด

ทำไมโอเปกพลัสผลิตน้ำมันน้อยลง

การลดปริมาณการผลิตน้ำมันรอบล่าสุด คือลดลง 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังจากที่ลดไป 2 ล้านบาร์เรลต่อวันแล้วเมื่อเดือน ต.ค. ปี 2022 ซึ่งส่งผลให้น้ำมันราคาขึ้นมา 5 % ทันที .

กราฟฟิก

BBC

เคต ดูเรียน จากสถาบันพลังงาน บอกว่าการลดปริมาณการผลิตอีกเป็นเรื่องน่าแปลกใจเพราะซาอุดีอาระเบียเพิ่งบอกว่าจะคงปริมาณการผลิตเท่าเดิมไปจนสิ้นปี เธอบอกว่าอาจจะเป็นมาตรการป้องกันล่วงหน้า เพราะโอเปกอาจกลัวว่าอาจไม่มีความต้องการน้ำมันมากเหมือนกับที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

ย้อนไปเมื่อปี 2020 โอเปกลดการผลิตน้ำมันลงมากกว่า 9 ล้านบาร์เรลต่อวันเพราะการระบาดของโควิด ขณะที่ประเทศต่างๆ เข้าสู่การล็อกดาวน์ ราคาน้ำมันดิบดิ่งต่ำลงเพราะไม่มีผู้ซื้อ

แต่หลังจากที่รัสเซียบุกรุกรานยูเครน ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นมากกว่า 130 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่เมื่อถึง มี.ค. ปีนี้ ราคาลดลงมาแค่บาร์เรลละ 70 ดอลลาร์สหรัฐกว่า ๆ

ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นอีกครั้งน่าจะทำให้ราคาน้ำมันในสหราชอาณาจักรและทั่วโลกสูงขึ้นอีก ยิ่งทำให้วิกฤตค่าครองชีพยิ่งแย่เข้าไปใหญ่

สหรัฐฯ บอกว่าท่าทีล่าสุดของโอเปกพลัสเป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำ

น้ำมันจากรัสเซีย

Russia's president Putin and OPEC Secretary General Mohammad Barkindo shaking hands.

Getty Images
ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน และโมฮัมหมัด บาร์คินโด เลขาธิการโอเปก

หลังรัสเซียบุกรุกรานยูเครน ประเทศในยุโรปเลิกน้ำเข้าน้ำมันจากรัสเซียในส่วนที่ขนส่งทางทะเล ขณะที่สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร เลิกซื้อน้ำมันจากพวกเขาโดยสิ้นเชิง

ตอนนี้รัสเซียส่งออกน้ำมันดิบให้กับอินเดียและจีน ซึ่งไม่ได้ร่วมคว่ำบาตรพวกเขาเหมือนกับชาติตะวันตก มากขึ้น

อย่างไรก็ดี กลุ่มประเทศจี 7 (G7) ยังทำให้รัสเซียมีรายได้จากน้ำมันต่ำอยู่ด้วยการกำหนดเพดานราคาน้ำมันที่ส่งออกอยู่ที่ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

หมายเหตุ : ข่าว บีบีซีไทย ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ เป็นความร่วมมือของสององค์กรข่าว