ปตท.สผ. เผยแผนดำเนินงาน 5 ปี

บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ขอแจ้งแผนการดำเนินงานประจำปี 2561 ของ ปตท.สผ. และบริษัทย่อย โดยมีประมาณการรายจ่ายรวมทั้งสิ้น 3,103 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (ดอลลาร์สหรัฐ) แบ่งเป็นรายจ่ายดำเนินงาน (Operating Expenditure) 1,332 ล้านดอลลาร์ สรอ. และรายจ่ายลงทุน (Capital Expenditure) 1,771 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายละเอียดรายจ่ายลงทุนปี 2561 จำแนกตามภูมิภาคได้ดังต่อไปนี้

1.โครงการในประเทศไทย มีประมาณการรายจ่ายลงทุนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59 โดยกิจกรรมส่วนใหญ่มุ่งเน้นเพื่อรักษาระดับปริมาณการผลิต มีโครงการหลักที่สำคัญ ได้แก่ โครงการบงกช โครงการอาทิตย์ โครงการเอส 1 โครงการคอนแทร็ค 4 และโครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย

2.โครงการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น มีประมาณการรายจ่ายลงทุนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32 ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายลงทุนเพื่อรักษาระดับการผลิตสำหรับโครงการในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ได้แก่ โครงการซอติก้า โครงการยาดานา และโครงการเยตากุน รวมถึงรายจ่ายสำหรับการสำรวจ (Exploration) ในโครงการเมียนมาร์ เอ็มโอจีอี 3 และโครงการเมียนมาร์ เอ็ม 11

3.โครงการในภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ มีประมาณการรายจ่ายลงทุนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9 โดยกิจกรรมที่สำคัญส่วนใหญ่เพื่อการดำเนินงานในโครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย รวมถึงรายจ่ายในการพัฒนาโครงการโมซัมบิก โรวูมา ออฟชอร์ แอเรีย วัน ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (Final Investment Decision)

สำหรับรายจ่ายในการสำรวจ (Exploration) ของปี 2561 นั้น บริษัทได้ประมาณการไว้จำนวนทั้งสิ้น 232 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายในการขุดเจาะหลุมสำรวจและประเมินผลสำหรับโครงการในประเทศไทย เมียนมาร์ มาเลเซียและออสเตรเลีย รวมถึงการสำรวจคลื่นไหวสะเทือนทางธรณีวิทยา และการศึกษาทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์

ทั้งนี้ ปตท.สผ. และบริษัทย่อยมีประมาณการรายจ่ายรวม 5 ปี ในช่วงปี 2561 – 2565 โดยได้รวมประมาณการรายจ่ายในการพัฒนาโครงการโมซัมบิก โรวูมา ออฟชอร์ แอเรีย วัน โครงการแอลจีเรีย ฮาสสิ เบอร์ ราเคซ โครงการเวียดนาม บี และ 48/95 และเวียดนาม 52/97 และโครงการคอนแทร็ค 4 (แหล่งอุบล) ซึ่งโครงการดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (Final Investment Decision) โดยมีรายละเอียดของประมาณการรายจ่าย 5 ปีดังนี้

จากแผนงานดังกล่าว ส่งผลให้ ปตท.สผ. คาดการณ์ตัวเลขประมาณการขายปิโตรเลียมเฉลี่ยต่อวันจากโครงการปัจจุบัน ซึ่งยังไม่รวมปริมาณการขายในกรณีที่บริษัทชนะการประมูลแหล่งสัมปทานที่กำลังจะหมดอายุในอ่าวไทยและการเข้าซื้อกิจการเพิ่มเติม ระหว่างปี 2561 – 2565 ดังรายละเอียดต่อไปนี้

อนึ่ง บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการเพิ่มปริมาณสำรองและปริมาณการผลิต เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันและรองรับการเติบโตของบริษัทในอนาคต โดยมองหาโอกาสในการขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากการเข้าซื้อกิจการ การประมูลแหล่งสัมปทานที่กำลังจะหมดอายุในอ่าวไทยและการเข้าร่วมประมูลแปลงสำรวจในโครงการใหม่ๆ ในภูมิภาคที่มีศักยภาพ รวมถึงการเร่งพัฒนาโครงการที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย โดยคาดว่าจะมีปริมาณการผลิตส่วนใหญ่เข้ามาหลังจากปี 2565 เป็นต้นไป นอกจากนี้ บริษัทยังคงมุ่งเน้นการรักษาระดับต้นทุนโดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน