เขื่อนพระรามหก เขื่อนทดน้ำแห่งแรกในประเทศไทย อายุ 99 ปีแล้ว

เขื่อนพระราม 6
ภาพจาก ข่าวสด

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ “เขื่อนพระรามหก” อายุ 99 ปีแล้ว เขื่อนเขื่อนพระรามหก เป็นเขื่อนทดน้ำแห่งแรกในประเทศไทย เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ก่อสร้างเสร็จทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

เขื่อนพระราม 6 ตั้งอยู่ที่หมู่ 10 ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยาอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังอื่น ๆ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เช่น วัดสะตือ และวัดไก่แจ้เป็นต้น

เป้าหมายของเขื่อนนี้สร้างเพื่อ กั้นแม่น้ำป่าสักที่ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตัวเขื่อนมีช่องระบายน้ำ ทำด้วยบานเหล็ก 6 ช่อง กว้างช่องละ 12.50 เมตร ทางฝั่งขวาของตัวเขื่อนมีประตูน้ำหรือประตูเรือสัญจร ซึ่งพระราชทานนามว่า “ประตูน้ำพระนเรศ” เพื่อให้เรือในแม่น้ำป่าสักผ่านขึ้นล่องได้ตามปกติ

ทางฝั่งซ้ายของเขื่อน มีประตูระบายน้ำ ซึ่งพระราชทานนามว่า “ประตูระบายพระนารายณ์” เพื่อระบายน้ำแม่น้ำป่าสักที่ทดไว้เข้าสู่คลองระพีพัฒน์ ซึ่งเป็นคลองส่งน้ำสายใหญ่ ส่งน้ำลงมาทางใต้ถึงอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี รวมความยาว 32 กิโลเมตร

ข้อมูลทั่วไป

  • ประเภทอาคาร เขื่อนทดน้ำ
  • ลำน้ำที่ตั้ง แม่น้ำป่าสัก
  • จำนวนบานระบาย 6 ช่อง
  • ขนาดบานระบาย 12.50 x 7.80 เมตร
  • อัตราการระบายสูงสุด 1,800 ลูกบากศ์เมตรต่อวินาที
  • ระดับน้ำสูงสุด +12.30 เมตร (รทก.)
  • ระดับตอม่อ ด้านเหนือน้ำ +7.80 เมตร (รทก.)
  • ระดับสันบาน +7.90 เมตร (รทก.)
  • ระดับธรณี +0.10 เมตร (รทก.)
  • ปีที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ พ.ศ. 2467 (เดิมชื่อ เขื่อนพระเฑียรราชา)

ความสำคัญของเขื่อนพระราม 6 เขื่อนทดน้ำแห่งแรกของประเทศไทยที่สร้างขวางลำน้ำธรรมชาติคือแม่น้ำป่าสัก เพื่อยกน้ำด้านหน้าให้มีระดับสูงด้วยวิธีการทดน้ำและสามารถไหลเข้าสู่ระบบชลประทานได้ เช่น คลองส่งน้ำ และเพื่อจัดสรรไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ตามความเหมาะสมทั้งการเกษตร การอุปโภคบริโภค