ดอลลาร์ยังคงปรับตัวในกรอบ รอติดตามรายงานตัวเลขเงินเฟ้อ

ดอลลาร์
ภาพ : pixabay

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันพุธที่ 12 เมษายน 2566 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (12/4) ที่ระดับ 33.24/26 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าเล็กน้อยจากระดับปิดตลาดเมื่อวันอังคาร (11/4) ที่ระดับ 34.22/23 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ การอ่อนค่าของค่าเงินบาทส่วนหนึ่งมาจากการเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์ที่ปรับตัวในกรอบแคบ

เนื่องจากนักลงทุนรอติดตามรายงานตัวเลขเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐ เพื่อประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด โดยที่ผลการสำรวจนักวิเคราะห์คาดว่า ดัชนี CPI ทั่วไป (headline CPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะปรับตัวขึ้น 5.2% ในเดือนมีนาคม เมื่อเทียบรายปี โดยชะลอตัวจากระดับ 6.0% ในเดืยนกุมภาพันธ์

อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์คาดว่า ดัชนี CPI พื้นฐาน (core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 5.6% ในเดือนมีนาคมเมื่อเทียบรายปี เพื่มขึ้นจากระดับ 5.5% ในเดือนกุมภาพันธ์ อีกทั้งนายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก กล่าวว่า

การที่เฟดมีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียง 1 ครั้งในปีนี้ โดยจะปรับขึ้น 0.25% ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่นโยบายเฟดจะขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจที่เฟดได้รับ นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า

เศรษฐกิจของสหรัฐจะขยายตัว 2.2% ในไตรมาส 1/2566 เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 1.5% อย่งไรก็ตามกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic 0utlook) โดยคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วง 5 ปีข้างหน้าที่ระดับ 3% ซึ่งเป็นตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะกลางที่ต่ำสุดในรอบกว่า 30 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2533 ส่วนในระยะสั้น IMF คาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2566 และ 2567 จะขยายตัวระดับ 2.8% และ 3% ตามลำดับ ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ในเดือนมกราคมที่ระดับ 2.9% และ 3.1%

โดย IMF ระบุว่าเศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจากการที่ ธนาคารกลางใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเพื่อสกัดเงินเฟ้อ, ผลกระทบจากการทรุดตัวในภาคการเงิน, การชะลอตัวของตลาดแรงงาน และปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งรวมถึงการที่รัสเซียบุกโจมตียูเครน และการแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 34.16-34.32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 34.20/22 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร เปิดตลาดเช้าวันนี้ (12/4) ที่ระดับ 1.0923/27 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร แข็งค่าจากระดับปิตตลาดเมื่อวันอังคาร (11/4) ที่ระดับ 1.0913/14 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ตามการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ที่ปรับตัวในกรอบแคบ อย่างไรก็ตาม รายงานตัวเลขยอดค้าปลีก ประจำนเดือนกุมภาพันธ์ของยูโรโซนปรับตัวลงตามการคาดการณ์ที่ระดับ -0.8% จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 0.8% อย่างไรก็ดีรายงานความเชื่อมั่นของนักลงทุนจาก Sentix ปรับตัวดีขึ้นในเดือนเมษายน หลังดัชนีดังกล่าวลดลงเกินคาดในเดือนมีนาคม ทั้งนี้ระหว่างวันคำเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0909 – 1.0937 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.0923/26 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (12/4) ที่ระดับ 33.70/71 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากระดับปิตตลาดเมื่อวันอังคาร (11/4) ที่ระดับ 133.07/08 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากนายคาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คนใหม่ยืนยันที่จะดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษ (Ultracasy Monetary Policy) ต่อไปและให้คำมั่นสัญญาว่าจะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 133.54 -134.04 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 133.80/82 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน สหรัฐ (Core CPI) (12/4), ดัชนีราคาผู้บริโภค สหรัฐ (CPI) (12/4), รายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ประจำวันที่ 21-22 มี.ค. (12/4)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ -10.2/-9.8 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -10.8-9.2 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ